WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กนอ.ตั้งเป้าปี 58 ผุดอีก 5 นิคมฯ เจาะอีสาน-เหนือ-ใต้

      แนวหน้า :  นายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาคา คลีนเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยภายหลังการลงนามจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหนองคาย กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่า นิคมฯหนองคายนี้ เป็นการร่วมลงทุนระหว่างผู้ลงทุนจากจีน 70% และฝ่ายไทย 30% โดยแบ่งโครงการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ คาดว่า จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 3 หมื่นล้านบาท มีเนื้อที่รวม 3 หมื่นไร่ โดยในระยะที่ 1 มีเนื้อที่ 2,960 ไร่ ใช้งบลงทุนกว่า 6 พันล้านบาท ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ คาดว่าจะรองรับโรงงานได้ประมาณ 50-60 โรง ซึ่งล่าสุดได้มีโรงงานจากจีน และเกาหลีใต้กว่า10 ราย  ได้เข้ามาแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน เช่น โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ รถบัสขนาดใหญ่ โรงงานผลิตแผงโซลาร์เซล รงงานแปรรูปยางพารา และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2563

     ส่วนในระยะที่ 2 ได้เตรียมพื้นที่ไว้ 3 พันไร่ ใช้งบลงทุนประมาณ 6 พันล้านบาท และระยะที่ 3 มีพื้นที่ 2.4 หมื่นไร่ ใช้งบลงทุน 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งในเฟสที่ 2 และ 3 นี้จะเริ่มพัฒนาได้ในปี 2559 ซึ่งในระยะที่ 2 และ 3 นี้ จะเน้นในการก่อสร้างเป็นนิคมอุตสาหกรรมบริการ เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ คลังสินค้า ธุรกิจโรงพยาบาล การท่องเที่ยวเป็นต้น และธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งในอนาคตจะขยายรวมไปถึงการสร้างเมืองใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในบริเวณนี้

     นอกจากนี้ นิคมฯหนองคาย ยังได้เตรียมความพร้อมด้านแรงงาน  เพื่อรองรับความต้องการแรงงานให้กับโรงงานต่างๆ ที่เข้ามาลงทุน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับโรงงานเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คนในหนองคายและพื้นที่โดยรอบมีงานทำที่มั่นคง

     ส่วนความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานนั้น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เข้ามาตั้งสถานีย่อย รองรับการใช้ไฟฟ้าภายในนิคม รวมทั้งยังอยู่ใกล้กับโรงงานเผาขยะ และผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการกำจัดขยะอุตสาหกรรมได้ในระยะยาว ส่วนระบบน้ำนั้น นิคมฯได้ต่อท่อเพื่อดึงน้ำจากแม่น้ำโขง เข้ามาสู่ระบบประปาป้อนให้กับโรงงานภายในนิคมฯ จึงสร้างความมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า และน้ำประปาอย่างแน่นอน

    นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ในปี 2558 กนอ. มีแผนที่จะตั้งนิคมฯแห่งใหม่เพิ่มอีก 5 แห่ง รวมพื้นที่กว่า 8 พันไร่ ซึ่งต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่มียอดการตั้งนิคมฯสูงถึง 9 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 1.5 หมื่นไร่ โดยพื้นที่เป้าหมายจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร ,นครพนม, สกลนคร ,อุบลราชธานี และขอนแก่น นอกจากนี้ยังได้ขยายการส่งเสริมไปยังภาคเหนือ ได้แก่ จ.กำแพงเพชร ,ตาก ,นครสวรรค์ ,พะเยา ,เชียงใหม่ และลำปาง ซึ่งแต่ละนิคมฯจะเน้นให้ตรงกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น นิคมฯแปรรูปสินค้าเกษตร หรือนิคมฯบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น

    ทั้งนี้ ในปี 2558 กนอ.ยังมีแผนที่จะเร่งส่งเสริมให้เกิดนิคมฯใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยล่าสุดได้ร่วมกับ จ.นราธิวาสออกแบบนิคมฯ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นต้น ส่วน จ.ปัตตานี จะเน้นตั้งนิคมฯอาหารฮาลาล เพื่อเชี่ยมโยงกับประเทศมาเลเซีย ขณะที่ จ.ยะลา อยู่ระหว่างการเตรียมการ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!