WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ประเดิมอัดสินเชื่อกระตุ้นตลาดยาง แบงก์ปล่อยลอตแรก 1.3 พันล.

      แนวหน้า : ประเดิมอัดสินเชื่อกระตุ้นตลาดยาง แบงก์ปล่อยลอตแรก 1.3 พันล. พบราคาซื้อแค่ 46 บ.ยังไม่ฟื้น

     นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารโครงการฯได้อนุมัติการชดเชยดอกเบี้ยจำนวน 3,092,572 บาท ให้กับผู้ประกอบการยางที่เข้าร่วมโครงการฯ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา คือ กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2558

     ซึ่งการชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการยางเกิดความมั่นใจต่อการดำเนินโครงการที่จะช่วยเสริมสภาพคล่อง โดยผู้ประกอบการยางบางรายได้นำสินเชื่อไปลงทุนขยายกิจการ ซึ่งจะทำให้มีการรับซื้อยาง และส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

    โดยก่อนหน้านี้ช่วงระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง มีผู้ประกอบการยางขอรับการสนับสนุนสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 48 ราย วงเงินสินเชื่อตามที่คณะกรรมการฯอนุมัติ รวมจำนวน 5,271 ล้านบาท จากนั้น ผู้ประกอบการได้ขอถอนตัว 7 ราย ไม่ขอรับสินเชื่อ 4 ราย และไม่ผ่านเกณฑ์ของธนาคาร1 ราย  ทำให้เหลือผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 36 ราย

   ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยางได้รับสินเชื่อจากโครงการแล้ว 19 ราย คิดเป็นเงิน 1,333 ล้านบาท  ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ทหารไทย และไทยพาณิชย์ มีเหลืออีกจำนวน 19 ราย คิดเป็นวงเงินที่ขอสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1,511 ล้านบาท

    สำหรับ ผู้ประกอบการที่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยในลอตแรกของโครงการมีจำนวน 13 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) สาขาบางกล่ำ 2.บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) สาขาสุราษฎ์ธานี 3.บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) สาขากระบี่  4.บริษัท ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น จำกัด 5.บริษัท ยางทองลาเท็กซ์ จำกัด สาขาระยอง 6.บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด สาขาหาดใหญ่ สงขลา 7.บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด สาขาระยอง 8.บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด สาขาพังงา 9.บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์เปอร์เรชั่น(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด สุราษฎร์ธานี 11.บริษัท ดี.เอส.รับเบอร์แอนด์ลาเท็กซ์ จำกัด จังหวัดระยอง 12.บริษัท ยางวีเอ จำกัด และ 13.บริษัท ถาวรอุตสาหกรรมยางพารา(๑๙๘๒) จำกัด สงขลา

    ทั้งนี้ โครงการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการยางเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน มีกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีวงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 5 ซึ่งผู้กู้ชำระดอกเบี้ย ร้อยละ 2 และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 โดยผู้กู้ต้องชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับจากวันทำสัญญา

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคายางแผ่นดิบ ณ วันที่ 16 เมษายน 2558 อยู่ที่ 46.50 บาทต่อกก.

สินเชื่อยางฯ ล็อตแรก 36 ราย

     บ้านเมือง : นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้อนุมัติการชดเชยดอกเบี้ยจำนวน 3,092,572 บาท ให้กับผู้ประกอบการยางที่เข้าร่วมโครงการฯ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคือ กุมภาพันธ์และมีนาคม 2558 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2558 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง มีผู้ประกอบการยางขอรับการสนับสนุนสินเชื่อรวมทั้งสิ้น48 ราย วงเงินสินเชื่อตามที่คณะกรรมการฯ อนุมัติ รวมจำนวน 5,271 ล้านบาท จากนั้น ผู้ประกอบการได้ขอถอนตัว 7 ราย ไม่ขอรับสินเชื่อ 4 ราย และไม่ผ่านเกณฑ์ของธนาคาร 1 ราย ทำให้เหลือผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 36 ราย

   "ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยางได้รับสินเชื่อจากโครงการแล้ว 19 ราย คิดเป็นเงิน 1,333 ล้านบาท โดยได้รับสินเชื่อครบตามจำนวนที่อนุมัติ 5 ราย และได้รับสินเชื่อไปแล้วบางส่วน 14 ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ทหารไทย และไทยพาณิชย์ มีเหลืออีกจำนวน 19 ราย คิดเป็นวงเงินที่ขอสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1,511 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2558) คณะกรรมการฯ ได้อนุมัติให้มีการชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 13 ราย เป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งการชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการยางเกิดความมั่นใจต่อการดำเนินโครงการที่จะช่วยเสริมสภาพคล่อง โดยผู้ประกอบการยางบางรายได้นำสินเชื่อไปลงทุนขยายกิจการ ซึ่งจะทำให้มีการรับซื้อยางและส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย"นางอรรชกา กล่าว

  อย่างไรก็ตาม โครงการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการยางเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน มีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีวงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 5% ซึ่งผู้กู้ชำระดอกเบี้ย 2% และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% โดยผู้กู้ต้องชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับจากวันทำสัญญา

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!