WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ยอดตั้งรง.วูบ/ SMEเจ๊งเพิ่มลุ้นฟื้นตัวหลัง'การเมือง'คลี่คลาย

    แนวหน้า : ยอดตั้งโรงานใหม่ 5 เดือนแรก ลดลงเกือบ 15 % ชี้เหตุนักลงทุนรอฟังนโยบายภาครัฐ ฟันธงคาดครึ่งปีหลังโรงงานผุดเพียบหลัง คสช. ผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยกลุ่ม เอมเอ็มอีอ่วมเช่นกัน

    นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน พ.ค.2557 ที่ผ่านมา จำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 216 แห่ง ลดลง 39.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินลงทุนมาอยู่ ที่ 1.59 หมื่นล้านบาท ลดลง 47.92% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนักลงทุนต่างรอความชัดเจนด้านนโยบายจากภาครัฐ เพราะในช่วงดังกล่าวมีเพียงรัฐมนตรีรักษาการ

    ส่วนยอดโรงงานใหม่ดังกล่าวในช่วง5 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-พ.ค..57) มีโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ทั้งสิ้น 1,477 แห่ง ลดลง 15.84 % เทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 1.08 แสนล้าน บาท ลดลง 12.79 %

    โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า การลงทุนตั้งโรงงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยาน พาหนะและอุปกรณ์ 138 แห่ง มูลค่าการลงทุน 2.23 หมื่นล้านบาท รองลงมากลุ่มอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์อโลหะ164 แห่งลงทุน 6,991 ล้าน บาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก  99 แห่ง 5,667 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 108 แห่ง เงินลงทุน 4,336 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ 144 แห่ง มีลงทุน 3,826 ล้านบาท

    นายณัฐพล กล่าวว่า การตั้งโรงงานใหม่ที่ลดลงหลักๆ มาจากปัญหา การเมืองในประเทศที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง รวมทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่รอความชัดเจนด้านนโยบายของภาครัฐ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องกระตุ้นภาคเอกชนให้เกิดการลงทุนอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆให้กับนักลงทุน การลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การยุบคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาอนุญาตโรงงานเพื่อให้ลดขั้นตอนลง เป็นต้น

    ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังการตั้งโรงงานใหม่และการขยายโรงงานจะมีอัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มกลับสู่ภาวปกติ รวมทั้งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆมีความชัดเจนขึ้นหลังมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดูแล ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาจับจ่ายใช้สอยสินค้า อีกทั้งทาง คสช. ได้เร่งผลักดันให้ใช้งบประมาณปี 2557 เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจจะส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น นอกจากนี้การยุบคณะกรรมการกลั่นกรองฯนับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มีโรงงานเกิดขึ้นใหม่ในครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้น แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในปัจจัยที่การเมืองปกติไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น

    สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะ เนื่องจากครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีการชะลอตัวลงจากยอดขายภายในประเทศที่ลดลง  รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ปัจจุบันเข้าสู่ระบบทีวีดิจิตอลทำให้ผู้บริโภคมีการซื้อโทรทัศน์ใหม่ และกล่องรับสัญญาณเพื่อรองรับระบบดิจิตอลมากขึ้นทำให้ธุรกิจเครื่องใช้ใช้ไฟฟ้าน่าจะมีการเติบโตกว่าครึ่งปีแรก

    ด้าน นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวถึงการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ปี 2557 มียอดเลิกกิจการ 3,731 ราย  เพิ่มขึ้น9.9 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    สำหรับ ยอดการตั้งกิจการ ในช่วง 4 เดือน มีจำนวน 19,684 ราย ลดลง 19.5 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด คือ หมวดการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย มีจำนวน 2,069 ราย ทุนจดทะเบียน 5,569 ล้านบาท รองลงมาเป็นหมวดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อที่พักอาศัย และหมวดขายส่งเครื่องจักร

     ส่วนแนวโน้มยอดการจัดตั้ง และยกเลิกกิจการในช่วงครึ่งปีหลัง (มิ.ย. -ธ.ค.) เชื่อว่า จะมีแนวโน้มดีขึ้น  ยอดการจัดตั้งกิจการจะเพิ่มขึ้น และยอดยกเลิกกิจการจะลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะปรับตัวดีขึ้น หลังจากเริ่มมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยทั้งปีเชื่อว่า จะไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมามากนัก คือ  ยอดจัดตั้งกิจการ ประมาณ 50,000-60,000 รายยอดยกเลิกกิจการ ประมาณ 15,000-20,000 ราย

4 เดือนเอสเอ็มอีปิดกิจการพุ่ง ยอดขอตั้งโรงงานใหม่ลดเฉียด 16%

      ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * สสว.ชี้ยอดปิดกิจการเอสเอ็มอี 4 เดือนพุ่งเฉียดทะลุ 10% คาดครึ่งหลังปี 2557 สถานการณ์ดีขึ้น ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรม โอดพิษการเมือง ฉุดยอดขอตั้งโรงงานใหม่วูบ 15.84% มั่นใจหลัง คสช.เร่งเดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยดันโรงงานใหม่ผุดเพียบ

    นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า  สถาน การณ์การดำเนินกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ปี 2557 มียอดเลิกกิจการ 3,731 ราย เพิ่มขึ้น 9.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยธุรกิจที่ยกเลิกสูงสุด คือ หมวดกิจการขายสลากกินแบ่งจำนวน 482 ราย มีทุนจดทะเบียนมูลค่า 246 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้ มีการแข่งขันสูง รวมทั้งยอดขายสลากกินแบ่งรัฐบาลลดลง จากภาวะเศรษฐกิจชะลอ และเป็นธุรกิจที่เปิด-ปิดง่าย รองลงมาเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อ ที่พักอาศัย และหมวดอสังหา ริมทรัพย์เพื่อที่พักอาศัย เพราะผู้รับเหมารายเล็กส่วนใหญ่จะเปิดรับงานเป็นกรณีๆ เมื่อเสร็จงานก็จะยกเลิกเลย

   โดยยอดการตั้งกิจการในช่วง 4 เดือน มีจำนวน 19,684 ราย ลดลง 19.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด คือ หมวดการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย มีจำนวน 2,069 ราย ทุนจดทะเบียน 5,569 ล้านบาท รองลงมาเป็นหมวดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อที่พักอาศัย และหมวดขาย ส่งเครื่องจักร

   ส่วนแนวโน้มยอดการจัดตั้งและยกเลิกกิจการในช่วงครึ่งหลังปี 2557 (มิ.ย.-ธ.ค.) เชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น ยอดการจัดตั้งกิจการจะเพิ่มขึ้น และยอดยกเลิกกิจการจะลดลง เนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากเริ่มมีนโย บายกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยทั้งปี 2557 เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปี 2556 ที่ผ่านมามากนัก คือ ยอดจัดตั้งกิจการ ประมาณ 50,000-60,000 ราย ยอดยกเลิกกิจการประมาณ 15,000-20,000 ราย

    นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า เดือน พ.ค.2557 ที่ผ่านมา จำนวนโรงงานที่ขอประกอบกิจการใหม่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 216 แห่ง ลดลง 39.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2556 รวมทั้งด้านเงินลงทุน 1.59 หมื่นล้านบาท ลดลง 47.92% เนื่องจากนักลงทุนต่างรอความชัดเจนด้านนโยบายจากภาครัฐหลังมีเพียงรัฐมนตรีรักษาการ ส่งผลให้ยอดเปิดโรงงานใหม่ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.พ.ค.57) มีโรงงานที่ประกอบกิจ การใหม่ทั้งสิ้น 1,477 แห่ง ลดลง 15.84% เทียบกับช่วงเดียว กันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 1.08 แสนล้านบาท ลดลง 12.79 %

   "การตั้งโรงงานใหม่และการขยายที่ลดลง ปัญหาหลักมาจากการเมืองในประเทศ ที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง รวมทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่รอความชัดเจนด้านนโยบายของภาครัฐ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องกระตุ้นภาคเอกชนให้เกิดการลงทุนอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับนักลงทุน การลดขั้นตอนการออกใบ อนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การยุบคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาอนุญาตโรงงานเพื่อให้ลดขั้นตอนลง เป็นต้น

     สำหรับ แนวโน้มครึ่งหลังปี 2557 การตั้งโรงงานใหม่และการขยายโรงงานจะมีอัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ รวมทั้งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มีความชัดเจนขึ้น หลังมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดูแล ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาจับจ่ายใช้สอยสินค้า อีกทั้งทาง คสช. ได้เร่งผลักดันให้ใช้งบประมาณปี 2557 เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น นอกจากนี้การยุบคณะกรรมการกลั่นกรองใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มีโรงงานเกิดขึ้นใหม่ในครึ่งหลังปี 2557 เพิ่มขึ้น แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในปัจจัยที่การเมืองปกติไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!