- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 19 September 2015 09:06
- Hits: 9866
ก.อุตฯ-ออมสิน จับมือช่วยเอสเอ็มอี อัดเงิน 1 แสนลบ. คาดช่วยสภาพคล่องเอสเอ็มอีได้ 60,000 ราย มีเงินเข้าระบบ 1.94 ล.ลบ.
รมว.อุตฯเดินหน้าตามนโยบายรัฐเร่งพัฒนาเอสเอ็มอี ด้านออมสินเผยมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีวงเงิน 100,000 ลบ. ช่วยสภาพคล่องเอสเอ็มอีได้ถึง 60,000 ราย มีเงินหมุนเข้าสู่ระบบ 1.94 ล.ลบ.
นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ภารกิจหลักของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย การบูรณาการและติดตามการดำเนินงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดประสิทธิผล ล่าสุดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รุกเชื่อมวงจรเอสเอ็มอี บูรณาการภาคส่วนขานรับนโยบายเอสเอ็มอี ภาครัฐจึงได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งช่วยเหลือเอสเอ็มอี ให้สามารถประคองตัวให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสามารถพลิกกลับมาดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังจะต้องเร่งพัฒนาปัจจัยสนับสนุน ทั้งในด้านกฎหมายและกฎระเบียบ การอำนวยความสะดวก ในกานประกอบกิจการ การรวมกลุ่มคลัสเตอร์ และการบูรณาการนโยบาย แผนงานกะบส่วนที่เกี่ยวข้องจะเอื้อต่อการลงทุน การพัฒนา และลดอุปสรรคในธุรกิจอุตสาหกรรม เน้นการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า และมาตรฐาน
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารเดินหน้าตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้การขับเคลื่อน มาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ในระยะเร่งด่วน ผ่านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ ซอฟท์โลน เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว และช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
สำหรับ โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเบื้องต้นคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่อง รวม 60,000 ราย วงเงินสินเขื่อเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 3.3 ล้านบาท และสามารถรักษาสภาพการจ้างงานได้ประมาณ 240,000 ราย และส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจประมาณ 1.94 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 100,000 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี โดยจะเป็นการปล่อยกู้ให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี เพื่อนำปล่อยกู้โดยตรงให้กับผู้ประกอบการในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยค่าใช้จ่ายสำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสินต่อไป
รมว.อุตสาหกรรม คาดใช้เวลาอีกประมาณ 1- 2 สัปดาห์ พิจารณามาตรการช่วยเอสเอ็มอีระยะ 2 ก่อนชงเข้าครม.
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ซึ่งระยะแรกรัฐบาลมีมาตรการทางการเงิน ของกระทรวงการคลัง ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการสิน เชื่อผ่านสถาบันการเงิน การปรับปรุงเงื่อนไขการค้ำประกัน และการร่วม ลงทุนระยะเริ่มต้น รวมทั้งมาตรการทางด้านภาษี
ส่วนระยะที่ 2 เป็น มาตรการสนับสนุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี ด้านต่าง ๆ แบบบูรณาการ กระทรวง อุตสาหกรรมที่จะมุ่งเน้นด้านผลิตภาพและนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มุ่งเน้นนวัตกรรม และกระทรวงพาณิชย์ มุ่งเน้นด้านการ ตลาดทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่กระทรวงฯ ดำเนินการเน้น เรื่องของการสร้างผู้ประกอบการใหม่และเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ ประกอบการรายเดิม ซึ่งรายเดิมอาจมีบางรายที่มีปัญหา ก็จะมีมาตรการ เข้าไปช่วยเหลือและวินิจฉัยว่าจะช่วยด้านไหนได้บ้างในเชิงลึก ส่วนราย เดิมที่ยังมีศักยภาพก็จะส่งเสริมให้มีศักยภาพมากขึ้น คือ ต้องดู ตั้งแต่งานวิจัยพัฒนา ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมที่ จะเข้ามาช่วย ส่วนการตลาดก็จะเป็นกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามาให้ความช่วย เหลือ นอกจากนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงต่าง ๆ ที่มีมาตรการ ช่วยเหลือเอสเอ็มอีมาบูรณาการกัน ซึ่งขณะนี้ใกล้เสร็จเรียบร้อย แล้ว ขณะเดียวกันต้องพิจารณาว่าเอสเอ็มอีที่เข้าระบบปี 2559 มีมาก น้อยเพียงใด และจะให้ความช่วยเหลือระยะแรกเท่าใดก่อน แล้วจะพิจารณา ว่าต้องของบประมาณเสริมหรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือ เอส เอ็มอีทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งคงใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนนำเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรี
สำหรับ 3 มาตรการหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมในการช่วย เหลือเอสเอ็มอี คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งเอสเอ็มอี การสร้างผู้ ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสาขาธุรกิจอุตสาหกรรมที่ เป็นยุทธศาสตร์ และการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มความเข้มแข็งสำหรับเอส เอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนคำแนะนำสำหรับเอส เอ็มอีในช่วงสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวตอนนี้ ควรพัฒนาเชิงนวัตกรรมทั้ง ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เจาะตลาดความต้องการเฉพาะกลุ่ม สร้าง พันธมิตรทางธุรกิจ แบ่งช่วงการผลิตที่ใช้แรงงานเข้ม ข้น Outsources ให้บริษัทอื่นแทนการจ้างแรงงานประจำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าระดับบนมาก ขึ้น และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้ง การจัดการสินค้าคงคลัง ทรัพยากรบุคคล การผลิตและการตลาด
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
สศอ.ชี้ช่องค้าลงทุน ยาง-รถ-อิเล็กฯอินเดีย
แนวหน้า : นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาช่องทางการขยายตลาดของไทยว่า ขณะนี้ประเทศอินเดียนับเป็นตลาดหนึ่งที่มีศักยภาพในการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญเพื่อหาตลาดใหม่ชดเชยการค้าและการลงทุนในตลาดหลักที่ซบเซาจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และยางพารา ที่มองว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตระหว่างไทยกับอินเดียได้มากที่สุด
“ผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตด้วยการรวมกลุ่มเชิงพาณิชย์ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ไทยผลิตชิ้นส่วนให้กับบริษัทชั้นนำของโลก อาทิ โตโยต้า เพื่อส่งชิ้นส่วนเข้าไปเจาะตลาดโรงงานประกอบรถยนต์ในอินเดีย” นายศิริรุจ กล่าว
ทั้งนี้ สศอ.เตรียมเสนอยุทธศาสตร์เจรจาการค้าต่อกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการหารือและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ควบคู่กับการสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าเจรจาเขตการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย เพื่อเปิดตลาดการค้าระหว่างไทยและอินเดียให้ขยายตัวมากขึ้น