WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AMATA Somhataiอมตะ วีเอ็น ทุ่ม 1.6 พันล้านเหรียญผุด 'อมตะซิตี้ฮาลอง'

      บ้านเมือง : บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน)'กลุ่มอมตะ'ผนึกกลุ่มต่วนเจา ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของเวียดนาม ปั้นโครงการ ‘อมตะซิตี้ฮาลอง’เมืองอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ บนพื้นที่ประมาณ 36,000 ไร่ ในจังหวัดกว๋างนิง ประเทศเวียดนาม เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม สถาบันทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา และธุรกิจโลจิสติกส์

     นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มอมตะได้ลงนามข้อตกลงการร่วมทุนกับกลุ่มต่วนเจา (Tuan Chau Group) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ท่าเรือ และแหล่งท่องเที่ยว รายใหญ่ของเวียดนามทางภาคเหนือ โดยปัจจุบันได้มีการก่อสร้างและพัฒนาธุรกิจต่างๆ บนเกาะต่วนเจา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองฮาลอง การลงนามในครั้งนี้เพื่อการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาโครงการ "อมตะซิตี้ฮาลอง" ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัย โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่เป็นสวนอุตสาหกรรมไฮเทค สถาบันทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา และนิทรรศการ รวมถึงธุรกิจ โจลิสติกส์ บนพื้นที่ 5,789 เฮกตาร์ หรือประมาณ 36,000 ไร่ ใช้เงินลงทุน 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

     "การร่วมทุนพัฒนาโครงการ'อมตะซิตี้ฮาลอง' ในครั้งนี้ กลุ่มอมตะจะลงทุนในสัดส่วน 70% และกลุ่มต่วนเจา 30% ซึ่งกลุ่มต่วนเจามีศักยภาพในการประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพื้นที่โดยรอบของที่ตั้งโครงการขนาบไปด้วยท่าอากาศยานนานาชาติหลายแห่งและท่าเรือ ซึ่งมีความสะดวกในด้านของระบบโลจิสติกส์ที่เข้มแข็งและเชื่อมต่อไปยังตลาดโลกได้โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน"

     โดยกลุ่มอมตะมองว่าอมตะซิตี้ฮาลองจะทำให้จังหวัดกว๋างนิงเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเวียดนาม และเป็นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในพื้นที่

     นางสมหะทัย กล่าวว่า โครงการ "อมตะซิตี้ฮาลอง" มีขนาดพื้นที่ 5,789 เฮกตาร์ หรือประมาณ 36,000 ไร่ อยู่บริเวณอ่าวฮาลองในเมืองกว๋างเยนและเมืองอองบี จังหวัดกว๋างนิง อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติ Noi Bai รองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี ท่าอากาศยานนานาชาติ Cat Bi รองรับผู้โดยสารได้ 2 ล้านคนต่อปี รองรับสินค้าได้ 20,000 ตันต่อปี ท่าอากาศยานนานาชาติ Van Don รองรับผู้โดยสารได้ 2 ล้านคนต่อปี และรองรับสินค้าได้ 10,000 ต้นต่อปี และท่าเรือน้ำลึก Lach Huyen ซึ่งคาดว่าจะเสร็จแล้วใช้งานได้ไนปี 2016

     ทั้งนี้ ตัวโครงการฯ จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 เขต ได้แก่ 1.พื้นที่เขตอุตสาหกรรม ประมาณ 65% 2.พื้นที่เขตการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ประมาณ 25% และ 3.พื้นที่เขตการขนส่งและพื้นที่แสดงสินค้า ประมาณ 10% โดยจะเริ่มก่อสร้างเฟสที่ 1 ได้ในปี 2016 คาดว่าเมื่อก่อสร้างเรียบร้อยและสามารถดำเนินงานได้ครบสมบูรณ์ทั้งโครงการจะก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งหมด 300,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะสร้างรายได้คิดเป็นมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

    บริษัทคาดจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 3 ปีนี้ โดยจะเสนอขายหุ้นไอพีโอ 139.83 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 0.50 บาท ซึ่ง ล่าช้ากว่าเดิมที่คาดจะเข้าจดทะเบียนไตรมาส 2 แต่บริษัทมีแผนการลงทุนเพิ่มเติม จึงต้องรอทำการอัพเดทข้อมูลให้แล้วเสร็จ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้หุ้นของบริษัทเป็นที่น่าสนใจลงทุนของนักลงทุนมากขึ้น และการเลื่อนการจดทะเบียนไม่กระทบกับการลงทุน เพราะบริษัทได้รับเงินภายในสิ้นปีนี้ และใช้เงินลงทุนช่วงต้นปี 2559

    นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะหาพันธมิตรรายใหม่เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการอมตะซิตี้ฮาลอง ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากับนักลงทุนญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ โดยหวังว่านักลงทุนดังกล่าวจะมาร่วมเพื่อให้บริการลูกค้าของบริษัทที่จะมาซื้อพื้นที่เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว และช่วยให้ความคืบหน้าของโครงการรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทมองว่า ควรเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างออกไปจากที่บริษัทมีอยู่

     "สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทตัดสินใจพัฒนาโครงการนี้ เพราะบริษัทมองว่า 2-3 ปีต่อจากนี้ จะมีบริษัทจากญี่ปุ่นย้ายฐานการลงทุนจากจีนมายังเวียดนามจำนวนมาก หลังจากก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุนในการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เวียดนาม ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่โครงการ พร้อมกันนี้เวียดนาม มีแผนสร้างมอเตอร์เวย์ระหว่างพื้นที่ดังกล่าวกับเมืองฮานอย รวมถึงการยกระดับสนามบินแคทบีให้เป็นสนามบินนานาชาติอีกด้วย" นางสมหะทัย กล่าว

     ส่วนนิคมอุตสาหกรรมอีก 2 แห่งคือที่ลองถั่น เนื้อที่ 3,500 ไร่ ซึ่งดำเนินการมา 20 ปี ขณะที่แห่งที่ 2 คือที่เบียนหัว เนื้อที่ 8,100 ไร่ แต่อยู่ระหว่างขอใบอนุญาตการลงทุน ส่วนแห่งที่ 3 คือ อมตะซิตี้ฮาลอง ดำเนินการได้เร็วกว่าแห่งที่ 2 เพราะเป็นการเทคโอเวอร์นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว เนื้อที่ 4,300 ไร่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!