- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Monday, 26 January 2015 22:57
- Hits: 2397
บสย.ตั้งเป้ายอดค้ำ 5 ปี(58-62) โตเฉลี่ย 25% ส่วนปีนี้ตั้งเป้ายอดต้ำแตะ 8 หมื่นลบ.
บสย.ตั้งเป้ายอดค้ำ 5 ปี(58-62) โตเฉลี่ย 25% ส่วนปีนี้ตั้งเป้ายอดต้ำแตะ 8 หมื่นลบ. เผยอยู่ระหว่างดำเนินการค้ำประกันอีก 2 โครงการ มูลค่า 7 พันลบ.
นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. เปิดเผยว่า บสย.ตั้งเป้ายอดค้ำประกัน 5 ปีต่อจากนี้(2558-2562) เติบโตเฉลี่ยปีละ 25% โดยในปี 58 ตั้งเป้ายอดค้ำประกันไว้ที่ 80,000 ล้านบาท ปี 59 อยู่ที่ 86,000 ล้านบาท ปี 60 อยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ปี 61 อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท และปี 62 อยู่ที่ 107,000 ล้านบาท
สำหรับ ปี 2558 บสย.ตั้งเป้ายอดค้ำประกันไว้ที่ 80,000 ล้านบาท จากปีก่อนทำได้ 61,951 ล้านบาท โดยปีนี้ บสย.มีผลิตภัณฑ์ไมโครเอสเอ็มอี ที่ บสย.ให้ความสำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือ SMEs ที่มีความต้องการกู้เงินในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย โดยบสย.มีวงเงินค้ำประกัน 5,000 ล้านบาท สำหรับไมโครเอสเอ็มอีคาดว่าจะสามารถช่วยเอสเอ็มอีได้กว่า 17,000 ราย ส่วนอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งคือผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสำหรับเอสเอ็มอี ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงกลาง ขณะนี้ยังมีวงเงินอีกกว่า 100,000 ล้านบาท
ด้านแผนงานปีนี้ บสย. จะมุ่งเน้นการทำงานแบบบูรณาการ ตอบสนองนโยบายของรัฐ ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้ประเทศไทยสู่ดิจิทัล อีโคโนมี หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ลดช่องว่างเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับกลุ่มไมโคร เอสเอ็มอี และร่วมกับสถาบันการเงิน แบงก์ เพื่อปลดล็อก ข้อจำกัดกฎหมายค้ำประกัน
นายวัลลภ กล่าวต่อว่า ผลการดำเนินปี 2557 ที่ผ่านมา บสย.มีกำไรสุทธิ 545 ล้านบาทเท่ากับปี 2556 โดยมียอดอนุมัติสะสม 391,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 56 ที่ 330,436 ล้านบาท และคาดว่าจะแตะ 400,000 ล้านบาทภายใน 2 ปีต่อจากนี้ ส่วนภาระค้ำประกันปี 57 อยู่ที่ 269,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 56 ที่ทำได้ 243,626 ล้านบาท และยอดอนุมัติสินเชื่ออยู่ที่ 61,051 ล้านบาท ลดลงจากปี 56 ที่ทำได้ 87,080 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมามีการชะลอตัว ส่งผลให้สถาบันการเงินภายในประเทศไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ ทำให้ยอดอนุมัติดังกล่าวมีกาปรรับตัวลดลงจากปี 56
อย่างไรก็ตาม บสย.อยู่ระหว่างการดำเนินงานโครงการค้ำประกันสินเชื่ออีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และโครงการสำหรับผู้ประกอบการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาและอนุมัติ หากกระทรวงการคลังสามารถอนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว จะนำเสนอต่อคณะรัฐในตรี หรือ ครม.ต่อไป
พร้อมกันนี้ บสย.มีโครงการค้ำประกันที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันในช่วงไตรมาส 1/58 อีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ Phase5 วงเงินโครงการ 240,000 ล้านบาท โครงการ OTOPและวิสาหกิจชุมชน วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท และโครงการ Micro Entrepreneure วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์
รับมือกม.ค้ำประกันบสย.ปรับแบบฟอร์ม
ไทยโพสต์ * บสย.ลุยรื้อหนังสือค้ำประกันใหม่ หวังช่วยเรียกความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ฟุ้งปี 57 ผลงานเข้าตา ฟันกำไร 545 ล้านบาท
นายวิเชษฐ วรกุล รอง ผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาห กรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงหนังสือค้ำประกัน เพื่อรองรับกฎหมายค้ำประกันที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ก.พ.นี้ โดยจากนี้ บสย.จะออกระเบียบแจ้งให้สถาบันการเงินเพื่อใช้ในการอ้างอิง และสร้างความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่ง บสย.จะขอให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลตามแบบคำขอค้ำประกันใหม่ ทั้งชื่อสัญญาสินเชื่อ วัตถุประสงค์การใช้สินเชื่อระยะเวลาการก่อหนี้ สัญญาสินเชื่อ/สัญญาฉบับลงวันที่ วงเงินสินเชื่อ และวงเงินให้ค้ำประกัน
เบื้องต้นจากการหารือกับกลุ่มตัวแทนสถาบันการเงิน มีการเสนอให้หนังสือค้ำประกันของ บสย. การระบุรายการให้ครบตามกฎหมายกำหนด เช่น วัตถุประสงค์ มูลหนี้ ระยะเวลาในการก่อหนี้ และวงเงินสูงสุด เพื่อความชัดเจนในการออกหนัง สือค้ำประกันตามกฎหมายใหม่ และเป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการค้ำประกันเป็นไปทิศทางเดียวกัน ทั้ง บสย.,สถาบันการเงิน, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประ เทศไทย (ธปท.)
ด้าน นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของปี 2557 ว่า บสย.ปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อจำนวน 6.1 หมื่นล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่สามารถปิดยอดค้ำประกันได้ที่ 8.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยอดค้ำประกันสะสมอยู่ที่ 3.91 แสนล้านบาท มีภาระค้ำประกัน 2.69 แสนล้านบาท มีกำไรสุทธิ 545 ล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้เสียเอ็นพีจีอยู่ในระดับ 5.84%
สำหรับ แผนการดำเนินงานปี 2558 บสย.ตั้งเป้าค้ำประกันวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 4.43 หมื่นราย โดยยังคงเน้นโครงการตามนโยบายรัฐ ทั้งโครงการพีจีเอส 5 วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท โครงการโอท็อป วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โครงการไมโครเอสเอ็มอี วงเงิน 5 พันล้านบาท โครงการสตาร์ทอัพวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท และโครงการที่อยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงการคลังทั้งการค้ำประ กันนวัตกรรมเทคโนโลยี วงเงิน 2 พันล้านบาท โครงการค้ำประกันเอสเอ็มอีลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ วงเงินค้ำ 5 พันล้านบาท โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ
นอกจากนี้ บสย.อยู่ระ หว่างหารือกับกระทรวงการคลังและสำรวจความเห็นจากสถาบันการเงิน ในการออกโครงการพีจีเอส 6 ระยะ เวลาโครงการ 3 ปี เพื่อเข้าค้ำประกันช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วไปทุกกลุ่มเป้า หมาย โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง จากโครงการพีจีเอส 5 ที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2558.