WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

ดีพร้อม เปิดผลสำเร็จสตาร์ทอัพคอนเน็คปี 4 สร้างเครือข่าย เชื่อมทุน สร้างมูลค่าได้กว่า 200 ล้านบาท พร้อมโชว์ 7 โปรเจค ‘BCG Economy’ อวดอินโนเวชั่น ดันการเติบโตแบบยั่งยืน

          กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เปิดผลสำเร็จโครงการ DIPROM Startup Connect ปี 4 สร้างโอกาสการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยผ่าน “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” พร้อมกิจกรรม Pitching Day นำเสนอโมเดลธุรกิจนวัตกรรม หรืออินโนเวชั่นจากกลุ่มสตาร์ทอัพ 7 บริษัท เพื่อเชื่อมโอกาสขยายตลาดและรับการสนับสนุนจากบริษัทลงทุน โดยคาดว่าจะเกิดมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 70 ล้านบาท และตลอดโครงการ DIPROM Startup Connect ปี 4 สามารถกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท

 

4861 DIPROM Bainoi

          นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า วิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นและการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดความสำเร็จในทุกราย เนื่องด้วยยังขาดอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะปัจจัยที่สำคัญเรื่อง “เงินทุนและการลงทุน” จากกลุ่มธุรกิจต่างๆ เนื่องด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ รวมถึงความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องแก้ไขและผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ได้เดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้นภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมโต โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน” ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ โตได้ (Start) ที่เน้นการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดึงจุดเด่นด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่มีมูลค่ามาต่อยอดพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นและเติบโตไปได้ ผ่านโครงการ DIPROM Startup Connect มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” โดยดีพร้อมได้เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ให้เข้าสู่วงการธุรกิจสตาร์ทอัพ นับเป็นโอกาสที่ดีของสตาร์ทอัพไทยที่จะสามารถนำไอเดียมาต่อยอดสู่การประกอบธุรกิจและเชื่อมโยงไปยังแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรเร่งผลักดัน “BCG Tech Startup” หรือสตาร์ทอัพในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการผ่านการวิจัยและทดลองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถแก้ปัญหาในเชิงลึกและตรงจุดมากกว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งได้แบ่งกลุ่มเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาและผลักดันสู่กลุ่ม BCG Economy จำนวน 7 สาขา ได้แก่ 1.การเกษตร 2.อาหาร 3.วัสดุชีวภาพ 4.เทคโนโลยีชีวภาพ 5.การแพทย์ 6.นวัตกรรมการลดใช้พลังงานและสร้างพลังงานทดแทน และ 7. เทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อความยั่งยืน 

 

9652 DIPROM

 

          นายใบน้อย กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ Startup Connect ปี 4 นี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมการสร้างนวัตกรรมร่วม (Co-creation) โดยเปิดช่องทางให้สตาร์ทอัพได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพันธมิตรเอกชนรายใหญ่ในการทดลองใช้นวัตกรรม หรือโซลูชั่นในตลาดจริง (Proof of Concept: POC) ถือเป็นมิติใหม่ของการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่ให้พันธมิตรเอกชน หรือลูกค้ารายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมสร้างและพัฒนาสินค้าหรือบริการของสตาร์ทอัพให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาดและสร้างหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Partnership) ร่วมกันต่อไป 2. กิจกรรมการเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด ด้วยการจัดกิจกรรมจับคู่/เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้มีเทคโนโลยีและผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี และ 3. กิจกรรมการเข้าถึงแหล่งทุน โดยดีพร้อมกำลังดำเนินการจัดกิจกรรมให้สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการฯ นำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งสนับสนุนเงินทุน อาทิ นักลงทุนบุคคล (Angel investor) กิจการเงินร่วมลงทุน (Venture capital: VC) บริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Corporate venture capital: CVC) เพื่อให้สตาร์ทอัพในกลุ่มเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน BCG Economy ที่อยู่ในระยะเติบโตมีโอกาสขยายตลาดและได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน (VC) และบริษัทร่วมลงทุน (CVC) เพิ่มขึ้น โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมการนำเสนอโมเดลธุรกิจนวัตกรรมหรืออินโนเวชั่นต่อแหล่งทุน จำนวน 7 บริษัท ได้แก่ 1. บริษัท ไทย ทิชชูคัลเจอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการเพาะเนื้อเยื้อต้นพันธุ์พืชเศรษฐกิจ 2. บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานด้วยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ DEMP ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่แบบเรียลไทม์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม 3. บริษัท เคมีวิเคราะห์ จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจวัดค่าสารโลหะหนักเจือปนในน้ำโดยใช้ปริมาณตัวอย่างเพียงเล็กน้อยด้วยเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำ 4. บริษัท สุขุมนุ่มลึก จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการใช้นวัตกรรมด้าน Probiotics ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นถิ่นไทยด้านการหมัก ให้เป็น “Probiotics ชนิดน้ำ” และพัฒนาเป็นสินค้า ผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยเสริมสร้างสมดุลภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างสุขภาพจิตใจที่ดีในกลุ่มอาหาร เครื่องสำอางสำหรับคนและสัตว์ 5. บริษัท แนบโซลูท จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Hy-N Technology หรือนวัตกรรมระบบนำส่งสารสำคัญ สำหรับเครื่องสำอาง อาหารเสริม ยา และวัคซีนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 6. บริษัท เจ็นโฟสิส จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการตรวจ DNA ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักชีวสารสนเทศที่สามารถรายงานผลที่หลากหลายและสามารถออกแบบดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลได้ และ 7. บริษัท วัน เท็น พลัส จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านแพลตฟอร์มตรวจวิเคราะห์ชีพจรเครื่องจักร เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการใช้พลังงาน และนำไปสู่การลดก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้

          ทั้งนี้ จากการนำเสนอโมเดลธุรกิจนวัตกรรมร่วม หรืออินโนเวชั่น จากทั้ง 7 บริษัทในครั้งนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สตาร์ทอัพไทยจะได้มีโอกาสพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับแผนพัฒนาประเทศ และได้เรียนรู้แนวคิดที่มีความเป็นสากลร่วมกับธุรกิจชั้นนำ อีกทั้ง ยังเชื่อมั่นว่าในอนาคตการเกิดขึ้นและการเติบโตของสตาร์ทอัพจากโครงการนี้จะเป็นผลดีในเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต โดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าการลงทุนได้ไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท และตลอดการดำเนินโครงการ Startup Connect ปี 4 นี้ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางการค้าและแหล่งเงินทุน และสามารถที่จะกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านบาท นายใบน้อย กล่าวทิ้งท้าย

 

 

A9652

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!