WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2557 (กรกฎาคม – กันยายน 2557)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

    1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

   ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2557 มีประมาณ 1,917,103 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.88  รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.01 เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.26 โดยเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 17.77 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.97 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 13.40  โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 19.00  สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.25

      ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2557 มีประมาณ 5,264,955 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ )  ลดลง ร้อยละ  0.43  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลง  ร้อยละ 1.32  แต่ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนกลับ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.20 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.16 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.36

ความต้องการใช้ในประเทศ

     ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2557 มีจำนวนประมาณ 4,535,612 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.70 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน  โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่   ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.46เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 7.87 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

     ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 มีจำนวนประมาณ 12,843,899 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน  โดยเหล็กในกลุ่มทรงแบน ลดลง ร้อยละ 9.92 แต่เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงยาวกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ  1.48 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

    มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2557 มีจำนวนประมาณ 71,888 ล้านบาท  โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 23.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 39.40 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 95.85 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.sheet (HDG)) ลดลง  ร้อยละ 17.39 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.23 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.48  สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.85 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้น ร้อยละ 151.87

    มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2557 มีจำนวนประมาณ 202,242 ล้านบาท  โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 21.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 28.96 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 87.78 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 35.92 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 12.30 โดยเหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 27.63 เหล็กในกลุ่มทรงยาว  ลดลง ร้อยละ 2.29 โดยเหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 4.52

การส่งออก

    มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2557 มีจำนวนประมาณ 7,111 ล้านบาท  โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 83.33 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 100 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 22.18 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 71.06  รองมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 70.31 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 3.33 โดยเหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 13.11 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 11.06  โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 94.12 เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 25.49 เหล็กทรงแบน ลดลง  ร้อยละ15.05

    มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2557 มีจำนวนประมาณ 23,100 ล้านบาท  โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 37.43 สำหรับเหล็กแท่งแบน มีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.37 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 86.15 รองลงมาคือ เหล็กเคลือบสังกะสี (Galv. Sheet (EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 56.07

2. สรุป

     ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2557 มีประมาณ 1,917,103 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 22.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 29.88  สำหรับความต้องการใช้ในประเทศ มีประมาณ 4,535,612 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.70  มูลค่าการนำเข้าประมาณ 71,888 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 23.71 มูลค่าการส่งออกประมาณ 7,111 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 8.04

   เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 1.32  ความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 6.16 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ช่วงต้นปี  ส่งผลให้ตลาดในประเทศชะลอตัว  ขณะเดียวกันมีแนวโน้มการนำเข้าเหล็กจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจของจีนโดยเฉพาะปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์  ทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินสูงและส่งออกสินค้าเข้ามายังประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เช่น ตลาดยุโรป ตลาดสหรัฐอเมริกา  ก็ยังคงชะลอตัวอยู่  ซึ่งปัจจัยต่างๆ ล้วนส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กลดลง มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวนประมาณ 202,242 ล้านบาท  โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 21.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 28.96  เหล็กในกลุ่มทรงยาว  ลดลง ร้อยละ 2.99 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวนประมาณ 23,100 ล้านบาท  โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 37.43 สำหรับ เหล็กแท่งแบน กลับมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.37

3.แนวโน้ม

    แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาส 4/2557 คาดการณ์ว่าในส่วนการผลิตจะทรงตัวอยู่ เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ความต้องการใช้เหล็กก่อสร้างสูงขึ้น คือ การลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐซึ่งปัจจุบันยังไม่อยู่ในช่วงการก่อสร้าง  ขณะที่ โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่  เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อและลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์  นอกจากนี้  ยังมีปัจจัยที่พึงระวังเกี่ยวกับการนำเข้าเหล็กเส้นก่อสร้างจากจีน  ซึ่งในอดีตยังไม่มีการนำเข้ามาก่อน  ถ้าภาครัฐยังไม่มีมาตรการชัดเจนอาจทำให้มีการนำเข้าเหล็กดังกล่าว    และส่งผลต่อผู้ผลิตเหล็กเส้นในประเทศได้

 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!