- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 11 May 2023 23:14
- Hits: 1906
อุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทยจ่อคึกคัก ขานรับจีนเปิดประเทศ – ท่องเที่ยวฟื้น ชูงาน ‘พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023’ พลิกไทยสู่ความยั่งยืน
“อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย” มองภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติกและยางในอาเซียนและไทย ปีนี้ส่อแววขยายตัวแรง รับอานิสงส์ภาคท่องเที่ยวฟื้น-จีนเปิดประเทศ ชี้อุตสหกรรมต้องเร่งปรับตัวดักทางตลาดโลกมุ่งสู่ความยั่งยืน ชูงานใหญ่ “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023 : Plastic & Rubber Thailand 2023” ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาสู่ความยั่งยืน” งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักรและวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง แบบครบวงจรในประเทศไทย ผนึกกำลังงานอินเตอร์แมค และซับคอน ไทยแลนด์ 2023 ระดมผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจและกลุ่มพันธมิตรจากทั่วโลก พลิกโฉมประเทศไทยสู่การผลิตแห่งความยั่งยืน มาร่วมอัพเดทเทรนด์พลาสติกยุคใหม่เพื่อความยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2566 ณ ไบเทค บางนา
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของโลก จัดงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียงมากกว่า 450 งาน ใน 30 ประเทศ และนำพาผู้ซื้อและผู้ขายกว่า 15 อุตสาหกรรมทั่วโลกได้มาพบปะเจรจาธุรกิจ ในฐานะผู้จัดงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023 : Plastic & Rubber Thailand 2023” ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาสู่ความยั่งยืน” เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติกและยางในประเทศไทยและอาเซียนในปีนี้ เริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้นจากปี 2565 รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการเปิดประเทศของจีน รวมทั้งภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาเป็นปกติ โดยอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมปลายทาง อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การก่อสร้าง เป็นต้น
สำหรับ ประเทศไทย คาดว่าการส่งออกทั้งผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิ่นจะขยายตัวราว 3-5% โดย ไทย คือ หนึ่งในฐานการผลิตพลาสติกที่สำคัญของโลก และเป็นผู้ผลิตสินค้าหลักในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก 3 ประเภท คือ เม็ดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ และสินค้าสำเร็จอื่นๆ เช่น ท่อพลาสติก พลาสติกแผ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้ผลิตเพื่อส่งออกเม็ดพลาสติก โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และในอาเซียน และส่งออกสินค้าสำเร็จ ไปยังคู่ค้าในตลาดโลกเช่นเดียวกัน โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ อเมริกา ญี่ปุ่น และอาเซียน
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมพลาสติกและยางของไทย จำเป็นต้องปรับตัวก้าวให้ทันสถานการณ์ตลาดโลก ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกมุ่งสู่ความยั่งยืนและหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น ทั้งการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ฯลฯ ซึ่งขยายผลสู่การค้าตลาดโลกที่มีการเรียกเก็บภาษีมลพิษ Carbon Tax ที่จะผลกระทบต่อภาคการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่เห็นได้ชัด คือ การปรับใช้มาตรการภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ซึ่งเป็นการกำหนดราคากับกลุ่มสินค้าที่เข้าเกณฑ์การพิจารณาค่าคาร์บอนใน 5 กลุ่มแรก ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม โดยในอนาคตอาจมีการปรับเพิ่มสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เช่น พลาสติกและยาง ขณะเดียวกันไทยมีนโยบายโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG) หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN)
“กระแสด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่นักอุตสาหกรรมจะต้องเผชิญและต้องเร่งปรับตัว เพราะอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง มีกระบวนการผลิตที่การปล่อยคาร์บอนออกสู่สิ่งแวดล้อมในอัตราที่สูงมาก”
นายสรรชาย กล่าวว่า การจัดงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023 : Plastic & Rubber Thailand 2023” นับเป็นงานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักรและวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยางแบบครบวงจรในประเทศไทยและอาเซียน ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่จะได้แสดงศักยภาพในฐานะผู้จัดงานฯ ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาสู่ความยั่งยืน” และขานรับนโยบายโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยจุดเด่นของงานอยู่ที่การระดมผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยในแวดวงอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง รวบรวมไว้ในงานสูงสุด โดยดึงความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง อาทิ เทคโนโลยี เครื่องจักร เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ การออกแบบแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ บรรจุภัณฑ์ การก่อสร้าง อุปกรณ์ทางการเกษตร และอีกมากมาย
ผู้เข้าชมงานสามารถพบกับพื้นที่กิจกรรม DIGITALIZING AND DECARBONIZING ECOSYSTEM โดย บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และกลุ่มพันธมิตร บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย (Decarbonization of Plastic products in Thailand) ว่าด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติก และความร่วมมือในการเป็น Production Showcase
โดย มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ จะเป็นผู้ดำเนินการดึงข้อมูลจากเครื่องจักรและสาธรณูปโภค เพื่อเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ จากนั้นคำนวนคาร์บอนฟุตปริ้นออกมาในแต่ละผลิตภัณฑ์แบบ Real-time โดยนำเสนอผ่านแพลทฟอร์ม SCADA GENESIS64 ผู้ประกอบการจะสามารถดึงรายงานการใช้พลังงานในแต่ละผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างสะดวก ไม่ต้องบันทึกข้อมูลเองด้วยการจดบันทึก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการประเมินและจัดสรรการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พื้นที่จัดแสดงพิเศษ TDIA Pavilion ที่รวบรวมเทคโนโลยีทางด้านแม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง จากผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้นำเข้าอุปกณ์ ชิ้นส่วนประกอบที่เกี่ยวกับแม่พิมพ์ มาร่วมแสดงศักยภาพ และการให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนถึงกระบวนการผลิต เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ตอบรับการเติบโตของตลาดในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือทางการแพทย์ และชิ้นส่วนในอากาศยาน
นอกจากนั้น ภายในงานยังมีสัมมนาในหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทการปฏิบัติตนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พร้อมแนะแนวทางแก้ไขปัญหาในการผลิต ซึ่งผู้เข้าร่วมงานสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดธุรกิจต่อๆ ไปในอนาคตได้ อาทิ “เทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพมุ่งสู่อุตสาหกรรมการผลิต” (Bioplastics and Application) โดย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) “การผสมผสานเทคโนโลยีชีวภาพกับวัสดุคอมโพสิท และการใช้ในงานโครงสร้างเพื่อความยั่งยืน” โดย สมาคมไทยคอมโพสิท “อุตสาหกรรมยางเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน (Rubber Industry for Circular Economy) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ “แนวโน้มอุตสาหกรรมโพลิเมอร์เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนของโลก” และ “การพัฒนาสูตรยาง ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต” (Developing Rubber Formulas : Now and Future Trends) โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ร่วมกับสมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย (PST) เป็นต้น อีกทั้งภายในงานยังมีการจับคู่ทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้แสดงสินค้า ผู้เข้าชมงานสูงสุด
มาร่วมอัพเดทเทรนด์พลาสติกยุคใหม่เพื่อความยั่งยืน ได้ที่งาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยจัดแสดงงานร่วมกับงานอินเตอร์แมค งานแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพื่อการผลิต และงานซับคอน ไทยแลนด์ ซึ่งรวบรวมผู้รับช่วงการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน หรือ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.plasticrubberthailand.com
A5383