WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ยอดโรงงานใหม่ปี57 กระฉูด เงินทุนแตะ 602,236 ล้านบาท

     แนวหน้า : ยอดโรงงานใหม่ปี57 กระฉูด เงินทุนแตะ 602,236 ล้านบาท อุตฯมั่นใจปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว

     กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวเลขยอดออกใบอนุญาตตั้งโรงงานปี57 พบดีเกินคาด โดยลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี56

     นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถิติการประกอบกิจการโรงงานที่ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.-31 ธ.ค. 2557 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 ทั้งเปิดโรงงานใหม่และขยายกิจการ รวมทั้งสิ้น 3,815 ราย มูลค่าเงินทุน 456,963 ล้านบาท มีการจ้างคนงาน 149,883 คน แบ่งเป็น การประกอบกิจการใหม่ 3,245 ราย และขยายโรงงาน 570 ราย

     นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในปี 2557 ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 5,619 ราย คิดเป็นเงินทุน 602,236 ล้านบาท จ้างคนงาน 204,394 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2556 ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 5,472 ราย คิดเป็นเงินทุน 517,271 ล้านบาท จ้างคนงาน 178,105 คน ตัวเลขจึงดีขึ้นทุกตัวคิดเป็นเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมประเมินว่า ตัวเลขการตั้งและขยายโรงงานของภาคเอกชนในปี 2558 มีแนวโน้ม ที่ดีกว่าปีที่ผ่านมาตามแผนการลงทุนของหน่วยงานรัฐ

    จะเห็นได้ว่าโรงงานเปิดทำการผลิตในปัจจุบัน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนสูง และมีการจ้างคนงานเป็นจำนวนมาก สามารถช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดี และมั่นใจว่าภายใน 1-2 เดือน จะมีโรงงานเปิดสายการผลิตใหม่และขยายกิจการโดยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทุกจังหวัด อีกจำนวน 2,154 โรงงาน คิดเป็นเงินลงทุน 242,603 ล้านบาท และจะมีการจ้างงานใหม่อีก 59,793 คน ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นในการสร้างและขยายกิจการในประเทศไทย

   ดังนั้น จะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2558 มีแนวโน้มสดใส มีแนวโน้มที่ดีเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมานายจักรมณฑ์ กล่าว

   สำหรับ จังหวัดที่มีโรงงานเปิดใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) จ.ปทุมธานี 309 โรงงาน 2) จ.สมุทรปราการ 287 โรงงาน 3) กรุงเทพฯ 222 โรงงาน 4) จ.ชลบุรี 190 โรงงาน และ 5) จ.สมุทรสาคร 167 โรงงาน ส่วนประเภทกิจการที่เปิดโรงงาน

    มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) อุตสาหกรรมอาหาร 281 โรงงาน 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ 255 โรงงาน 3) กลุ่มผลิตยานพาหนะ 251 โรงงาน 4) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช 248 โรงงาน และ 5) กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 242 โรงงาน

   นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการประกอบกิจการและขยายกิจการ เพราะภาคการผลิต (Real Sector)

มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง มีเงินหมุนในระบบ ทั้งการลงทุน การจ้างงาน และใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพื่อสร้างมูลค่า โดยเฉพาะการออกใบอนุญาต รง.4 ของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีนโยบายให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดทำข้อมูลการแจ้งเริ่มประกอบการ และขยายโรงงานจริงว่า หลังได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง ไปแล้วมีคงเหลือที่ยังไม่ประกอบกิจการจำนวนกี่ราย เพื่อช่วยประสานอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน และพบว่าโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในตอนนี้เป็นกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อมและการเตรียมตัวที่ดี

    ส่วนที่ยังไม่เปิดดำเนินกิจการ ส่วนใหญ่จะเป็นเอสเอ็มอี เนื่องจากยังต้องใช้เวลาในการหาแรงงาน แหล่งเงินทุน หรือการก่อสร้างที่อาจล่าช้า และปัจจัยอื่นๆ หากผู้ประกอบการรายใดมีอุปสรรคที่ภาครัฐจะสามารถช่วยได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือดังกล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!