WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TSMCsirivuthโรงงานน้ำตาลค้านมติ กอน.ประกาศราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคา หวั่นก่อปัญหาแย่งอ้อยและปัญหาการส่งออกข้ามเขตลุกลาม ฉุดอุตฯถอยหลังเข้าคลอง

    3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นประจำฤดูการผลิตปี 58/59 เป็น 2 ราคา ตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ชี้ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ ทำให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อยระหว่างโรงงานน้ำตาล และปัญหาการส่งอ้อยข้ามเขตในพื้นที่เพาะปลูกรอยต่อระหว่างเขต เหตุชาวไร่คู่สัญญาหันส่งมอบอ้อยให้โรงงานน้ำตาลที่ให้ราคาอ้อยสูงกว่า ส่งผลให้เกิดความแตกแยกให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ

      นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลได้ทำหนังสือยื่นให้แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม รมว.กระทรวงพาณิชย์ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/59 ตามมติ กอน. ที่เห็นชอบให้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคา คือ เขตคำนวณราคาอ้อยเขต 5 ในอัตราตันอ้อยละ 773 บาท ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.ส่วนเขตที่เหลือ กำหนดที่ 808 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.

    ทั้งนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมองว่า การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ปัญหาอ้อยข้ามเขต นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้น โรงงานน้ำตาลทรายจะส่งเสริมสนับสนุนชาวไร่อ้อยคู่สัญญาทั้งปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุน (เงินเกี๊ยว) แก่ชาวไร่อ้อย หากชาวไร่อ้อยนำผลผลิตอ้อยไปส่งยังโรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่า ทำให้โรงงานมีความเสี่ยงในการสนับสนุนเงินทุนให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา และขาดความร่วมมือกันในการสนับสนุนพัฒนาอ้อยให้มีคุณภาพ

     ขณะเดียวกัน โรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นที่ต่ำกว่าพื้นที่เพาะปลูกอื่น จะมีความเสี่ยงที่สถาบันการเงินไม่สนับสนุนสินเชื่อให้แก่โรงงานเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อย ซึ่งสุดท้ายจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายทั้งระบบอ่อนแอลงและไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวม เหมือนกับที่เคยเกิดในประเทศคิวบา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ในการส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ ของโลกในอดีต

     ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ที่ผ่านมาการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 ได้มีการกำหนดเขตคำนวณราคาอ้อยเป็นเขตเดียวกันทั่วประเทศ และกำหนดราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งขั้นต้นและขั้น ท้ายเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศมาโดยตลอด แม้ว่าในฤดูการผลิตปี 2540/41 จะเริ่มมีการแบ่งเขตคำนวณราคาอ้อยออกมาเป็นหลายเขตมาจนถึงปัจจุบัน แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ยังคงยึดปฏิบัติประกาศเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศและได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตนี้ กำหนดเป็น 2 ราคา จึงควรพิจารณาให้ความอย่างเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อยอย่างเท่าเทียมกัน หากอนาคตมีการประกาศราคาอ้อยหลายเขตหลายราคามากขึ้น จะยิ่งทำให้ชาวไร่อ้อยเกิดความสับสนและจะนำไปสู่ความแตกแยกในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยในที่สุด

    “3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคาและต้องการให้กำหนดเป็นราคาเดียวกันทั้งประเทศดั่งที่เคยปฏิบัติกันมา เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การแย่งอ้อย การส่งอ้อยข้ามเขต ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลขาดแรงจูงใจที่จะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การแย่งซื้ออ้อย ท้ายที่สุดแล้วไม่มีฝ่ายใดได้ผลดี หรือก่อให้เกิดประโยชน์จากการประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 2 ราคาในครั้งนี้ และจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกอ่อนแอลงนายสิริวุทธิ์ กล่าว

ประชาสัมพันธ์ในนาม 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ พิภพ  ฆ้องวง  โทร. 0-2612-2081 ต่อ 124 หรือ 08-1929-8864 e-mail: [email protected]

โรงงานน้ำตาลค้านมติ กอน.ประกาศราคาอ้อยขั้นต้นเป็น ราคา
หวั่นก่อปัญหาแย่งอ้อยและปัญหาการส่งออกข้ามเขตลุกลาม ฉุดอุตฯถอยหลังเข้าคลอง

 

สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นประจำฤดูการผลิตปี 58/59 เป็น ราคา ตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ชี้ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ ทำให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อยระหว่างโรงงานน้ำตาล และปัญหาการส่งอ้อยข้ามเขตในพื้นที่เพาะปลูกรอยต่อระหว่างเขต เหตุชาวไร่คู่สัญญาหันส่งมอบอ้อยให้โรงงานน้ำตาลที่ให้ราคาอ้อยสูงกว่า ส่งผลให้เกิดความแตกแยกให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ

 

              นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี   ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า สมาคมโรงงานน้ำตาลได้ทำหนังสือยื่นให้แก่ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม รมว.กระทรวงพาณิชย์ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/59 ตามมติ กอน. ที่เห็นชอบให้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น ราคา คือ เขตคำนวณราคาอ้อยเขตในอัตราตันอ้อยละ 773 บาท ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ส่วนเขตที่เหลือ กำหนดที่ 808 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.

 

              ทั้งนี้ สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมองว่า การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ปัญหาอ้อยข้ามเขต นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้น โรงงานน้ำตาลทรายจะส่งเสริมสนับสนุนชาวไร่อ้อยคู่สัญญาทั้งปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุน (เงินเกี๊ยว) แก่ชาวไร่อ้อย หากชาวไร่อ้อยนำผลผลิตอ้อยไปส่งยังโรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่า ทำให้โรงงานมีความเสี่ยงในการสนับสนุนเงินทุนให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา และขาดความร่วมมือกันในการสนับสนุนพัฒนาอ้อยให้มีคุณภาพ

 

              ขณะเดียวกัน โรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นที่ต่ำกว่าพื้นที่เพาะปลูกอื่น จะมีความเสี่ยงที่สถาบันการเงินไม่สนับสนุนสินเชื่อให้แก่โรงงานเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อย ซึ่งสุดท้ายจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบอ่อนแอลงและไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวม เหมือนกับที่เคยเกิดในประเทศคิวบา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ในการส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ ของโลกในอดีต

 

              ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ที่ผ่านมาการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 ได้มีการกำหนดเขตคำนวณราคาอ้อยเป็นเขตเดียวกันทั่วประเทศ และกำหนดราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งขั้นต้นและขั้น ท้ายเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศมาโดยตลอด แม้ว่าในฤดูการผลิตปี 2540/41 จะเริ่มมีการแบ่งเขตคำนวณราคาอ้อยออกมาเป็นหลายเขตมาจนถึงปัจจุบัน แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ยังคงยึดปฏิบัติประกาศเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศและได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตนี้ กำหนดเป็น 2ราคา จึงควรพิจารณาให้ความอย่างเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อยอย่างเท่าเทียมกัน หากอนาคตมีการประกาศราคาอ้อยหลายเขตหลายราคามากขึ้น จะยิ่งทำให้ชาวไร่อ้อยเกิดความสับสนและจะนำไปสู่ความแตกแยกในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยในที่สุด

 

              สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น ราคาและต้องการให้กำหนดเป็นราคาเดียวกันทั้งประเทศดั่งที่เคยปฏิบัติกันมา เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การแย่งอ้อย การส่งอ้อยข้ามเขต ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลขาดแรงจูงใจที่จะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การแย่งซื้ออ้อย ท้ายที่สุดแล้วไม่มีฝ่ายใดได้ผลดี หรือก่อให้เกิดประโยชน์จากการประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 2 ราคาในครั้งนี้ และจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ ของโลกอ่อนแอลง” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

 

--------------------------------------------------------------------

ประชาสัมพันธ์ในนาม 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย

โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ พิภพ  ฆ้องวง  

โทร. 0-2612-2081 ต่อ 124 หรือ 08-1929-8864 e-mail: [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!