WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กนอ.เคาะงบประมาณปี'58 ยกระดับสู่เมืองอุตฯ เชิงนิเวศ

     บ้านเมือง : บอร์ด กนอ.อนุมัติงบประมาณการดำเนินงานด้าน CSR ประจำปีงบประมาณ 2558 ขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เดินหน้าสร้างความเข้าใจไปยังชุมชนรอบนิคมฯ จัดตั้งใหม่

    นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณประจำปี 2558 ในวงเงิน 29 ล้านบาท เพื่อ กนอ.ดำเนินงานด้านกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านสังคม ด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจะทำการต่อยอดกิจกรรมที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมฯ ทั้งนิคมฯ เดิม และชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รอบนิคมฯ ที่จะจัดตั้งนิคมฯ ใหม่ และการเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้าน CSR โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร คือ C-S-R : Care-ShareRaise อยู่ภายใต้โครงการ "IEAT for Life" ซึ่งดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

   ทั้งนี้ Care กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนในด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนดำเนินงานจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ "รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม" ซึ่งจะให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนในพื้นที่นิคมฯ ซึ่งเบื้องต้นได้วางแนวทางการจัดการน้ำไว้ 3 ระดับ คือระดับต้นน้ำ คือ การสร้างฝาย การปลูกป่ารักษาต้นน้ำ ระดับกลางน้ำ การอนุรักษ์คูคลองรอบนิคมฯ ส่วนระดับปลาย รณรงค์ให้มีกิจกรรมสร้างให้ความรู้ในเรื่องการเห็นคุณค่าของน้ำ และการประหยัดน้ำ รวมถึงการรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่อีก เป็นต้น

      โดย Share กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนองค์กร ภายใต้โครงการ "กนอ.ให้ชีวิตด้วยโลหิตอุตสาหกรรม" และ "กนอ.ร่วมใจ มอบอุปกรณ์การแพทย์" เนื่องจากว่าภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนประชากรที่ค่อนข้างมาก และมีศักยภาพในการที่สามารบริจาคโลหิตได้ ซึ่งโครงการนี้จะทำควบคู่ไปกับการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้รับการดูแลอย่างดี

      ส่วน Raise การขับเคลื่อนองค์กร โดยอยู่ภายใต้โครงการ "กนอ.มอบโอกาส วาดฝัน ปันอาชีพ" เพื่อยกระดับการศึกษาเยาวชนในประเทศ ตลอดจนอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีงาน และรายได้ให้กับครอบครัวต่อไป

     นอกจากนั้น กนอ.ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินงานต่อเนื่อง เช่น 1.โครงการ Green Network (CSR ECO Envi & Safety Network) เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ ECO & CSR Network เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองเชิงนิเวศโรงงาน ชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

   2.โครงการ ECO for Life เป็นกิจกรรมที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประกวดเฟ้นหาผู้ที่มีความสามารถในการประดิษฐ์หรือมีไอเดียในเรื่องการนำสิ่งเหลือใช้จากพื้นที่นิคมฯ กลับมาเพิ่มมูลค่าโดยสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนรอบนิคมฯ โดยความร่วมมือของนิคมฯ โรงงาน และชุมชน

    3.โครงการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยให้ชุมชนในพื้นที่นิคมฯ ต่างๆ ได้มีส่วนร่วมการบริหารจัดการและกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยภายในโรงงาน โดยคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อเข้าตรวจเยี่ยมโรงงานในนิคมฯ ตามโครงการธงขาวดาวเขียว และมี

    ส่วนร่วมในการประชุมกำกับดูแลในโครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนการติดตามตรวจสอบ การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงงาน ในนิคมฯ (EIA Monitoring)

    "ในรอบปีที่ผ่านมา กนอ.ได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR เป็นไปตามแผนงานยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน ซึ่ง กนอ.ยังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล คือความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การเปิดเผยข้อมูล และตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินธุรกิจและอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน" นายวิฑูรย์ กล่าว

    นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กนอ.ได้กำชับไปยังผู้ประกอบการแต่ละนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งทั่วประเทศ เตรียมพร้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี หากเกิดภาวะฉุกเฉินในด้านต่างๆ โดยเฉพาะแผนการป้องกันด้านอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด เนื่องจากขณะนี้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้อากาศแห้งลมแรง อาจเกิดอัคคีภัยได้ง่าย

    สำหรับ แผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ทุกนิคมอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่างๆ ภายในโรงงาน ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบขนส่งและเส้นทางเดินรถ (Logistics) ทางเข้า-ออก และการเตรียมความพร้อมทั้งด้านการสื่อสาร การอพยพคนงาน ตลอดจนจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ภายในโรงงานให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นฐานข้อมูล ซึ่งการเตรียมการป้องกัน ความพร้อม และมาตรการต่างๆ ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการสูญเสียหากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถร่วมกันบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที พร้อมกำชับทุกนิคมฯ ในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินให้ปฏิบัติเสมือนจริง และหากเกิดเหตุขึ้นจริง ขอให้ปฏิบัติตามแผน จะช่วยลดการตื่นตระหนกได้

    ทั้งนี้ กนอ.ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ กนอ. (IEAT Operation Center) หรือ EMC2@IEA-T ขึ้น ณ อาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่นิคมฯ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะทำหน้าที่เป็นศูนย์วอร์รูม (Warroom) ติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือนภัย บัญชาการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ โดยศูนย์ดังกล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!