WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สถาบันอาหาร คาดมูลค่าส่งออกปีนี้แตะ 1 ล้านลบ.,ปี 58 โต 6.9%

     นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร  กล่าวถึงภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในปี 57 คาดว่าจะมีมูลค่า 1.01 ล้านล้านบาท  หรือขยายตัว 15.4% ทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าอาหารแตะระดับมูลค่าล้านล้านบาทได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งแนวโน้มในไตรมาสสุดท้ายนั้นคาดว่าจะยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูการส่งมอบสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มอาหารแปรรูปที่ผู้นำเข้าเริ่มสต๊อกสินค้าไว้จำหน่ายในช่วงฤดูหนาวและเทศกาลปลายปี ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่าลงเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนการส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น

   ทั้งนี้ สินค้าส่งออกหลักที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 5 สินค้า ได้แก่ ข้าว ปริมาณการส่งออก 10.28 ล้านตัน มูลค่า 1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.4% มันสำปะหลังไม่รวมแป้ง ปริมาณการส่งออก 10.36 ล้านตัน มูลค่า 9.25 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.4% ไก่ ปริมาณการส่งออก 6.14 แสนตัน มูลค่า 8.12 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.8% เครื่องปรุงรส ปริมาณการส่งออก 2.82 ล้านตัน มูลค่า 1.89 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% และสัปปะรดกระป๋อง ปริมาณการส่งออก 5.80 แสนตัน มูลค่า 1.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% และอีก 3 สินค้าส่งออกหลักที่คาดว่ามีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย ปริมาณการส่งออก 5.70 ล้านตัน มูลค่า 7.97 หมื่นล้านบา ลดลง 6.7% ปลาทูน่ากระป๋อง ปริมาณการส่งออก 5.96 แสนตัน มูลค่า 7.74 หมื่นล้านบาท ลดลง 3.3% และกุ้ง ปริมาณการส่งออก 1.64 แสนตัน มูลค่า 6.47 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.5%

    ขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารไทย 10 เดือนแรกปี 57 มีมูลค่า 8.51 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5% เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 7.53 แสนล้านบาท เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากเศรษฐกิจแบะการค้าในภูมิภาคที่มีการขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทสอาเซียน (AEC) และจีน ทำให้ความต้องการสินค้าวัตถุดิบและสินค้าเพื่อบริโภคขยายตัวขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรับฯได้อ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและวัตถุดิบอ่อนตัว ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ประกอบกับตลาดใหม่อย่างรัสเซียเริ่อมมีการนำเข้าอาหารไทยมากขึ้น

    นอกจากนี้ สินค้าส่งออกหลักที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น 5 สินค้า จาก 8 สินค้า ได้แก่ ข้าว มูลค่า 1.39 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มูลค่า 7.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.5% ไก่ มูลค่า 6.63 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.3% เครื่องปรุงรส มูลค่า 1.58 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% และสัปปะรดกระป๋อง มูลค่า 1.39 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% ส่วนอีก 3 สินค้าส่งออกหลักที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย มูลค่า 7.31 หมื่นล้านบา ลดลง 6.5% ปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่า 6.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 3.6% และกุ้ง มูลค่า 5.29 หมื่นล้านบาท ลดลง 7.5%

    สำหรับ 5 อันดับประเทศที่ไทยมีการส่งออกไปสูงสุดใน 10 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ กลุ่มอาเซียน (AEC) มีสัดส่วน 22.1% ญี่ปุ่น สัดส่วน 12.9% จีน สัดส่วน 11.7% สหภาพยุโรป สัดส่วน 11% และสหรัฐอเมริกา สัดส่วน 10.6% ทั้งนี้การส่งออกไปยังตลาดในกลุ่มอาเซียนและจีนได้มีการขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกานั่นมีสัดส่วนลดลง

     “ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยเริ่มมีการพึ่งพิงตลาดในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนและจีน เนื่องจากมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างมากและรวดเร็วและมีประชากรที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการติดต่อค้าขายเพื่อการส่งออกสินค้ามีข้อจำกัดไม่มาก จากนี้ไปการส่งไทยจะมีแนวโน้มเริ่มลดการพึ่งพิงตลาดหลักที่ใหญ่ๆ อย่างเช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นลง ซึ่งปัจจุบันทั้งยุโรปและญี่ปุ่นนั้นก็มีปัญหาเศรษฐกิจอยู่ ยกเว้นแต่สหรัฐฯที่มีการฟื้นตัวขึ้น"นายเพ็ชร กล่าว

    สำหรับ แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 58 นายแพ็ชร คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ราว 1.08 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.9% จากปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง และนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมไปถึงอานิสงส์ของตลาดใหม่อย่างรัสเซียที่หันมานำเข้าสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรัสเซียเป็นหนึ่งในตลาดอาหารขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูง

      อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ทำให้รายได้จากการส่งออกสินค้าอาหารลดลง เช่น ข้าว น้ำตาลทราย ประกอบกับยังเผชิญภาวะเงินฝืดที่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และตั้งแต่ต้นปี 58 เป็นต้นไปประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีอาการ (GSP) จากทางสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบนี้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้แนวโน้มประเทศที่คาดว่าจะเป็นประเทศตลาดส่งออกอาหารที่น่าสนใจและคาดว่าจะเติบโตในปีหน้า ได้แก่ จีน เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และรัสเซีย

        ในส่วนสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประกอบด้วย 6 สินค้า ได้แก่ ข้าว คาดว่าขายตัว 2.4% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คาดว่าขยายตัว 9.4% ไก่ คาดว่าขยายตัว 7.1% กุ้ง คาดว่าขยายตัว 20.4% ปลาทูน่ากระป๋อง คาดว่าขยายตัว 0.7% และเครื่องปรุงรส คาดว่าขยายตัว 7.4% จะมีเพียงการส่งออกสัปปะรดกระป๋องที่คาดว่าจะหดตัว 3% และน้ำตลาดทรายที่คาดว่าจะหดตัว 5.4% เนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านวัตถุดิบและสภาวะภัยแล้ง

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!