- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Monday, 28 September 2015 23:14
- Hits: 4668
'สมคิด'ตั้งเป้า SME ใหม่หมื่นราย จ่อหนุนตลาดโอท็อปเขตภัยแล้ง
แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) ให้แก่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ว่า กำชับให้ สสว. เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ได้ไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นราย โดยแบ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอีเกิดใหม่ หรือกลุ่มสตาร์ทอัพ กลุ่มผู้ประกอบการเดิมที่ต้องพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้น และกลุ่มที่ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างรุนแรง หรือกลุ่มเทิร์นอะราวด์
โดย ในกลุ่มเอสเอ็มอีเกิดใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ จะต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะในอนาคตจะเข้ามามีบทบาทในการจ้างงานเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นเสาหลักของประเทศ โดยเอสเอ็มอีกลุ่มเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซอฟแวร์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอที กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ร้านอาหาร สปา และค้าปลีกด้านต่างๆ เป็นต้น โดย สสว.จะต้องเข้าไปคัดเลือกผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่างๆ คัดเลือกบุคลากรที่มีนวัตกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ และนำเข้ามาพัฒนาให้เกิดธุรกิจใหม่ๆให้ได้ 1 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561
นอกจากนี้ จะต้องเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดำเนินการอยู่แล้ว ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ยกระดับไปสู่การส่งออก และก้าวขึ้นไปเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายเข้าไปช่วยเหลือให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 หมื่นราย รวมทั้งการเข้าไปให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจอย่างรุนแรงให้พลิกฟื้นขึ้นมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นรายต่อปี
ในส่วนของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอีนั้น จะส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเอสเอ็มอีไทย กับเอสเอ็มอีต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นต้น โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ ต่างอยากเข้ามาร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีไทย ซึ่งล่าสุด ได้มีเอสเอ็มอีจากญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจลู่ทางการลงทุนในไทย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีต่างชาติให้ความสนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากไม่รู้ว่า จะเชื่อมโยงกับใคร เพราะขาดฐานข้อมูลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้ สสว. ลงไปจัดทำฐานข้อมูลเหล่านี้โดยเร็ว และส่งเสริมให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ เพื่อให้เกิดการร่วมลงทุนและยกระดับเอสเอ็มอีของไทยในทุกๆ ด้าน
ส่วนของการส่งเสริมด้านการตลาด ได้สั่งการให้ สสว. จัดทำเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าให้กับเอสเอ็มอีรายย่อย และวิสาหกิจชุมชน ที่ไม่มีกำลังในการทำเว็บไซต์เอง เนื่องจากช่องทางนี้สามารถทำให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงตลาดในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในเบื้องต้นได้ให้ สสว. คะดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพให้เข้ามาในเว็บไซต์นี้ก่อน จากนั้นก็จะขยายจำนวนเอสเอ็มอีให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดการสร้างแบรนด์และเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น
นายสมคิด กล่าวว่า ส่วนเรื่องนิรโทษกรรมด้านภาษีให้กับ SMEs นั้น กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการช่วยเหลือ เอสเอ็มอีแต่จะมีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ชัดเจนหากมีความผิดพลาดขึ้นอีก ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ เอสเอ็มอีเหล่านี้แต่เขาต้องเข้าสู่ระบบก่อน และจะไม่ใช้คำว่าเป็นการนิรโทษกรรมอีกด้วย
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า สิ่งที่ สสว. จะเร่งดำเนินงานอย่างเร่งด่วน ก็คือการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน (โอท็อป) ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพื่อให้มีรายได้เข้ามาเสริมบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง โดยคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 9.1 พันราย ซึ่งจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
"ในการช่วยเหลิอวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ จะมุ่งช่วยเหลือด้านการตลาดเป็นหลัก โดยจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ นำสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ออกไปเปิดตลาดในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้งยังได้ประสานงานความร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมัน เช่น ปตท. ในการเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า เป็นต้น" นางสาลินี กล่าว
นอกจากนี้ ได้วางเป้าหมายที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ หรือ กลุ่ทสตาร์ทอัพ ซึ่งได้วางเป้าหมายจะสร้างให้ได้ 1 หมื่นรายภายในปี 2561 พัฒนาผู้ประกอบการเดิมให้เข็มแข็งให้ได้ปีละ 5 หมื่นราย ซึ่งมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ยอดขายของผู้ประกอบการจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และในกลุ่มเทิร์นอะราวด์ ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่ติดเครดิตบูโร โดยจะต้องยกระดับกลุ่มนี้ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ และสามารถต่อยอดให้เข็มแข็งขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นรายต่อปี ซึ่ง นายสมคิด ได้ตั้งเป้าหมายให้เห็นถึงความสำเร็จภายใน 1 ปี ครึ่ง
สมคิดมอบนโยบายสสว. เร่งสร้างเครือข่ายกับตปท.ช่วยยกระดับ SMEs ไทย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ให้แก่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) โดยได้มอบหมายให้ สสว.จัดทำ Business Matching เชื่อมโยงกับ SMEs จากต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการจากต่างประเทศไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งหากทำได้จะมีส่วนช่วยในการยกระดับ SMEs ของไทยด้วย
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการในการเร่งสร้างมูลค่าและนวัตกรรมใหม่ๆ จึงฝากให้ สสว.ให้ความสำคัญกับกลุ่ม Start up โดยได้กำหนดให้เร่งสร้างกลุ่ม Start up 1 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 พร้อมมอบนโยบายให้สสว.เข้าไปค้นหากลุ่ม Start up ตั้งแต่ในระดับมหาวิทยลัย หรือสถาบันวิจัยที่มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งมาตรการที่กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
นายสมคิด มองว่า SMEs ถือเป็นอนาคตของประเทศ และอยากเห็น SMEs เกิดใหม่ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาและมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสากรรมซอฟแวร์ ธุรกิจบริการและสปา อาหารแปรรูป ด้านไอทีและเกมส์ รวมถึงด้านครีเอทีฟ
ส่วนเรื่องนิรโทษกรรมด้านภาษีให้กับ SMEs นั้น นายสมคิด ระบุว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการช่วยเหลือ SMEs แต่จะมีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ชัดเจนหากมีความผิดพลาดขึ้นอีก
"ไม่ใช่เป็นการนิรโทษ เราจะช่วยเขา แต่เขาต้องเข้าสู่ระบบ และห้ามผิดพลาดอีก ถ้าผิดพลาดอีกจะต้องมีบทลงโทษ ไม่มีใครใจร้าย ทุกคนอยากจะช่วย"นายสมคิด กล่าว
ด้านนางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า นโยบายที่รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายในวันนี้ ต้องการให้เห็นผลสำเร็จภายใน 1 ปีครึ่ง แต่งานบางเรื่องก็สามารถทำได้ทันที เช่น เรื่อง Business Matching ที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งในส่วนการเชื่อมโยงกับ SMEs จากต่างประเทศนั้น สสว.จะคัดเลือก SMEs ของไทยที่เห็นว่าจะสามารถจับคู่ได้ ประมาณ 4 แสนราย ซึ่งเป็น SMEs ที่อยู่ในระบบ มีข้อมูลที่ครบถ้วนและมีการเสียภาษีถูกต้องมีการส่งงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ในส่วนระยะเร่งด่วนนั้น สสว.จะเน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ไทยจำนวน 7 หมื่นราย ประกอบด้วย 1.กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพและจะส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น จำนวน 5 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 2.กลุ่ม Start up จำนวน 1 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 และกลุ่ม Turnaroud จำนวน 1 หมื่นรายภายในปี 2559
นอกจากนี้ สสว.จะเข้าไปช่วยในเรื่องบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ช่วยเสริมสร้างให้วิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถสร้างรายได้เสริมได้ รวมถึงการสร้างระบบออนไลน์หาช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านทางเวปไซด์ให้กับ SMEs รายย่อย โดยหารือร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์ และส่งเสริมความร่วมมือกับธนาคาร SME และธนาคารกรุงไทยในเรื่องสินเชื่อและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น
อินโฟเควสท์
สมคิด` สั่งสสว. เร่งสร้างเครือข่าย SMEs กับตปท.ช่วยยกระดับผู้ประกอบการ
'สมคิด'สั่งสสว. เร่งสร้างเครือข่าย SMEs กับตปท.ช่วยยกระดับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ให้แล้ว เสร็จภายใน 1 เดือน ด้าน สสว.รับลูกเร่งเดินหน้าให้เห็นผลสำเร็จภายใน 1 ปีครึ่ง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังจากเป็นประธาน มอบนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ให้แก่สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) โดยได้มอบหมายให้ สสว.จัดทำ Business Matching เชื่อมโยงกับ SMEs จากต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ให้แล้ว เสร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการจากต่างประเทศไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งหาก ทำได้จะมีส่วนช่วยในการยกระดับ SMEs ของไทยด้วย
โดย รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับผู้ประกอบ การในการเร่ง สร้างมูลค่าและนวัตกรรมใหม่ๆ จึงฝากให้ สสว.ให้ความสำคัญกับกลุ่ม Start up โดยได้กำหนดให้เร่งสร้างกลุ่ม Start up 1 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 พร้อมมอบนโยบาย ให้สสว.เข้าไปค้นหากลุ่ม Start up ตั้งแต่ในระดับมหาวิทยลัย หรือสถาบันวิจัยที่มีการคิดค้นนวัต กรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งมาตรการที่ กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำเสนอเข้าสู่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ มองว่า SMEs ถือเป็นอนาคตของประเทศ และอยากเห็น SMEs เกิดใหม่ในหลากหลาย ธุรกิจ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาและมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสากรรมซอฟแวร์ ธุรกิจบริการและสปา อาหารแปรรูป ด้านไอทีและเกมส์ รวมถึงด้านครีเอทีฟ
ส่วนเรื่องนิรโทษกรรมด้านภาษีให้กับ SMEs นั้น นายสมคิด ระบุว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่าง การจัดทำมาตรการช่วยเหลือ SMEs แต่จะมีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ชัดเจนหากมีความผิดพลาดขึ้นอีก
"ไม่ใช่เป็นการนิรโทษ เราจะช่วยเขา แต่เขาต้องเข้าสู่ระบบ และห้ามผิดพลาดอีก ถ้าผิดพลาดอีก จะต้องมีบทลงโทษไม่มีใครใจร้าย ทุกคนอยากจะช่วย"นายสมคิด กล่าว
ด้านนางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า นโยบายที่รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายใน วันนี้ ต้องการให้เห็นผลสำเร็จภายใน 1 ปีครึ่ง แต่งานบางเรื่องก็สามารถทำได้ทันที เช่น เรื่อง Business Matching ที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งในส่วนการเชื่อมโยงกับ SMEs จาก ต่างประเทศนั้น สสว.จะคัดเลือก SMEs ของไทยที่เห็นว่าจะสามารถจับคู่ได้ ประมาณ 4 แสนราย ซึ่งเป็น SMEs ที่อยู่ในระบบ มีข้อมูลที่ครบถ้วนและมีการเสียภาษีถูกต้องมีการส่งงบการเงินอย่างสม่ำ เสมอ
ทั้งนี้ ในส่วนระยะเร่งด่วนนั้น สสว.จะเน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ไทยจำนวน 7 หมื่นราย ประกอบด้วย 1.กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพและจะส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น จำนวน 5 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 2.กลุ่ม Start up จำนวน 1 หมื่นราย ภายในปี 2559-2561 และกลุ่ม Turnaroud จำนวน 1 หมื่นรายภายในปี 2559
นอกจากนี้ สสว.จะเข้าไปช่วยในเรื่องบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ช่วยเสริมสร้างให้วิสาหกิจชุมชนให้เข้ม แข็ง สามารถสร้างรายได้เสริมได้ รวมถึงการสร้างระบบออนไลน์หาช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านทาง เวปไซด์ให้กับ SMEs รายย่อย โดยหารือร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์ และส่งเสริมความร่วมมือกับ ธนาคาร SME และธนาคารกรุงไทยในเรื่องสินเชื่อและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย