WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เร่งออกใบอนุญาตรง.ปลุกลงทุน 1.3 แสนล. ยอมรับโรงไฟฟ้ามีปัญหา หลังเจอแรงต้านจากชุมชน

       แนวหน้า : นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) กล่าวว่า  หลังจาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ให้นโยบายว่าให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) ที่กำลังการผลิตไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องเข้าข่ายว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) นั้น จะทำให้ระยะต่อไปจะมีการเดินหน้าลงทุนโซลาร์รูฟท็อปอีกจำนวนมาก  โดยเบื้องต้นมีการขออนุญาตเข้ามาที่ กรอ. อยู่ 104 ราย กำลังการผลิตรวม 3,317 กิโลกวัตต์ หรือ 3.317 เมกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโซลาร์รูฟท็อปกลุ่มติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัยกำลังการผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และบางส่วนเป็นกลุ่มติดตั้งบนอาคารโรงงาน

    เมื่อไม่เข้าข่ายว่าเป็นโรงงานแล้วการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปก็ไม่จำเป็นต้องขอ รง.4 ไม่ต้องดูเรื่องผังเมือง แต่อาจจะต้องดูเรื่องของกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งถ้าน้ำหนักที่ขึ้นมาไม่เกินกว่า 10 % ที่หลังคารับได้ก็ติดตั้งได้เลย แต่ถ้าเกินก็อาจต้องมีการขออนุญาตนายณัฐพล

    นายณัฐพล กล่าวว่า ขณะนี้มีเรื่องที่ผู้ประกอบการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) ทั้งประเทศอยู่ 290 เรื่อง รวมเงินลงทุน 1.36 แสนล้านบาท โดยเป็นเรื่องที่อยู่กับ กรอ. 41 เรื่อง ส่วนที่เหลืออยู่ที่อุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งขณะนี้ กรอ. ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เร็วให้มีการลงทุนเร็วที่สุดสำหรับกรณีที่เอกสารครบแล้ว  ส่วนกรณีที่เอกสารไม่ครบหรือเรียกเอกสารแล้วไม่นำเอกสารมาส่งก็ให้คืนเรื่องและตัดออกจากระบบ

    ทั้งนี้ ยอมรับว่าหลายกรณี กรอ. ยังไม่สามารถให้ใบอนุญาต รง.4 ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากติดปัญหาชุมชนคัดค้าน ยังมีการร้องเรียน ซึ่งเรื่องนี้ กรอ.ต้องดูให้รอบคอบเพราะที่ผ่านมาได้ให้ใบอนุญาตไปเกิดการฟ้องร้องและถูกตัดสินให้แพ้คดีต้องเพิกถอนใบอนุญาตไปหลายราย

     นายณัฐพล กล่าวว่า  แต่จากการปรับกระบวนการออกใบ รง.4 ที่คสช. ได้ให้เป้าหมายมาว่าต้องออกใบอนุญาตได้ภายใน 30 วัน โดยก่อนผู้ประกอบจะมีบุคคลที่3 หรือเติร์ดปาร์ตี้เข้ามาดูแลรวบรวบและรับรองเอกสารให้ก่อนที่จะยื่นขออนุญาตมาที่ กรอ.นั้น  คาดว่าจะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อระยะเวลาการจะได้ใบอนุญาต ประกอบกับมีความเชื่อมั่นต่อทิศทางเศรษฐกิจที่จะดีขึ้น ทำให้ยอดการเปิดโรงงานใหม่ในช่วงที่เหลือปรับตัวดีขึ้น หลังจาก 5 เดือนแรกที่ผ่านมา มีโรงงานเปิดใหม่ทั้งสิ้น 1,477 แห่ง ลดลง 15.84 %  มูลค่าการลงทุน 1.08 แสนล้าน บาท ลดลง 12.79 %

     ด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คสช.มอบนโยบายและภารกิจเร่งด่วน  5 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.การเสนอรายชื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ (บอร์ดบีโอไอ) ภายในวันที่ 3 มิถุนายน คาดว่า คสช.จะพิจารณาตั้งบอร์ดให้แล้วเสร็จภายในวันถัดไป จากนั้นเมื่อได้บอร์ดบีโอไอจะเร่งพิจารณาโครงการที่ค้างอยู่ที่มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท โดยตั้งเป้าพิจารณาให้เสร็จสิ้น ภายใน 2 เดือน   2.นโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) 3.การปรับลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตต่างๆทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการและประชาชน 4. เรื่องมลพิษทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบ่อขยะ 5. การพิจารณาเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2556/2557 อีก 160 บาทต่อตันอ้อย

    สำหรับนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมรองรับในเขตเศรษฐกิจชายแดน นั้น ทางกระทรวงฯมีการทำเรื่องการค้าชายแดนในหลายจุด ทั้งอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล นิคมอุตสาหกรรมแถวแนวชายแดน โครงการพัฒนาการค้าชายแดนของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศช.) โดยมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการซึ่งจากนี้จะเร่งทำแผนเสนอต่อ คสช. ต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!