WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สสว.ขอ 1.2 หมื่นล.อุ้มเอสเอ็มอีเยียวยาผลกระทบการเมือง

    แนวหน้า : สสว.ขอ 1.2 หมื่นล.อุ้มเอสเอ็มอีเยียวยาผลกระทบการเมือง รอคสช.-บอร์ดใหม่อนุมัติ

   'ประจิน'เดินสายไปกระทรวงอุตฯในวันที่ 2 มิย.นี้ ขณะที่ ผู้อำนวยการ สสว.เสนอแผนช่วยผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี เร่งด่วนหลายโครงการ ใช้วงเงินงบประมาณรวม 12,783.70 ล้านบาท

    นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(สสว.) เปิดเผยว่า สสว.อยู่ระหว่างเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดลาง และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) มีศักยภาพในการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันหลังได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง มากกว่า 6 เดือน จึงร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 2.8 ล้านราย ทั้งด้านการเงิน การตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ผ่าน 8 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 12,783.70 ล้านบาท คาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมดกว่า 12 ล้านคน

    “สสว.จะเสนอโครงการช่วยเหลือเอสเอ็มอีต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศในฐานะรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช. ในวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ในโอกาสที่ พล.อ.อ.ประจิน มีกำหนดตรวจเยี่ยมกระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นต้องขึ้นอยู่กับคสช.ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ สสว.เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไปนายปฏิมากล่าว

    โดยมาตรการประกอบด้วยสองมาตรการด้านการเงิน คือ 1.โครงการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ในอัตรา 1.75% ในปีแรก ให้กับผู้ประกอบการจำนวน 5,000 ราย วงเงินงบประมาณ 262.8 ล้านบาท 2.โครงการการเอสเอ็มอีรีสตาร์ท เพื่อเสริมสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายธนาคารโดยร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ชดเชยดอกเบี้ยให้ ในอัตรา 3% ต่อปี ในวงเงินไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท น่าจะช่วยได้ 10,000 ราย วงเงินกู้ 10,000 ล้าบนาท ดังนั้นจะของบกลางมาใช้จ่ายในโครงการนี้จำนวน 800 ล้านบาท

   3.การลงทุนในธุรกิจให้บริการสินเชื่อรายย่อยหรือไมโคร เครดิต เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยมาก 4.โครงการเชื่อมโยงการตลาดเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน โดยสสว.จะบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) รวมทั้งหน่วยร่วมที่ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสสว. โดยมุ่งให้การส่งเสริมช่องทางการตลาดแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 500 ราย ผ่านโมเดิร์นเทรด ช่องทางการตลาดสื่อออนไลน์ คือ SME@Click เพื่อรองรับช่องทางการตลาดออนไลน์วงเงินงบประมาณ 95 ล้านบาท

    5.โครงการส่งเสริมธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กระทรวงสาธารณสุข สมาคมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย ฯลฯ วงเงินงบประมาณ 250 ล้านบาท

   6.โครงการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อการค้าชายแดน โดยใช้งบประมาณ 225 ล้านบาท 7.โครงการสนับสนุนการปรับปรุง/ฟื้นฟู เครื่องจักร ให้แก่ เอสเอ็มอี หรือ Machine Fund เพื่อลดภาระดอกเบี้ยแก่เอสเอ็มอี โดยชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการจำนวน 1,000 ราย ในอัตรา 5% ต่อปี วงเงินสนับสนุนไม่เกินรายละ 3.5 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปีวงเงินงบประมาณ 3,100 ล้านบาท และ 8.โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบและวิจัยพัฒนายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ วงเงินประมาณ 8,050.9 ล้านบาท

    “ทั้งหมดนี้ จะมีโครงการเร่งด่วนที่ควรดำเนินการภายใน 2-3 เดือน คือ โครงการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. โครงการเอสเอ็มอีรีสตาร์ท โครงการเชื่อมโยงการตลาด โครงการส่งเสริมธุรกิจบริการ และโครงการยกระดับเอสเอ็มอีผ่านการค้าชายแดน เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเอสเอ็มอีกำลังเดือดร้อนหนัก โดยเฉพาะด้านสภาพคล่องนายปฏิมา กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!