- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 15 February 2015 16:46
- Hits: 2324
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรอ.เร่งเครื่องโรงงานอุตฯ ภาคใต้
บ้านเมือง : ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแล และส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานในการประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งพบว่าการประกอบกิจการโรงงานบางส่วน บางประเภท ยังคงมีปัญหาในหลายประเด็น ทั้งที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เก่า บุคลากรที่ขาดความรู้ รวมถึงประเด็นความปลอดภัยที่ยังเกิดขึ้นอยู่ สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ กรอ.จึงจัดทำ "โครงการนำร่องเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำฯ" เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าสำหรับโรงงานปาล์มและเยื่อกระดาษ รวมถึงการวางแนวทางมาตรการต่างๆ ให้โรงงานประเภทที่มีความปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นต้นแบบสำหรับโรงงานอื่นๆ นำไปขยายผลให้เกิดประสิทธิภาพด้านต่างๆ ในวงกว้างสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มต่อไป
ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้รับงบประมาณการสนับสนุนโครงการฯ จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายหลักคือกำกับดูแลและส่งเสริมการใช้พลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง โดยจัดตั้งทีมที่ปรึกษาเปิดอบรม "โครงการนำร่องเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำฯ" ดำเนินการโดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ โดยกระบวนการหลักของ "โครงการนำร่องเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำฯ" คือบูรณาการด้าน ดังนี้1.สำรวจ ตรวจสอบ ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของหม้อน้ำ 2.วิเคราะห์แนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหม้อน้ำที่เป็นรูปธรรม โดยเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิต และการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีค่าใช้จ่ายน้อย หรือไม่มีค่าใช้จ่ายเลยให้แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ 3.การอบรมให้ความรู้แก่โรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง เป็นระยะเวลา 3 วัน โดยเสริมสร้างให้มีความรู้และการพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ 4.ติดตามผลการดำเนินงานปรับปรุงตามแนวทางที่เหมาะสมตามคำแนะนำของวิศวกรที่ปรึกษา 5.จัดทำคู่มือเผยแพร่ผลการดำเนินงาน
สำหรับ ในปี 2558 "โครงการนำร่องการเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำฯ" มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและโรงงานผลิตเยื่อกระดาษเข้าร่วมจำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง ตรัง ชลบุรี จำนวน 12 โรงงาน หากในอนาคตมีการขยายผลไปยังโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทั้งหมดกว่า 200 โรงงานทั่วประเทศ คาดว่าจะ 1,000 ล้านบาทต่อปี