- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Wednesday, 10 February 2016 08:47
- Hits: 2578
สศอ.ยกระดับอุตฯ ไทยสู่เวทีโลก
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2560 สศอ.ได้จัดทำคำของบประมาณจำนวน 1,017 ล้านบาท เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต (Productivity) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถแข่งขันได้บนเวทีการค้าโลก โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.ยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและระบบบริหารจัดการ 2.ยกระดับผลิตภาพแรงงานให้มีทักษะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม และ 3.พัฒนาปัจจัยแวดล้อมเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ
โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยมีการขยายตัวเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยอาศัยปัจจัยทุนและแรงงานเป็นหลัก รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity : TFP) ของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ดังจะเห็นได้จากในปี 2557 ภาคอุตสาหกรรมไทยมีการขยายตัวติดลบ 1.1% ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของปัจจัย TFP ติดลบ 2.52% ส่วนปัจจัยทุนและปัจจัยแรงงานขยายตัว 0.80% และ 0.64% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิตโดยรวม และปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่สมดุลของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จำเป็นต้องพึ่งพาทุนและแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยทางด้านผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรม ของ International Institute for Management Development : IMD ในปี 2558 ยังพบว่า ประเทศไทยมีอันดับผลิตภาพที่ต่ำ อยู่อันดับที่ 51 จาก 61 ประเทศทั่วโลก ส่วนผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม มีอันดับผลิตภาพที่ต่ำเช่นกัน โดยอยู่อันดับที่ 52 จาก 61 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงดำเนินไปในลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน และคงไม่สามารถทำให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว
กสอ.ดึง 18 องค์กรยกระดับอุตฯสศอ.โว59ส่งออกแฟชั่นโต 10%
พระราม 6 สศอ.จับมือ 18 หน่วยงาน จัดทำแผนปฏิบัติการ พร้อมทุ่มงบประมาณ 1,017 ล้านบาท หวังยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมสู่เวทีการค้าโลก ด้าน กสอ.ตั้งเป้าส่งออกแฟชั่นโต 10%
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2560 สศอ.ได้จัดทำคำของบประมาณจำนวน 1,017 ล้านบาท เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย สามารถแข่งขันได้บนเวทีการค้าโลก โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.ยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและระบบบริหารจัดการ 2.ยกระดับผลิตภาพแรงงานให้มีทักษะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม และ 3.พัฒนาปัจจัยแวดล้อมเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ
"ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยขยายตัวเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยอาศัยปัจจัยทุน และแรงงานเป็นหลัก รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพการผลิตโดยรวม ของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น สศอ.จึงได้ร่วมกับ 18 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต ภาคอุตสาหกรรมให้เพิ่มขึ้น" นายศิริรุจกล่าว
นายสมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปี 2559 กสอ.คาดมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมแฟชั่นขยายตัว 5-10% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัจจุบันที่มีมูลค่าการส่งออก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็น 3 สาขา ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า และอัญมณีและเครื่องประดับ โดยคิดเป็นสัดส่วน 10% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด
"ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะตลาดหลักที่มีศักยภาพ เช่นอาเซียน ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น ซึ่ง กสอ.ได้ร่วมกับสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ จัดโครงการไทยแลนด์ อินโน แฟชั่น อวอร์ด 2016 (ทีฟ่า 2016) เพื่อเปิดโอกาสให้นักออกแบบรายใหม่ส่งผลงานเข้าแข่งขันในประเทศ และต่อยอดแบรนด์ของไทยไปสู่การยอมรับในเวทีโลก" นายสมชายกล่าว.
สศอ.ของบพันล.พัฒนาภาคอุตฯวาง3แนวเพิ่มความสามารถแข่งขัน
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2560 สศอ.จัดทำคำของบประมาณ 1,017 ล้านบาท เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถแข่งขันได้บนเวทีการค้าโลก โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.ยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและระบบบริหารจัดการ 2.ยกระดับผลิตภาพแรงงานให้มีทักษะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม และ 3. พัฒนาปัจจัยแวดล้อมเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ
ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยมีการขยายตัวเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยอาศัยปัจจัยทุน และแรงงานเป็นหลัก รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพการผลิตโดยรวม (TFP) ของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ เห็นได้จากปี 2557 ภาคอุตสาหกรรมไทยมีการขยายตัวติดลบ 1.1% ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของปัจจัย TFP ติดลบ 2.52% ส่วนปัจจัยทุนและปัจจัยแรงงานขยายตัว 0.80% และ 0.64% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิตโดยรวมและปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่สมดุลของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จำเป็นต้องพึ่งพาทุนและแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากการจัด อันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยทางด้านผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมของดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (IMD) ปี 2558 ยังพบว่าประเทศไทยมีอันดับผลิตภาพที่ต่ำอยู่อันดับ 51 จาก 61 ประเทศทั่วโลก ส่วนผลิตภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมมีอันดับผลิตภาพที่ต่ำเช่นกัน โดยอยู่อันดับ 52 จาก 61 ประเทศทั่วโลก หากสถานการณ์ยังคงดำเนินไปลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและคงไม่สามารถทำให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว ดังนั้น สศอ. จึงประชุมหารือร่วมกับ 18 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้เพิ่มขึ้นโดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ พัฒนาผู้ประกอบการ 1,600 โรงงาน พัฒนาบุคลากร 10,000 คน และพัฒนาเครือข่าย 36 เครือข่าย เชื่อว่าจะสามารถขยับอันดับผลิตภาพของประเทศไทยจากอันดับ 51 มาอยู่อันดับที่ต่ำกว่า 45 จาก 61 ประเทศทั่วโลกได้ในอนาคต