- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Monday, 23 June 2014 23:00
- Hits: 3393
กรมโรงงาน เผยยอดตั้งโรงงานใหม่เดือนมิ.ย.พุ่ง หลังคสช.บริหารประเทศ ระบุเม็ดเงินลงทุนแตะ 9 หมื่นลบ.
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารจัดการประเทศทำให้ภาพรวมการลงทุน ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. - 18 มิ.ย.2557 หรือ 26 วัน หลังจากที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ มีจำนวนโรงงานประกอบกิจการใหม่ 377 แห่ง เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 5 เดือนแรก 19.53% มีเงินลงทุน 47,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 112.61% และมีการจ้างงาน 15,962 คน เพิ่มขึ้น 125% ซึ่งค่าเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปี 2557 ที่มีการตั้งโรงงานใหม่ 315 โรง เงินลงทุน 22,412 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 7,092 คนเมื่อพิจารณาจากยอดการเปิดกิจการใหม่ที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในเดือนมิ.ย.ทั้งเดือน จะมีเงินลงทุนของโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ขยายกิจการจะมีเงินลงทุนประมาณ 3.5-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเงินลงทุนทั้งหมดคาดว่าจะอยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท นายณัฐพล กล่าว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วง 28 วันที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมาและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้หันมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นส่วนยอดการตั้งกิจการใหม่ตั้งแต่ ม.ค. - 18 มิ.ย.2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,847 แห่ง ลดลง 7 % เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 155,157 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นถึง 5.53 % และมีการจ้างงานเพิ่ม 49,498 เพิ่มขึ้น 12% ขณะที่การขยายกิจการหลัง คสช. เข้าบริหารประเทศ 26 วัน อยู่ที่ 76 แห่ง เพิ่มขึ้นจากอัตราเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปีนี้ 68% มีเงินลงทุน 31,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 171% และมีการจ้างงาน 10,616 คน เพิ่มขึ้น 142% ส่วนยอดยอดขยายโรงงาน ตั้งแต่ ม.ค. - 18 มิ.ย.2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 284 แห่ง ลดลง 5.02 % เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 68,538 ล้าน บาท ลดลง 7.16 %
สำหรับ แนวโน้มครึ่งปีหลังการตั้งโรงงานใหม่จะขยายตัวประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก มีมูลค่าลงทุนเพิ่มขึ้น 15-20% ส่วนยอดขยายโรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 20% มีมูลค่าลงทุน 30% ซึ่งจะส่งผลให้ยอดรวมทั้งปี 2557 จำนวนโรงงานตั้งใหม่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 10-15% มีจำนวนการขยายโรงงานเพิ่มขึ้น 10% และมีมูลค่าลงทุนเพิ่มขึ้น 10%
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กลุ่มทุนตีปีกรับ'คสช.'ดับไฟการเมืองยอดตั้งรง.พุ่งเฉียดแสนล.
แนวหน้า : กรมโรงงาน โชว์ตัวเลขยอดลงทุนใต้เงาปีก ‘คสช.’ มีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้นชี้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกับนโยบาย ด้านปลัดอุตสาหกรรม รับข้อเสนอเอกชนตั้ง ‘สภาเอสเอ็มอี’อุ้มรายย่อย
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารจัดการประเทศตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.-18 มิ.ย.57(26วัน) พบว่า มีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ 377 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 19.68% เงินลงทุน 47,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 143.67% มีการจ้างงาน 15,962 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 137.64% เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกับนโยบายที่ทาง คสช. กำลังเร่งดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ยอดเปิดโรงงานลดลง โดยตั้งแต่ ม.ค.-18 มิ.ย.2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 1,847 แห่ง ลดลง 7 % เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 155,157 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นถึง 5.53 % เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน
“จะเห็นได้ว่า ในช่วง 26 วันที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งจำนวนโรงงาน เงินลงทุน แรงงาน ล้วนเพิ่มขึ้นกว่าทุกๆเดือนในปีนี้ หรือตั้งแต่มีปัญหาทางการเมือง โดยการโตแบบก้าวกระโดดนั้นเป็นผลมาจาก นโยบายที่ทาง คสช.ได้มอบหมายให้กับกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการ ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนในเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4)รวมทั้งการยกเลิกคณะกรรมการกลั่นกรอง หรือแม้การตั้งบอร์ดบีโอไอ(คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ล้วนเป็นผลดีต่อการลงทุนทั้งสิ้น”
นายณัฐพล กล่าวว่า คาดการณ์ว่าในเดือนมิถุนายน2557 มูลค่าเงินลงทุนของโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่จะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ขณะที่ขยายกิจการอยู่ที่ 35,000- 40,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเงินลงทุนทั้งโรงงานเปิดใหม่และขยายกิจการจะอยู่ที่ 90,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 2557 ถึง116 % โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง คือ อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์
ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังการตั้งโรงงานใหม่ และการขยายโรงงานจะมีอัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด แต่ต้องอยู่ในปัจจัยที่การเมืองปกติไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ของ คสช. รวมทั้งการเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ล้วนส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอีกครั้ง โดยคาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนโรงงานประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้น 5-10% ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2556 ในขณะที่จำนวนโรงงานขยายกิจการเพิ่ม 10 % ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2556
ขณะที่ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (ATSME) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อหารือแนวทางสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ได้นำคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เสนอแนวคิดที่รวบรวมจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ 3 ประเด็น คือ 1.การระดมสมองเพื่อนำเสนอมาตรการในการสนับสนุนเอสเอ็มอี เสนอโครงการเร่งด่วนที่ชื่อว่า SMEs Live Strong เพื่อสร้างความเข้มแข็งทุกด้านที่จำเป็น 2.การจัดตั้งสภาเอสเอ็มอี เพื่อเป็นตัวแทนของเอสเอ็มอีรายย่อยในการประสานนโยบายกับภาครัฐ จากปัจจุบันมีรูปแบบเป็นสมาคมฯ และ 3.การปรับปรุงหลักสูตรโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ของ กสอ. ที่ใช้มากว่า 30 ปี ให้ทันสมัยกับยุคดิจิตอลไอที และให้มีการเชื่อมโยงธุรกิจสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่หลังจบโครงการ
ในเบื้องต้นมอบให้ กสอ. ประสานกับ สสว. พิจารณาว่าเรื่องใดดำเนินการได้เลย ขอให้เร่งดำเนินการและให้ไปประชุมร่วมกับสมาคมฯ วันที่ 26 มิถุนายนนี้ สำหรับมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ตรงกันก็จะเร่งดำเนินการ โดยแบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจนว่า หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพ
ส่วนการจัดตั้งสภาเอสเอ็มอี เพื่อเป็นองค์กรเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ขอให้เชิญเครือข่ายจากเอสเอ็มอีทุกกลุ่มเข้าร่วมหารือ โดยจะเร่งสรุปข้อเสนอต่างๆ เพื่อหารือเชิงนโยบายต่อ คสช.ต่อไป
กรอ.ฟุ้งครึ่งปีหลังตั้งโรงงานเพิ่ม
บ้านเมือง : นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารจัดการประเทศตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.-18 มิ.ย.57 (26 วัน) พบว่า มีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ 377 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 19.68% เงินลงทุน 47,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 143.67% มีการจ้างงาน 15,962 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 137.64% เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกับนโยบายที่ทาง คสช. กำลังเร่งดำเนินการ ซึ่งส่งผลให้ยอดเปิดโรงงานใหม่ตั้งแต่ ม.ค.-18 มิ.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,847 แห่ง ลดลง 7% เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 155,157 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นถึง 5.53% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน
"จะเห็นได้ว่าในช่วง 28 วันที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งจำนวนโรงงาน เงินลงทุน แรงงาน ล้วนเพิ่มขึ้นกว่าทุกๆ เดือนในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจาก นโยบายที่ทาง คสช.ได้มอบหมายให้กับกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมา" นายณัฐพล กล่าว
ขณะที่การขยายกิจการตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.-18 มิ.ย.57 (26 วัน) อยู่ที่ 76 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 55 % เงินลงทุน 31,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 42% มีการจ้างงาน 10,616 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ถึง 166.67% ซึ่งส่งผลให้ยอดยอดขยายกิจการโรงงาน ตั้งแต่ ม.ค.-18 มิ.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 284 แห่ง ลดลง 5.02 % เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 68,538 ล้าน บาท ลดลง 7.16% นายณัฐพล กล่าวว่า คาดการณ์ว่าในเดือนมิถุนายนเดือนเดียวมูลค่าเงินลงทุนของโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่จะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ขณะที่ขยายกิจการอยู่ที่ 35,000-40,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเงินลงทุนทั้งโรงงานเปิดใหม่และขยายกิจการจะอยู่ที่ 90,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.57 ถึง 116 % โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง คือ อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์
ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังการตั้งโรงงานใหม่และการขยายโรงงานจะมีอัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด แต่ต้องอยู่ในปัจจัยที่การเมืองปกติไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ของ คสช. รวมทั้งการเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ล้วนส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอีกครั้ง โดยคาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนโรงงานประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้น 5-10% ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2556 ในขณะที่จำนวนโรงงานขยายกิจการเพิ่ม 10% ส่วนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2556