WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

IEATlogoกนอ.ดัน 88 โรงงานพื้นที่สีเขียวส่งสัญญาณอุตสาหกรรมโต 3%

     บ้านเมือง : กนอ. ชู 88 โรงงานรับธงขาว-ดาวเขียว 26 โรงงาน รับธงขาว-ดาวทอง ตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่ สศอ.ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทยปีนี้ ยังคงอัตราการเติบโตในเกณฑ์ 2-3% เป็นผลจากปัจจัยบวกยังมีแรงหนุนดี แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิด

   นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้จัดพิธีมอบรางวัลธงธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ประจำปี 2557 (ธงขาวดาวเขียว: Green Star Award) และพิธีมอบธงธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยยอดเยี่ยม (ธงขาว-ดาวทอง:Gold Star Award) ณ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

     โดยในปี 2557 มีโรงงานที่ผ่านเกณฑ์เข้ารับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ธงขาว-ดาวเขียว) จำนวน 88 โรงงาน และโรงงานที่ผ่านเกณฑ์เข้ารับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยต่อเนื่อง 6 ปี (ธงขาว-ดาวทอง) จำนวน 26 โรงงาน โดยโรงงานทั้งหมดมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามแผนลดและขจัดมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง โดยนำผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ตามการประเมินจากคณะทำงานจากหลายภาคส่วนแบบพหุภาคี ได้แก่ กนอ. ผู้แทนชุมชน ผู้แทนส่วนราชการในพื้นที่ และสื่อมวลชนท้องถิ่น

   "กนอ.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ในการมุ่งบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน ซึ่งโรงงานทั้ง 88 แห่งเป็นแบบอย่างในการนำระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน มีความโปร่งใส และเป็นยุคใหม่ สร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสังคม ตลอดจนสร้างการยอมรับจากทุกภาคส่วนในระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนโดยรอบ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่คู่กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป" นายวีรพงศ์ กล่าว

    ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน กนอ.ได้จัดกิจกรรม กนอ.ร่วมใจผลิตอุปกรณ์ช่วยพ่นยาโรคหืด (Thai kid Spacer) โดยผู้บริหาร กนอ. ผู้ประกอบการในนิคมฯ และพนักงานจิตอาสา ร่วมกันผลิตอุปกรณ์ช่วยพ่นยาขยายหลอดลมแบบสูดดม ทั้งหมดจำนวน 1,000 ชุด และมอบให้กับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลรอบนิคมฯ ในพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลมาบตาพุด โรงพยาบาลบ้านฉาง และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับมูลนิธินิคมอุตสาหกรรมไทย สถาบันพลาสติก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการ "กนอ.ร่วมใจ มอบอุปกรณ์การแพทย์" ผลิตอุปกรณ์ช่วยพ่นยาขยายหลอดลมแบบสูดดม ผลิตพลาสติกขึ้นใช้เองภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืด ทั้งนี้เป้าหมายโครงการฯ จะผลิตอุปกรณ์ดังกล่าว จำนวน 3,000 ชุด ซึ่ง กนอ.ได้ร่วมพลังจิตอาสาผลิตและส่งมอบให้กับโรงพยาบาลฯ แล้วจำนวน 1,000 ชุด การดำเนินกิจกรรมในวันนี้เป็นครั้งที่ 2 ผลิตอีกจำนวน 1,000 ชุด และครั้งที่ 3 จะไปรวมพลังจิตอาสาที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกจำนวน 1,000 ชุด ภายในเดือนสิงหาคมนี้

    โครงการ "กนอ.ร่วมใจ มอบอุปกรณ์การแพทย์" นับเป็นหนึ่งในแผนงานด้านการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของ กนอ. ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ต้นทุนต่ำอยู่ประมาณชุดละ 150 บาท มีคุณภาพตามมาตรฐาน ขึ้นใช้เองภายในประเทศ ลดการนำเข้าอุปกรณ์พ่นยาจากต่างประเทศ โดยอุปกรณ์ช่วยพ่นยาโรคหืดนี้ มีขั้นตอนการใช้งานง่าย และสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่จะสามารถนำติดตัวไปใช้เองได้

   นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจ จับตาอุตสาหกรรมไทยโต 3% อุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากที่ในปี 2558 ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาในหลายๆ ด้านทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ เช่น ปัญหาการส่งออกที่หดตัว ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะจีน และราคาน้ำมันที่ผันผวน เป็นต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของภาคอุตสาหกรรมในปี 2558 ยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2 ถึง 3 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ การลงทุนที่ขยายตัวสูงขึ้นจากการเร่งรัดอนุมัติส่งเสริมการลงทุน การเร่งการใช้จ่ายและดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ การเริ่มกลับมาขยายตัวของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในตลาดต่างประเทศ และการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ ลดแรงกดดันด้านราคาและเพิ่มอำนาจซื้อ

     สศอ.ยังคงประมาณการการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมตามที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี ล่าสุดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกอยู่ที่อัตราประมาณ 2.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังอยู่ในกรอบที่ประมาณการไว้ และคาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3-4% โดยการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเกิดจากการขยายตัวในอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์แก้ว ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง และเซรามิค เหล็ก และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ มีดังนี้

   1.อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 0.86 ถึง 1.61 ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์บ้านเมืองที่สงบ ทำให้มีการบริโภคและท่องเที่ยวมากขึ้น แต่มีปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ การผลิตกุ้ง ว่าจะสามารถฟื้นตัวจากโรคกุ้งตายด่วนได้หรือไม่ และการพิจารณาปัญหาแรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงจะส่งผลต่อการระงับ/ลดระดับการค้าของไทยจาก EU และสหรัฐ

    2.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.48 ถึง 2.34 จากตลาดส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการ Allocate การผลิตจากบริษัทแม่ แต่สำหรับตลาดภายในประเทศ อาจเติบโตจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย

   3.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.67 ถึง 3.52 จากแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ประมาณร้อยละ 3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับตลาดในประเทศ ค่อนข้างทรงตัวตามกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก

   4.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมี คาดว่าขยายตัวได้ 1.39-3.64% จากความชัดเจนของการลงทุนในภาครัฐ และผลการเร่งรัดอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ซึ่งคาดว่า จะเริ่มมีการดำเนินโครงการในปี 2558 5.อุตสาหกรรมปิโตรเลียมคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.71 ถึง 3.18 จากต้นทุนทางด้านพลังงานที่ลดต่ำลงทำให้มีความต้องการใช้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนมีคาดว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้น

   6.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แก้ว ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง และเซรามิกคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 3.06 ถึง 4.67 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานชายแดน จะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเซรามิก ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง ขยายตัวไปในทิศทางเดียวกัน

   7.อุตสาหกรรมเหล็กคาดว่าขยายตัวได้ประมาณ 4.37-7.26% จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ 8.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคาดว่าขยายตัวได้ 1.12-2.46% จากการขยายตัวของความต้องการสินค้าและวัตถุดิบของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดภายในประเทศขยายตัวตามชุดกีฬาที่ผลิตจากผ้าไนลอนเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่ต้องระวัง คือการที่จีนและไต้หวันเข้าไปลงทุนสิ่งทอต้นน้ำในเวียดนาม คาดว่าเมื่อมีการผลิตเต็มรูปแบบ ความต้องการเส้นด้าย และผ้าผืนจากไทยจะลดลง เนื่องจากคาดว่าราคาสินค้าจากเวียดนามจะถูกกว่าไทยจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า รวมทั้งยังได้สิทธิ GSP จาก EU อย่างไรก็ตามยังมีด้านปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2558 ที่ต้องเฝ้าระมัดระวัง ได้แก่

    ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนในการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 เนื่องจากแม้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปจะเริ่มพื้นตัว แต่เศรษฐกิจของจีน และรัสเซีย ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำและเศรษฐกิจอาเซียนที่ขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปี 2557 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ไทยและประเทศคู่ค้าต่างๆ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และจีนในปีช่วงครึ่งแรกของปี 2558 เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจจากเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ซึ่งการส่งออกของไทยจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นกับผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ ว่าเห็นผลมากน้อยแค่ไหน

    โดยอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐของไทยมีในปี 2558 มีทิศทางที่ผันผวน (แต่มีแนวโน้มอ่อนค่าในเดือนพฤษภาคม) แต่คงระดับอยู่ที่ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่หลายๆ ประเทศในอาเซียน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ไทยส่งออกสินค้าได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 อัตราแลกเปลี่ยนของไทยเริ่มอ่อนค่ามาอยู่ในระดับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในครึ่งปีหลังยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม จะทำให้สถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทยในปี 2558 ดีขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ทิศทางราคาน้ำมันที่เริ่มผันผวนในช่วงต้นปี 2558 หลังจากที่ปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2557 การเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของครัวเรือน ดัชนีราคาผู้บริโภค ของไทยและประเทศคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาเงินฝืด และการส่งออกที่หดตัว เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!