WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรมโรงงานฯ เล็งเชิญชวนผู้ประกอบการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนหมุนเวียน

    นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.มีแนวคิดจะเชิญชวนให้ผู้ประกอบการนำเครื่องจักรที่มีอยู่ในโรงงานมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง เพื่อนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มมาก โดยในปีนี้กรมฯจัด จัดคาราวานเข้าไปถึงชุมชนเพื่อให้ความรู้ด้านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและการจดทะเบียนจำนองเครื่องจักร คาดว่าเป้าหมายการจดจำนองภายในสิ้นปี 2558 นี้จะโตขึ้นจากปี 57  กว่า 15 % ประมาณ 8,000 เครื่อง วงเงินจำนองประมาณ 375,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป

   "การนำเครื่องจักรมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และนำไปจดทำนอง เพื่อเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกัน จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการเพิ่มมากขึ้น"

   ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการประกาศลดขั้นตอนระยะเวลาการให้พิจารณาอนุญาตโรงงานจากเดิมเหลือเพียง 30 วันตั้งแต่วันที่  1 กรกฎาคม 57  เป็นต้นมา ส่งผลให้สถิติตัวเลขด้านการอนุญาตเพิ่มสูงขึ้น และสถิติการประกอบและขยายโรงงานปี 57 มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่าปี 56 ถึง 17%

    "การออกใบอนุญาต รง. 4  โดยสถิติ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 มีการประกอบและขยายกิจการจำนวน 5,625 โรงงาน คนงานจำนวน 204,492 คนมูลค่าการลงทุน 602,346.78 ล้านบาท โดยเติบโตสูงกว่าปี 2556 ถึง 17% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งประกอบกิจการและขยายกิจการใหม่ สูงสุด คือผลิตภัณฑ์จากพืช"

     นอกจากนี้ ในปี 57  มีเครื่องจักรที่มาจดทะเบียนและจดจำนอง วงเงินสูงถึง 338,127.87 ล้านบาท  อุตสาหกรรมที่มีการจดจำนองมากที่สุดในเดือน มกราคม 58 เรียง 3  อันดับแรก ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์จากพืช 2.อุตสาหกรรมอาหาร 3 .พลาสติก

   ในปี 58 กรอ.มีนโยบายและการดำเนินการภายใต้แนวคิด “DIW Work for best  โปร่งใส มีประสิทธิภาพ สู่อุตสาหกรรมสีเขียว คืนความสุขประชาชน" ที่มุ่งเน้นการกำกับโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม พัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย การแก้ไขปัญหามลพิษ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการให้บริการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยมีการดำเนินการภายใต้นโยบายสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ

   โครงการฝึกอบรมการใช้ประโยชน์กากของเสียตามหลัก 3Rs ที่มีประสิทธิภาพโดยดำเนินการตั้งแต่ต้นทางได้แก่  ลดการเกิดของเสีย (Reduction) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หมุนเวียนใช้ประโยชน์ตามศักยภาพ/นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)การบำบัดของเสียที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก (Treatment)และ กำจัดอย่างปลอดภัย  (Disposal) เพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสียและลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัด รวมทั้งการมอบโล่และเกียรติบัตรแก่โรงงานที่ผ่านการตรวจประเมิน โดยโครงการได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 – 2557 ซึ่งมี โรงงานสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 162 โรงงาน ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมิน จำนวน 19 โรงงาน เช่น ในปีที่ผ่านมา (2557) มีโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 35 โรงงาน ผ่านการตรวจตามเกณฑ์ประเมิน 3Rsจำนวน 26 ราย และได้รับรางวัล Zero Waste to Landfill จำนวน 8 ราย รวมถึงกิจกรรมพิเศษที่ให้ผลตอบแทนที่ดีทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งในปี 2558 ตั้งเป้าหมายโรงงานเข้าร่วมโครงการ 50 ราย แต่มีโรงงานเข้าร่วมโครงการจำนวน 51 ราย

  โครงการยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสีย เพื่อยกระดับการให้บริการและการประกอบกิจการจัดการของเสียให้เป็นมาตรฐาน เกิดการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม โดยโครงการยกระดับผู้ประกอบการ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 – 2557 มีโรงงานสนใจเข้าร่วมทั้งหมด 239 ราย ผ่านเกณฑ์การตรวจและได้รับรางวัล 159 ราย ในปี 2558 ตั้งเป้าหมายไว้ 50 ราย แต่มีโรงงานเข้าร่วมโครงการ จำนวน 54 ราย

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!