WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กนอ.-เอกชนลงนามเพื่อศึกษา ตั้งรง.พลาสติกพื้นที่ศก.พิเศษ

      แนวหน้า : นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการลงนามร่วมมือกับ 3 หน่วยงานได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล (PTTGC) กลุ่ม อุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมพลาสติก ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ว่า  จะเป็นการพัฒนาพื้นที่รองรับดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันการส่งออกสินค้าชายแดนให้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่จะนำมาจัดตั้งนิคมฯรองรับคลัสเตอร์พลาสติกดังกล่าว

    แนวคิดคือแทนที่เราจะขนสินค้าสำเร็จรูปไปขายเพื่อนบ้านตามชายแดนที่ขณะนี้มีความต้องการสูงมากในสินค้าพลาสติกพื้นฐานเช่น ถุง ถัง กะละมัง หวี เหล่านี้ก็คิดว่าน่าจะไปช่วยให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียงใช้แรงงานเพื่อนบ้านและกระจายขายไปลดต้นทุนขนส่งได้มากนายจักรมณฑ์กล่าว

     นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า พื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในเบื้องต้นที่มองไว้คือ 1,000-2,000 ไร่ มองพื้นที่ไว้ 2 แห่งคือในเขตเศรษฐกิจพิเศษอ.แม่สอด จ.ตาก และจ.สระแก้ว แต่เบื้องต้นคงเป็นอ.แม่สอดก่อนคาดว่าจะใช้เงินพัฒนาระบบสาธารณูปโภค 1,000-2,000 ล้านบาทจะก่อให้เกิดการลงทุนเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท

ลุยตั้งเขตศก.พิเศษ16 มี.ค. กนอ.ปั้นนิคมฯพลาสติกนำร่องรับเออีซี

   ไทยโพสต์ : พระราม 6 * จักรมณฑ์ระบุรัฐบาลหาข้อสรุปเลือกพื้นที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 16 มี.ค.2558 นี้ ด้านอุตสาหกรรมนำร่องปั้นคลัสเตอร์พลาสติก เล็งใช้พื้นที่จ.ตาก และ สระแก้ว ชี้ช่วยเพิ่มการส่งออก และรองรับเออีซี คาดใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เริ่มเปิดดำเนินการปี 2560

   นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 มี.ค.2558 นี้ คณะ กรรมการนโยบายเขตเศรษฐ กิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมน ตรี เป็นประธาน จะมีการประชุมกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน จากเบื้องต้นที่กำหนดไว้แบบ ครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ 5 แห่งนำร่อง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อ.แม่สอด จ.ตาก, มุกดาหาร, สระแก้ว, สงขลา และ ตราด

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) พลาสติก ในเขตพัฒนาเขตเศรษฐ กิจพิเศษ ระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ พีทีทีจีซี, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสถาบันพลาสติก เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาและสนับสนุนการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมพลาสติก ในพื้นที่เขตพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ และรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

      "การจัดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์พลาสติก จะช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกพลาสติกได้เร็วขึ้น และรองรับความต้อง การใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าพลาสติก ของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนการขนส่งลง นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาโครงการประมาณ 1 ปี ซึ่งในปี 2558 นี้ จะจัดทำพิมพ์ เขียวกำหนดผังที่ตั้งคลัสเตอร์พลาสติกในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ โดยเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ จ.ตาก และสระแก้ว คาดว่าในปี 2559 จะเริ่มพัฒนาโครงการ และเริ่มเปิดดำเนินการได้ในปี 2560 ต่อไป

    ทั้งนี้ หากรัฐบาลกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้แล้ว จะต้องมีการจัดตั้งนิคมอุตสาห กรรมขึ้นมา แต่หากไม่มีเอกชนเข้าไปลงทุนตั้งนิคมฯ ทาง กนอ. จะรับหน้าที่ลงไปจัดตั้งนิคมฯ เอง ส่วนการใช้เงินพัฒนาพื้นที่ตั้งคลัสเตอร์พลาสติกนั้น คาดว่าจะใช้เงินพัฒนาไร่ละ 1 ล้านบาท โดยหากใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ จะต้องใช้เงินพัฒนาพื้นที่และสาธารณูปโภค 1,000 ล้านบาท และเอกชนลงทุนด้านการผลิตประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

   "คลัสเตอร์พลาสติก นับเป็นตัวอย่างเพื่อนำร่องให้คลัสเตอร์อุตสาหกรรมประเภทอื่น ไปจัดตั้งในพื้นที่เขตเศรษฐ กิจพิเศษแห่งอื่นๆ ต่อไป โดยแต่ละแห่งอาจมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับความเหมาะสมของเศรษฐกิจและพื้นที่ด้วย" นายวีรพงศ์ กล่าว

    นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี กล่าวว่า พีทีทีจีซีจะทำหน้าที่จัดเตรียมคลังสินค้า และป้อนเม็ดพลาสติกอย่างสม่ำเสมอให้กับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมพลาสติก ส่วนรายละเอียดที่ชัดเจนคงต้องหารือร่วมกันต่อไป.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!