- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 05 November 2015 09:11
- Hits: 2294
สศอ.หวั่นเกิดวิกฤตแรงงานขาดแคลน แนะส่งเสริมสายอาชีพมากขึ้น-ปรับโครงสร้างค่าจ้าง
สศอ.หวั่นเกิดวิกฤตแรงงานในปท.ขาดแคลน หลังแรงงานต่างชาติทะลักเหตุไทยมีค่าจ้างสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน แนะส่งเสริมสายอาชีพมากขึ้น-ปรับโครงสร้างค่าจ้าง
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าว่าการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่อง จากการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติกลับประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัว และ โอกาสการจ้างงานในประเทศต้นทางมีมากขึ้นจากการขยายตัวและการเติบโตทาง เศรษฐกิจของ ประเทศต้นทาง
โดยเมื่อพิจารณาจำนวนแรงงานต่างชาติในประเทศไทยในปี 57 จะพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (นับ จากปี 47 - 57) ประเทศไทยมีแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 974,143 คน เป็น 1,339,834 คน คิดเป็น 37.54% การที่มีแรงงานต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากค่าจ้าง ขั้นต่ำ ของประเทศไทย อยู่ในระดับสูงโดยเปรียบเทียบ เห็นได้จากจำนวนแรงงานต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ระหว่างปี 56 - 57 ซึ่งมีแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น 13.18% เนื่องจากนโยบายขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น วันละ 300 บาท ที่ประกาศใช้ทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 56 และเมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรง งานของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนจากค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน พบว่าประเทศไทยมีค่า จ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสอง โดยอันดับแรก คือ สิงคโปร์ ซึ่งมีค่าจ้างอยู่ที่ 32.2-129.9 ดอลลาร์ สหรัฐ อันดับสอง คือ ประเทศไทยมีค่าจ้างอยู่ที่ 8.8 ดอลลาร์สหรัฐ อันดับสามคือ มาเลเซีย มีค่า จ้างอยู่ที่ 7.3-8.1 ดอลลาร์สหรัฐ และประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำสุด คือ เมียนมาร์ มีค่าจ้างอยู่ ที่ 0.8 - 1.2 ดอลลาร์สหรัฐ
การที่ประเทศไทยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอา เซียนทำให้แรงงานจาก ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก โดยแรงงานสัญชาติลาว เมียนมาร์ กัมพูชา มีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 87.89 ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด และแรงงานต่างชาติ เกินกว่าครึ่งเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานในภาค อุตสาหกรรมประมาณ 6,184,926 คน เป็นแรงงานต่างชาติ771,118 คน แบ่งเป็นแรงงานวิชาชีพ 11,068 คน และแรงงานฝ่ายผลิต 760,049 คน อุตสาหกรรมที่มีแรงงานต่างชาติมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นแรงงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการ ผลิตยางและพลาสติก และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการตกแต่งและย้อมสีขนสัตว์ มีแรงงานจำนวน 286,702 คน 105,449 คน และ 65,922 คน ตามลำดับ
ถึงแม้ว่า จะมีแรงงานต่างชาติอยู่ในฝ่ายผลิตจำนวนมาก แต่ภาคอุตสาหกรรมของไทยก็ยังคงขาดแรง งานฝ่ายผลิต 34,716 คน และหากไม่นับการจ้างงานต่างชาติ ภาคอุตสาหกรรมไทยจะขาดแรงงาน งานฝ่ายผลิตประมาณ 794,765 คน อุตสาหกรรมที่มีการขาดแคลนแรงงานการผลิตมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะประดิษฐ์ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการตกแต่งและย้อมสีขนสัตว์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม
แรงงานฝ่ายผลิตที่เป็นแรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีฝีมือคิดเป็น ร้อยละ 95 ของแรงงานฝ่าย ผลิตทั้งหมด ขณะที่แรงงานต่างชาติในฝ่ายผลิตมีแรงงานที่มีฝีมือและไร้ฝีมือในสัดส่วนที่ ใกล้เคียงกัน หากพิจารณาดูจากอายุของแรงงานฝ่ายผลิต จะพบว่าแรงงานฝ่ายผลิตที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ เป็นแรงงานที่มีฝีมือ ทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงานดังกล่าวเนื่องจากประเทศไทย กำลังก้าว สู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีความต้องการแรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 255,888 คน เมื่อรวมกับปัจจุบันที่ภาค อุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงาน จำนวน 34,716 คน และมีแนวโน้มที่แรงงานต่างชาติจะย้ายกลับประเทศจำนวน 91,205 คนแล้ว จะทำให้ในอีก 5 ปีข้างหน้าภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นรวม 381,809 คน ซึ่ง หากไม่นับการจ้างงานต่างชาติในระบบ ภาคอุตสาหกรรมไทยจะขาดแคลนแรงงานฝ่ายผลิตประมาณ 1,015,938 คน
จากความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมไทยยังต้องพึ่งพึง แรงงานต่างชาติเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของแรงงานแต่ละชาติ แรงงานไทยมี คุณสมบัติโดยรวมที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด ขณะที่แรงงานเมียนมาร์มีค่า จ้างแรงงานต่ำ มีความขยันอดทน และใฝ่เรียนรู้มากที่สุด จุดเด่นของแรงงานไทย คือ สามารถทำ งานเป็นทีมและมีความคิดสร้างสรรค์
ส่วนจุดด้อย คือ ค่าจ้างแรงงานสูง ในขณะที่แรงงาน เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จุด เด่น คือ มีความขยันอดทน แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และจากการสอบถามความต้องการแรงงาน พบว่าแรงงานฝ่ายผลิตมีความต้องการแรงงานเมียนมาร์มากที่สุดทั้งในแรงงานมี ฝีมือและไร้ฝีมือ
สำหรับ แนวทางแก้ปัญหาที่อุตสาหกรรมไทยขาดแคลนแรงงานฝ่ายผลิต จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ค่านิยมการเรียนระดับปริญญา และการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติกลับประเทศนั้น ควรมีการแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว เช่น รัฐบาลควรหาแนวทางบริหารจัดการ แรงงานนอกช่วงฤดูกาล ในภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่ใช้สื่อสารกับ แรงงานต่างชาติ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากปัญหาการเข้าสู่ สังคม ผู้สูงอายุ และลดการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ ปรับปรุงนโยบายด้านแรงงานต่างชาติให้ทันสมัย และชัดเจน เช่นอาชีพใดที่ควรสงวน และอาชีพใดที่ควรส่งเสริมให้ต่างชาติ รวมถึงการสร้างค่านิยม และปรับปรุงระบบการศึกษาไทยให้เด็กไทยเห็นความสำคัญในการศึกษาต่ออาชีวะ เช่น ปรับปรุง ระบบการเรียนการสอน และใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ภาครัฐ และเอกชนควรร่วมมือกัน ปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้างแรงงานอุตสาหกรรมไทยโดยลด ความเลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างแรงงาน ระดับปริญญา และสายอาชีพ รวมถึงส่งเสริมให้มีการพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Career Path) เพื่อดึง ดูดให้เยาวชนหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย