WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DIP‘กอน.’อนุมัติ 2 พันล้าน ผุดแหล่งน้ำ/ให้ชาวไร่อ้อยกู้ช่วงแล้ง

    แนวหน้า : นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยว่า กองทุนฯได้อนุมัติเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้ง 500 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก การขุดเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งการวารระบบน้ำหยด เป็นต้นรวมทั้งปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 แสนบาท

      ในวงเงินกู้ดังกล่าวยังสนับสนุนการซื้อรถตัดอ้อย จำนวน 1,500 ล้านบาท จำกัด เฉลี่ยรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยหากเป็นรถตัดอ้อยที่ผลิตภายในประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 5 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นรถตัดอ้อยจากต่างประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 10 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 150 ราย

      “หากชาวไร่อ้อยสนใจเงินกู้รับมือภัยแล้งเกินเป้าหมาย 500 ล้านบาท ก็จะขยายเพิ่มได้อีกประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินกู้นี้จะมีอัตราดอกเบี้ยเพียง 2% ระยะเวลาผ่อนชำระ 6 ปี โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ผู้แทนชาวไร่อ้อย ผู้แทนโรงงานน้ำตาลทราย และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นต้น” นายอาทิตย์ กล่าว

    ส่วนกรณีที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กองทุนฯ กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 ก.ค. 2558 เป็นต้นไป

    นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการกอน. กล่าวว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลก คาดว่าราคาอ้อยจะยังคงตกต่ำต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี เพราะสต๊อกน้ำตาลในตลาดโลกยังมีปริมาณมาก และตลาดโลมีความต้องการน้ำตาล 168 ล้านตัน/ปี แต่ผลิตได้ 176 ล้านตัน/ปี เกินความต้องการเล็กน้อย

แห่เบิกงบช่วยภัยแล้งกว่า 987 ล้าน

      แนวหน้า : นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ กรณีปัญหาภัยแล้งปีงบประมาณ 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 พฤษภาคม 2558 มีส่วนราชการยื่นขอเบิกมาแล้วรวม 14 เรื่อง คิดเป็นวงเงิน 987.35 ล้านบาท โดยมีการอนุมัติไปแล้ว 949.33 ล้านบาท ทั้งนี้การเบิกจ่ายเงินทดรองช่วยภัยแล้งคาดว่าจะเป็นการเบิกจ่ายสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อเปรียบเทียบจากปีงบประมาณ 2557 ทั้งปีเบิกจ่ายรวม 31 เรื่อง วงเงิน 494.75 ล้านบาท หรือสูงกว่าเท่าตัว โครงการส่วนใหญ่ เป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อถังน้ำ การช่วยเหลือภาคการเกษตร

      “ยังประมาณการไม่ได้ว่า การเบิกจ่ายจะเป็นเท่าไหร่ เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าภัยแล้งจะไปสิ้นสุดตอนไหน ก็น่าจะมีการทยอยขอเงินทดรองจ่ายเข้ามาอีกแต่จากตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น เพราะเริ่มมีฝนมาแล้ว การเบิกจ่ายก็น่าจะชะลอลงตามไปด้วย”นายมนัส กล่าว

      ทั้งนี้ การให้เงินทดรองจ่ายจะเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการระดับอำเภอ ที่จะดูว่าพื้นที่ใดบ้างที่เป็นปัญหา จากนั้นจึงจะมีการประชุมเพื่อขอความช่วยเหลือระดับจังหวัด ถ้าจำเป็นเร่งด่วนจริงก็จะเสนอเรื่องของบทดรองไปที่กรมบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เพื่อกลั่นกรองเรื่องมาให้กรมบัญชีกลางพิจารณาเงินช่วยเหลือ โดยในแต่ละปีงบประมาณจะมีเงินทดรองจ่ายกรณีฉุกเฉินได้ประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท

คลังแจงช่วยเกษตรกรอ่วมภัยแล้ง

     บ้านเมือง : นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวชี้แจงกระทู้ถามของ นายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ สมาชิก สนช. ที่ถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ในการช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะในภาวะภัยแล้งขณะนี้ พร้อมเสนอให้ปรับปรุงบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ให้เกษตรกรรูดซื้อเฉพาะปัจจัยการผลิตได้ในวงเงิน 5 หมื่นบาทนั้น ให้สามารถใช้เป็นเงินสดได้ด้วย ว่า มาตรการการช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งในปีนี้ได้ให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินไปเตรียมโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา ทั้งการเร่งให้หน่วยงานในทุกกระทรวงทบวงกรมได้เร่งการใช้จ่ายเงินตามโครงการงบประมาณรายจ่ายปี 2558 เพื่อให้ลงถึงพื้นที่และตำบลหมู่บ้านต่างๆ ให้เร็ว งบฉุกเฉิน ทั้งยังมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมอีก 10 แห่ง เช่นการใช้จ่ายเงินจากกองทุนหมู่บ้าน

      สำหรับ กรณีบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่เสนอให้เบิกเป็นเงินสดมาใช้มีความเป็นไปได้แต่ต้องช่วงเวลาชั่วคราว เนื่องจากการควบคุมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องยาก ดังนั้นหากขัดสนจริงโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลหน้าแล้งนี้ อาจให้เบิกเป็นเงินสดเพียง 2 หมื่นบาทจากวงเงิน 5 หมื่นบาท

    ด้านนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตร กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมความพร้อมแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยจะแก้ปัญหาเรียงตามลำดับความเดือดร้อน เช่นเบื้องต้นอาจเป็นเรื่องหนี้สิน ก็จะเป็นการพักชำระหนี้ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ และความช่วยเหลือเกษตรกรในฤดูกาลใหม่ หากกรณีไม่มีฝนจริงๆ ก็จะให้เกษตรกรทำโครงการที่ไม่อาศัยน้ำหรือใช้น้ำน้อยที่สุด เช่น การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไก่ โดยเตรียมพร้อมทั้งเรื่องเงิน เมล็ดพันธุ์ การส่งเสริมการตลาด การให้สินเชื่อเกษตรกรเพิ่มเติม โดยขณะนี้แต่ละจังหวัดกำลังวางแผนงานก่อนที่ส่งให้ส่วนกลางพิจารณา เพื่อกำกับควบคุมแผนงานต่อไป

    นายกสานติ์ ธนาวณิช ผู้อำนวยการสำนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลำพูน เปิดเผยว่า ชาวสวนได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยคาดว่าปีนี้จะมีผลผลิตลำไยในจังหวัดลำพูนประมาณ 90,000 ตัน จากเดิมประมาณ 200,000 ตัน ส่วนหนึ่งคาดว่าน่าจะมาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและวงจรการปลูกลำไย ซึ่งลำไยที่ออกส่วนใหญ่จะนำไปแปรรูปร้อยละ 60 ชาวสวนมีการแก้ปัญหาด้วยการปรับการผลิตเพื่อให้ผลผลิตออกช่วงเดือนกรกฎาคมและธันวาคม เพื่อช่วยให้ราคาสูงขึ้น หลังจากดำเนินมาตรการนี้แล้วจะไม่ส่งผลต่อราคาลำไยปีนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!