WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSจกรมณฑ ผาสกวนชก.อุตฯเร่งแก้ปัญหายางตกต่ำ เดินหน้าเพิ่มสัดส่วนแปรรูป 25%

    แนวหน้า : นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านแก่ง จำกัด และชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี จำกัด ซึ่งมีสมาชิกเครือข่าย 25 สหกรณ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเข้าพบ ว่า แนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ หลังจากที่เกิดปัญหาราคายากพาราตกต่ำในปีที่ผ่านมา ทางรัฐบาลก็ได้เร่งแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในการแก้ปัญหาระยะยาว กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศเพิ่มสัดส่วนการนำยางพารามาแปรรูปจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 12% หรือใช้ยางพารา 5.6 แสนตัน/ปี ให้เพิ่มเป็น 25% ใช้ยางพารากว่า 1 ล้านตัน/ปี ภายในสิ้นปี 2559 โดยได้เดินทางไปพบปะกับโรงงานผลิตล้อยางรถยนต์ในประเทศจีน 10 ราย เพื่อดึงดูดให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตล้อยางในไทย

     โดยผลจากการพบปะกับผู้ประกอบการจีน ได้มีโรงงานล้อยางจากจีนได้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว 8 ราย มีความต้องการใช้ยางพาราไม่ต่ำกว่าโรงงานละ 2 แสนตันต่อปี รวมแล้วจะใช้ยางพาราเพิ่มกว่า 1 ล้านตัน/ปี ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุมัติให้การส่งเสริมฯไปแล้ว 3 ราย มียอดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท โดยในขณะนี้ไทยส่งออกล้อยางรถยนต์ประมาณปีละ 1.2 แสนล้านบาท ถ้าเพิ่มขึ้นอีก 8 โรง ก็จะเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาในประเทศอีกมหาศาล

    นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เร่งดำเนินการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมยางครบวงจร ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ใช้เงินลงทุน 700 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ บริเวณ ถนนกาญจนวนิช ใกล้กับด่านสะเดา จ.สงขลา มีเนื้อที่รวม 1.8 พันไร่ ให้ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จ.สงขลา ซึ่งพื้นที่นี้สามารถเชื่อมต่อกับนิคมอุตสาหกรรมยางฯได้ ซึ่งสามารถต่อยอดในการดำเนินธุรกิจยาง และอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์

      นายเดชา กุลชาติ เลขานุการคณะกรรมการ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านแก่ง จำกัด กล่าวว่า โรงงานแปรรูปยางพาราของสหกรณ์บ้านแก่ง จำกัด จัดอยู่ในประเภทโรงงานลำดับที่ 52(3) เป็นโรงงานขั้นกลาง ซึ่งผลิตยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ หรือการทำยางให้เป็นรูปแบบอื่นใดที่คล้ายคลึงกันจากยางธรรมชาติ  โดยโรงงานในประเภทนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 923 ราย โดยเป็นสหกรณ์ 447 ราย

     สำหรับ ภาพรวมโรงงานแปรรูปยางพาราขั้นต้นที่ได้รับการอนุญาตประกอบกิจการทั้งประเทศ มีจำนวน 156 ราย และโรงงานแปรรูปยางพาราขั้นปลายที่ทำผลิตภัณฑ์ยางจากธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ มีจำนวน 699 ราย ส่วนโรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 553 ราย ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อย เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตยางดิบอันดับหนึ่งของโลก การตั้งโรงงานจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางพาราเพิ่มขึ้นอีก

     นายอนันต์ จันทมิตร ประธานชุมนุมสวนยางจันทบุรี กล่าวว่า ทางชาวสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านแก่งได้รับอนุมัติใบรง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ขยายกำลังการผลิตในการแปรรูปยางพาราจากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิต53แรงม้าเพิ่มเป็น 5300แรงม้า ทั้งนี้สหกรณ์ขอรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ปัจจุบันราคายางแผ่นชั้น 3 ยังมีราคาไม่เป็นที่น่าพอใจนักเพราะอยู่ในระดับที่53บาทต่อกิโลกรัมส่วนยางแผ่นรมควันอยุ่ที่ 63บาทต่อกิโลกรัม และทั้งนี้ผู้ปลูกยางยังขาดแคลนแรงงานคนกรีดยาง

    ด้านนายลู โช ประธาน บริษัท อุตสาหกรรมยางเฮิงเฟิงหยวนฮ่องกง จำกัด ของจังหวัดซานตง ประเทศจีน กล่าวว่า ได้ลงนามในสัญญากับสหกรณ์สวนยางบ้านแก่ง ในการรับซื้อผลิตภัณฑ์ยางคอมพาวด์ทั้งหมดที่ผลิตได้  เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่ดีที่สุดในโลกซึ่งจีนนำเข้ายางพาราจากไทยคิดเป็น 50%ของการนำเข้าทั้งหมด โดยนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตล้อรถยนต์ที่มีคุณภาพดีแลมีความปลอดภัย ขณะเดียวกันการตั้งโรงงานในพื้นที่ยังทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย

อุตฯเร่งแก้ปัญหายางพาราตกต่ำ ดึงโรงงานจีนเข้าลงทุนไทย

     แนวหน้า : อุตฯเร่งแก้ปัญหายางพาราตกต่ำ l ดึงโรงงานจีนเข้าลงทุนไทย l เดินหน้าเพิ่มสัดส่วนแปรรูป

   เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2558 กลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านแก่ง จำกัด และชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี จำกัด ซึ่งมีสมาชิกเครือข่าย 25 สหกรณ์ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเข้าพบ นายจักรมณฑ์ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม โดยหารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

   รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากที่เกิดปัญหาราคายางตกต่ำในปีที่ผ่านมาทางรัฐบาลก็ได้เร่งแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในการแก้ปัญหาระยะยาวกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศเพิ่มสัดส่วนการนำยางพารามาแปรรูปจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 12% หรือใช้ยางพารา 5.6 แสนตัน/ปี ให้เพิ่มเป็น 25% ใช้ยางพารากว่า 1 ล้านตัน/ปี ภายในสิ้นปี 2559 โดยได้เดินทางไปพบปะกับโรงงานผลิตล้อยางรถยนต์ในประเทศจีน 10 ราย เพื่อดึงดูดให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตล้อยางในไทย

    โดยผลจากการพบปะกับผู้ประกอบการจีน ได้มีโรงงานล้อยางจากจีนได้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว 8 ราย มีความต้องการใช้ยางพาราไม่ต่ำกว่าโรงงานละ 2 แสนตัน/ปี รวมแล้วจะใช้ยางพาราเพิ่มกว่า 1 ล้านตัน/ปี ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุมัติให้การส่งเสริมฯไปแล้ว 3 ราย มียอดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท โดยในขณะนี้ไทยส่งออกล้อยางรถยนต์ประมาณปีละ 1.2 แสนล้านบาท ถ้าเพิ่มขึ้นอีก 8 โรง ก็จะเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาในประเทศอีกมหาศาล

   นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)เร่งดำเนินการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมยางครบวงจร ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาใช้เงินลงทุน 700 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติให้ใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ บริเวณถนนกาญจนวนิชใกล้กับด่านสะเดา จ.สงขลา มีเนื้อที่รวม 1.8 พันไร่ ให้ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จ.สงขลา ซึ่งพื้นที่นี้สามารถเชื่อมต่อกับนิคมอุตสาหกรรมยางฯได้ ซึ่งสามารถต่อยอดในการดำเนินธุรกิจยาง และอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์

   นายเดชา กุลชาติ เลขานุการคณะกรรมการสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านแก่ง จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมโรงงานแปรรูปยางพาราขั้นต้นที่ได้รับการอนุญาตประกอบกิจการทั้งประเทศ มีจำนวน 156 ราย และโรงงานแปรรูปยางพาราขั้นปลายที่ทำผลิตภัณฑ์ยางจากธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ มีจำนวน 699 ราย ส่วนโรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 553 ราย ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อยเนื่องจากประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตยางดิบอันดับหนึ่งของโลก การตั้งโรงงานจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางพาราเพิ่มขึ้นอีก

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!