WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.อุตฯยุบคณะกรรมการกลั่นกรอง มุ่งตัดลดขั้นตอนการพิจารณาลง

   แนวหน้า : ก.อุตฯยุบคณะกรรมการกลั่นกรอง มุ่งตัดลดขั้นตอนการพิจารณาลง ประเดิมการออกใบอนุญาตรง.4 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปฏิบัติหน้าที่ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีคำสั่งยกเลิกคณะกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาอนุญาตโรงงานบางประเภทที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยืนยันว่าต่อจากนี้ในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) สามารถตัดลดขั้นตอนลง จนใช้ระยะเวลานานสุดไม่เกิน 45 วันเท่านั้น

    “ผมได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ยกเลิกคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาอนุญาตโรงงานฯ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯได้กำหนด เพื่อการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันตรายและสิ่งแวดล้อม และการกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตโรงงานก็เป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว ดังนั้น เมื่อหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถดำเนินการตามกรอบแนวทางที่กำหนดแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการดังกล่าวอีกต่อไปนายวิฑูรย์ กล่าว

    ทั้งนี้ ในระยะต่อไป ขั้นตอนการออกใบอนุญาตในทุกเรื่องของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ใบ รง.4 ของ กรอ. ประทานบัตร/อาชญาบัตร ของ กพร. และใบอนุญาตเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะต้องเป็นขั้นตอนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกจุด และสามารถชี้แจงแก่ผู้ยื่นคำขอได้ในทุกขั้นตอนว่าติดอยู่ที่ใคร โดยจะเริ่มต้นนำร่องจากการออกใบ รง.4

     นายวิฑูรย์ กล่าวว่า เรื่องเอกสารประกอบคำขออนุญาต หากไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอได้รับทราบว่าขาดเอกสารใด หากครบถ้วนแล้ว จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ปรับลดขั้นตอนลง จากเดิมกำหนดไม่เกิน 90 วัน ก็จะเหลือเพียง 45 วันนับตั้งแต่วันรับคำขอทั้งนี้หากผู้ประกอบการรายใดยื่นคำขออนุญาตใช้เวลาเกินกว่า 45 วันก็สามารถร้องเรียนได้ที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมโดยตรง

เตรียมชงประมูลสัมปทานปิโตรฯสางรง.4 รูฟท็อป

      ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ได้เห็นชอบแนวทางการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เพื่อเดินหน้าให้ไทยมีแหล่งพลังงานต่อไป โดยจะขอความเห็นชอบจากหัวหน้าฝ่ายบริหารของ คสช.ในเร็วๆ นี้

    นอกจากนี้ ในสัปดาห์หน้าจะเสนอหัวหน้า คสช.เพื่ออนุมัติแต่งตั้งประธานคณะกรรมการนโย บายพลังงานแห่งชาติ (กบง.) เพื่อให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านพลังงานต่างๆ ต่อไปได้ ส่วนการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน อาทิ ราคาดีเซล ราคาก๊าซธรรมชาติสำ หรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) นั้น จะต้อง หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้องก่อน โดยหากปัญหาไม่ซับซ้อนจะสามารถดำเนินการพิจารณาได้ภายในกลางเดือน มิ.ย.2557 นี้

   สำหรับ กรณีการปรับเปลี่ยน ผู้บริหาร (บอร์ด) รัฐวิสาหกิจนั้น ในวันที่ 31 พ.ค.2557 จะประชุมกับรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 56 แห่ง ซึ่งบอร์ดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมี 800 คน และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 26 ฉบับ ดังนั้นจะมีการพิจารณาอย่าง รอบคอบ ซึ่งการดำเนินการใดจะ เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และภายหลังจากประชุมพิจารณาแล้วจะกำหนดเป็นแนวทางเสนอต่อหัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินการตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมตามแนวทางต่อไป

   ส่วนปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนด้านกฎหมายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ของ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) นั้น คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้ชัดเจน รวมทั้งได้เร่งรัดให้กระทรวงพลังงานผลักดันด้านพลังงานทดแทนให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เป็นไปตามเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทน 25% ของพลังงานทั้งหมด ปัจจุบันมีการใช้เพียง 11% เท่านั้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!