- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 17 September 2015 08:52
- Hits: 3189
บสย.พร้อม 'ค้ำประกันสินเชื่อ' 1 แสนล้านบาท เริ่มแล้ววันนี้ ร่วมปลดล็อก SMEs เพิ่มกลไกผ่อนคลายธนาคารปล่อยสินเชื่อ
สศค.-บสย.-สมาคมธนาคารไทย ร่วมปลดล็อกผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เพิ่มกลไกผ่อนคลาย หนุนกลุ่มธนาคารร่วมปล่อยวงเงิน คาดก่อเกิดสินเชื่อในระบบ 170,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการกว่า 30,000 ราย
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐหลายภาคส่วนมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเริ่มขับเคลื่อนให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว และคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ทุกหน่วยงานจะประกาศความพร้อมและเริ่มขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งล่าสุดบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ประกาศความพร้อมในการดำเนินมาตรการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5 (PGS5) ปรับปรุงใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี 8 กันยายน 2558 ในวงเงินค้ำประกัน 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน โดยคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการSMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 30,000 ราย และก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินประมาณ 170,000 ล้านบาท
นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. พร้อมให้บริการค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 ตามมติคณะรัฐมนตรี 8 กันยายน 2558 ซึ่งจะเอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากได้ปรับเกณฑ์การค้ำประกันให้ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึ้น โดยช่วยปลดล็อกเปิดโอกาสผู้ที่เคยมีประวัติด้านการเงิน แต่มีศักยภาพในการชำระหนี้ ขณะเดียวกัน ภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพน้อยกว่าเกณฑ์ปกติได้มากขึ้น และเร็วขึ้นตามเจตนารมณ์ของภาครัฐ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ SMEs โดยเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการ SMEs ต่อเนื่อง 4 ปี โดยปีที่ 1 รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1.75% (ฟรีค่าธรรมเนียม) ส่วนปีที่ 2-4 รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ในอัตรา 1.25% , 0.75% และ 0.25% ตามลำดับ รวมคิดเป็นเงินชดเชยที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ตลอด 4 ปี คิดเป็นเม็ดเงิน 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเหลือภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ที่สูงกว่าทุกครั้งที่ บสย. เคยดำเนินโครงการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ SMEs
การปรับเงื่อนไขการค้ำประกันใหม่ในครั้งนี้ บสย. จะรับภาระจ่ายค่าประกันชดเชยกรณีที่เป็นหนี้ NPGs ทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละ 30 ของภาระค้ำประกัน โดยแบ่งการจ่ายค่าประกันชดเชยเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการ SMEs แต่ละราย ในหนี้ NPGs 15% แรก ส่วนหนี้ NPGs ที่เกินกว่า 15% แต่ไม่เกิน 30% บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยร้อยละ 50 ของการค้ำประกันแต่ละรายทำให้การจ่ายค่าประกันชดเชยของโครงการดังกล่าวสูงสุดไม่เกินร้อยละ 22.5 ตลอดระยะเวลาโครงการ
"เรามั่นใจว่า ภายใต้โครงการค้ำประกันใหม่นี้ จะทำให้ บสย. สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยคาดว่า บสย. จะอนุมัติการค้ำประกันได้เฉลี่ยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ เดือนละ 8,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 60% จากยอดการค้ำประกันปกติที่อนุมัติเพียงประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 8,000 ล้านบาทในช่วง 3 เดือนสุดท้ายที่เหลือของปีนี้"
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า โครงการค้ำประกัน PGS5 ปรับปรุงใหม่ ตามมติครม.8 กันยายน2558 ของบสย.ในวงเงิน 100,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยทำให้สถาบันการเงินต่างๆ มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และลดความกังวลในปริมาณ NPL ของ ผู้ประกอบการSMEs ที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกเพราะมี บสย. มาเป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงให้ โดยขณะนี้ธนาคารต่างๆ มีความพร้อมในการรับคำขอสินเชื่อจากผู้ประกอบการ SMEs ที่จะใช้บริการค้ำประกันของ บสย. โดยมั่นใจว่ามาตรการนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินในระบบ เพื่อจะผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้
บสย.ร่วมปลดล็อค SMEs เข้าถึงแหล่งทุน พร้อมค้ำประกันสินเชื่อ 1 แสนลบ.
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐหลายภาคส่วนมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเริ่มขับเคลื่อนให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว และคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ทุกหน่วยงานจะประกาศความพร้อมและเริ่มขับเคลื่อนอย่างเต็มที่
ซึ่งล่าสุดบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ประกาศความพร้อมในการดำเนินมาตรการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5 (PGS5) ปรับปรุงใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี 8 ก.ย.58 ในวงเงินค้ำประกัน 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและช่วยเสริม
สภาพคล่องทางการเงิน โดยคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการSMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 30,000 ราย และก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินประมาณ 170,000 ล้านบาท
นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. พร้อมให้บริการค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 ตามมติคณะรัฐมนตรี 8 ก.ย.58 ซึ่งจะเอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากได้ปรับเกณฑ์การค้ำประกันให้ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึ้น โดยช่วยปลดล็อกเปิดโอกาสผู้ที่เคยมีประวัติด้านการเงิน แต่มีศักยภาพในการชำระหนี้ ขณะเดียวกันภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพน้อยกว่าเกณฑ์ปกติได้มากขึ้น และเร็วขึ้นตามเจตนารมณ์ของภาครัฐ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ SMEs โดยเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการ SMEs ต่อเนื่อง 4 ปี โดยปีที่ 1 รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1.75% (ฟรีค่าธรรมเนียม) ส่วนปีที่ 2-4 รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ในอัตรา 1.25%, 0.75% และ 0.25% ตามลำดับ รวมคิดเป็นเงินชดเชยที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ตลอด 4 ปี คิดเป็นเม็ดเงิน 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเหลือภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ที่สูงกว่าทุกครั้งที่ บสย.เคยดำเนินโครงการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ SMEs
การปรับเงื่อนไขการค้ำประกันใหม่ในครั้งนี้ บสย.จะรับภาระจ่ายค่าประกันชดเชยกรณีที่เป็นหนี้ NPGs ทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละ 30 ของภาระค้ำประกัน โดยแบ่งการจ่ายค่าประกันชดเชยเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการ SMEs แต่ละราย ในหนี้ NPGs 15% แรก ส่วนหนี้ NPGs ที่เกินกว่า 15% แต่ไม่เกิน 30% บสย.จ่ายค่าประกันชดเชยร้อยละ 50 ของการค้ำประกันแต่ละราย ทำให้การจ่ายค่าประกันชดเชยของโครงการดังกล่าวสูงสุดไม่เกินร้อยละ 22.5 ตลอดระยะเวลาโครงการ
เรามั่นใจว่าภายใต้โครงการค้ำประกันใหม่นี้ จะทำให้ บสย.สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยคาดว่า บสย.จะอนุมัติการค้ำประกันได้เฉลี่ยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ เดือนละ 8,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 60% จากยอดการค้ำประกันปกติที่อนุมัติเพียงประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 8,000 ล้านบาทในช่วง 3 เดือนสุดท้ายที่เหลือของปีนี้" นายกฤษฎา กล่าว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า โครงการค้ำประกัน PGS5 ปรับปรุงใหม่ตามมติครม. 8 ก.ย.58 ของบสย.ในวงเงิน 100,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยทำให้สถาบันการเงินต่างๆ มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และลดความกังวลในปริมาณ NPL ของ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกเพราะมี บสย. มาเป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงให้ โดยขณะนี้ธนาคารต่างๆ มีความพร้อมในการรับคำขอสินเชื่อจากผู้ประกอบการ SMEs ที่จะใช้บริการค้ำประกันของ บสย. โดยมั่นใจว่ามาตรการนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินในระบบ เพื่อจะผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้
ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมในการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการค้ำประกันของ บสย.วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเสริมสภาพคล่องในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยคาดว่าจากการเพิ่มการค้ำประกันของ บสย.จากเดิม 18% เป็น 30% นั้น จะส่งผลให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ 6 พันล้านบาท และคาดว่าจะใช้เวลาในการปล่อยสินเชื่อหมดภายใน 10-12 เดือน ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันในด้านอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมากขึ้น
สำหรับ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทั้งระบบของ SMEs ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับในปัจจุบันที่ 3.5% อย่างแน่นอน เนื่องจากแนวโน้ม NPL ของระบบ SMEs ช่วงที่เหลือของปี 2558 ยังมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอตัวลงบ้าง จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการในช่วงที่ผ่านมา
สถาบันการเงินจะมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้กับ SMEs เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่มี บสย.เข้ามาช่วยค้ำประกัน ส่วนในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) นั้น มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมในการดำเนินการอยู่แล้ว" นายบุญทักษ์ กล่าว
อินโฟเควสท์