- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 31 December 2015 09:43
- Hits: 1884
กรอ.คุมเข้ม รง.ปล่อยน้ำทิ้ง ป้องกันภัยแล้งปีหน้า
บ้านเมือง : นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ล่าสุด กรอ.ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบกิจการโรงงานจำนวนกว่า ประมาณ 279 โรงงาน จาก ประมาณ 38 ประเภทอุตสาหกรรม ที่มีปริมาณน้ำทิ้งออกจากโรงงานมากกว่า ประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน หรือโรงงานที่มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำออนไลน์แล้วให้หาแนวทางลดการใช้น้ำในการประกอบกิจการโรงงาน และให้ลดหรือไม่ระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงานในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.2559 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติ หลังได้รับรายงานจากกรมชลประทาน เรื่องการวางแผนการจัดสรรน้ำในปี 2559 ซึ่งจากข้อมูลของกรมชลประทานคาดการณ์พื้นที่ที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง หลายจังหวัด
ทั้งนี้ กรอ. มีมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำที่ไม่เหมาะสม เช่น การกวาดสิ่งสกปรกบนพื้นแทนการใช้น้ำฉีดล้างสิ่งสกปรกบนพื้น หรือการใช้รดต้นไม้โดยไม่มีการควบคุม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบผลิตน้ำของโรงงาน
นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบกิจการโรงงานแล้ว 279 โรงงาน จาก 38 ประเภทอุตสาหกรรม ที่มีปริมาณน้ำทิ้งออกจากโรงงานมากกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือโรงงานที่มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำออนไลน์แล้ว ให้หาแนวทางลดการใช้น้ำในการประกอบกิจการโรงงาน และให้ลดหรือไม่ระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงานในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2559 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติ
โดยมี 38 ประเภทอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำมาก และมีการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ เยื่อและกระดาษอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ฟอกย้อมแป้งมัน และฆ่าสัตว์ มีจำนวน 1,131 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานแยกตามแต่ละจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำในปี 2559 อาทิ กรุงเทพฯ 302 โรงงาน สมุทรปราการ 171 โรงงาน นครปฐม 159 โรงงาน สมุทรสาคร 137 โรงงาน ปทุมธานี 55 โรงงาน เชียงใหม่ 51 โรงงาน นนทบุรี 43 โรงงาน พระนครศรีอยุธยา 39 โรงงาน นครราชสีมา 30 โรงงาน เชียงราย/กำแพงเพชร 22 โรงงาน นครสวรรค์ 19 โรงงาน เป็นต้น
นายพสุกล่าวว่า เนื่องจากได้รับรายงานจากกรมชลประทาน เรื่องการวางแผนการจัดสรรน้ำในปี 2559 แล้วจะเรียงตามลำดับความสำคัญของการใช้ในกิจกรรมต่างๆ คือ การใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ การใช้น้ำเพื่อการเกษตร และการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม เป็นลำดับสุดท้าย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมชลประทาน คาดการณ์พื้นที่ที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ และนครปฐม
นายพสุ กล่าวว่า กรอ.มีมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยส่งเสริมให้โรงงานใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำซ้ำ เช่น น้ำที่ผ่านการนำไปใช้ในหม้อน้ำแล้ว ปกติจะถูกระบายทิ้งออกจากระบบหม้อน้ำ แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า ยังคงมีคุณภาพที่เหมาะสำหรับการล้างพื้นหรือนำน้ำไปใช้รดต้นไม้
นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำที่ไม่เหมาะสม เช่น กวาดสิ่งสกปรกบนพื้นแทนการใช้น้ำฉีดล้างสิ่งสกปรกบนพื้น หรือการใช้รดต้นไม้โดยไม่มีการควบคุม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบผลิตน้ำของโรงงาน เช่น ลดการรั่วไหลของน้ำจากท่อ ข้อต่อ วาล์วที่ชำรุด
อย่างไรก็ตาม โรงงานที่มีพื้นที่มาก กระทรวงแนะนำให้ขุดบ่อพักน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขุดเจาะน้ำบาดาล การใช้ประโยชน์จากน้ำฝนที่เก็บกักได้ในโรงงานเป็นแหล่งน้ำสำรอง โดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดิน พื้นที่กักเก็บน้ำฝนต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และเคยเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเมื่อปี 2547-2548 หากพิจารณาปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล พบว่ามีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน คิดเป็น 98% เขื่อนประแสร์ มี 104% ของปริมาณความจุ และมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้จริง 82% คิดเป็น 96% ของปริมาณความจุ จึงคาดว่าจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก