- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 28 August 2022 19:27
- Hits: 4201
‘ดีพร้อม’ ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม 82 จุดทั่วประเทศ
ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมด้านการผลิต ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ทั้งหมด 5 จุด มีประชาชนเข้าร่วม จำนวน 1,000 คน ประกอบด้วย หอประชุมสนามกีฬา วัดประกาย วัดหนองเสาเถียร หอประชุม อบต. และ วัดดอนสัก อ.กงไกรลาศ ในขณะเดียวกัน นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมด้านการผลิต ณ วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมด้านการผลิต ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
การลงพื้นที่ช่วยประชาชนดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ประกอบด้วย 2 หลักสูตร ดังนี้ 1 หลักสูตรลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2 หลักสูตรเพิ่มรายได้ ได้แก่ การทำเหรียญโปรยทาน และการสกรีนกระเป๋าผ้า ซึ่งจะเป็นการลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับชุมชน โดยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรืออาชีพดีพร้อม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
สำหรับในวันนี้ ดีพร้อม ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ทั้งหมด 82 จุด 22 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ 2 จุด จ.พิจิตร 6 จุด จ.สุโขทัย 5 จุด จ.นครสวรรค์ 2 จุด จ. ลพบุรี 2 จุด กรุงเทพมหานคร 5 จุด จ.สมุทรปราการ 2 จุด จ.สมุทรสาคร 5 จุด จ.ชัยภูมิ 3 จุด จ.อุดรธานี 6 จุด จ.บึงกาฬ 2 จุด จ.ศรีสะเกษ 2 จุด จ.ฉะเชิงเทรา 1 จุด จ.ระยอง 4 จุด จ.ชลบุรี 1 จุด จ.ราชบุรี 2 จุด จ.เพชรบุรี 7 จุด จ. ประจวบคีรีขันธ์ 2 จุด จ.ตรัง 7 จุด จ.ระนอง 2 จุด จ.ภูเก็ต 1 จุด จ.พัทลุง 13 จุด
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริมฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าในการพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยดำเนินการผ่านรูปแบบหลักสูตรการพัฒนา 4 หลักสูตรหลักๆ ได้แก่ หลักสูตรที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต หลักสูตรที่ 2 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ หลักสูตรที่ 3 กิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และหลักสูตรที่ 4 กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ
A81085