- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 26 March 2015 23:36
- Hits: 2186
อุตฯเร่งแก้กฎหมายขจัดอุปสรรคลงทุน เฟ้นหาพื้นที่ตั้งนิคมฯชายแดน
แนวหน้า : อุตฯเร่งแก้กฎหมายขจัดอุปสรรคลงทุน เฟ้นหาพื้นที่ตั้งนิคมฯชายแดน ปั้นไทยเป็นฮับกระจายสินค้า
'จักรมณฑ์' แจง สนช. หนุนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เดินหน้าปรับแก้กฎหมาย ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ มั่นใจไทยสามารถขยับขึ้นเป็นศูนย์กลางหรือฮับในการกระจายสินค้าในย่านอาเซียน
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำโดยพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะ ว่า คณะกรรมาธิการ มีความสนใจการดำเนินงานของกระทรวงในหลายด้าน อาทิ แนวทางการผลักดันแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและที่เป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติของกระทรวง แนวทางการส่งเสริมการค้าชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเตรียมความพร้อมและการใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
สำหรับ ประเด็นของการแก้ไขกฎหมายต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันของประเทศทางกระทรวงอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ตลอดจนระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ…อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ…และการเตรียมดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
ส่วนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทางกระทรวงชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการจัดตั้งเขตดังกล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการส่งออก เพราะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการต่างๆ เช่น ค่าแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ยังช่วยทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากไทยไปยังประเทศต่างๆในอาเซียนด้วย โดยในปี 2558 นี้ อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจข้อมูลและพื้นที่เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใน 5 จังหวัดพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และตราด
ส่วนการเตรียมความพร้อมและใช้ประโยชน์จากตลาดที่ใหญ่ขึ้นในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) กระทรวงได้ทำการกำหนดกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการดำเนินการด้านมาตรฐาน รวมทั้งบูรณาการการใช้ข้อมูลสารเคมีและวัตถุอันตรายร่วมกับ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมธุรกิจพลังงาน ขณะเดียวกันได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยที่ประเทศไทยจะพัฒนาระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว” นายจักรมณฑ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในการแก้ไขปัญหากรณีเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนต่างๆ กระทรวงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมผ่าน Hotline สายด่วนรัฐมนตรี www.industry.go.th หรือสายด่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564 หรือที่ www.diw.go.th ได้ โดยในระยะต่อไปจะมีการพัฒนาระบบการกำกับตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้รวดเร็วขึ้น แก้ปัญหาได้ตรงจุด มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายให้มีความรัดกุม เน้นให้ผู้ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมต้องเป็นผู้ชดใช้
'จักรมณฑ์'เผยสนช.หนุนพัฒนาอุตฯ ลุยปรับแก้กม.ตั้งเขตศก.พิเศษ
แนวหน้า : นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำโดย พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมคณะ ว่า คณะกรรมาธิการฯ มีความสนใจการดำเนินงานของกระทรวงในหลายด้าน อาทิ แนวทางการผลักดันแก้ไขกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และที่เป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติของกระทรวงฯ แนวทางการส่งเสริมการค้าชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเตรียมความพร้อมและการใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
สำหรับ ประเด็นของการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันของประเทศทางกระทรวงอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ตลอดจนระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ…อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ….และการเตรียมดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
ส่วนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทางกระทรวงฯชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการจัดตั้งเขตดังกล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการส่งออก เพราะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการต่างๆ เช่น ค่าแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ยังช่วยทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากไทยไปยังประเทศต่างๆในอาเซียนด้วย โดยในปี 2558 นี้ อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจข้อมูลและพื้นที่เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใน 5 จังหวัดพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และจังหวัดตราด
ส่วนการเตรียมความพร้อมและใช้ประโยชน์จากตลาดที่ใหญ่ขึ้นในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียยน กระทรวงฯได้กำหนดกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการดำเนินการด้านมาตรฐาน รวมทั้งบูรณาการการใช้ข้อมูลสารเคมีและวัตถุอันตรายร่วมกับ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมธุรกิจพลังงาน ขณะเดียวกันได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยที่ประเทศไทยจะพัฒนาระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว” นายจักรมณฑ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในการแก้ไขปัญหากรณีเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนต่างๆ กระทรวงฯ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมผ่าน Hotline สายด่วนรัฐมนตรี www.industry.go.th หรือสายด่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564 หรือที่ www.diw.go.th ได้ โดยในระยะต่อไปจะมีการพัฒนาระบบการกำกับตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้รวดเร็วขึ้น แก้ปัญหาได้ตรงจุด มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายให้มีความรัดกุม เน้นให้ผู้ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมต้องเป็นผู้ชดใช้