- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 28 August 2022 19:17
- Hits: 4270
‘อโกรว์พลัส’ เปิดตัวธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร ตั้งเป้ายกระดับภาคเกษตรแบบเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่
บริษัท อโกรว์พลัส จำกัด ผู้ให้บริการนวัตกรรมธุรกิจการเกษตรในรูปแบบ B2B2C4E หรือ Business-to-Business-to-Customer ตัวกลางสำคัญในการเชื่อมต่อธุรกิจทางการเกษตรระหว่างเจ้าของธุรกิจ กับ เจ้าของธุรกิจ สู่ผู้บริโภค จัดแถลงข่าวเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการ โดยมี คุณตะวัน น้อยมีธนาสาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คุณวิลลี่ แมคอินทอช, คุณหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค คณะกรรมการผู้บริหาร บริษัท อโกรว์พลัส จำกัด ผนึกกำลังเพื่อพัฒนาและยกระดับภาคเกษตรแบบเดิมให้กลายเป็นเกษตรสมัยใหม่ พร้อมเปิดตัวบริษัทในเครือ ประกอบด้วย บริษัท อะโกรว์แล็บ จำกัด หน่วยวิจัยและเทคโนโลยี ในรูปแบบของโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) และการปลูกพืชในโรงเรือน (Greenhouse), บริษัท เธอร์บาลิสต้า จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกกลางแจ้งมาตรฐานออร์แกนิค, บริษัท อะโกรว์ฟาร์ม จำกัด จัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และ บริษัท อโกรว์แคร์ จำกัด จัดจำหน่ายผลผลิตแปรรูปทางการเกษตร เช่น ยา อาหารเสริม เครื่องสำอาง บริษัท อโกรว์พลัส จำกัด ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อโมเดลการทำธุรกิจทางการเกษตรครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ทั้งในระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาธุรกิจ การต่อยอดทางธุรกิจ การร่วมลงทุน ไปจนถึงผู้บริโภครายย่อย โดยมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับการเกษตรแบบเดิมให้กลายเป็นเกษตรสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย
นายตะวัน น้อยมีธนาสาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อโกรว์พลัส จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ เปิดเผยถึงที่มาของ AgrowPlus ว่า เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แนวโน้มจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต รวมถึงประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารของโลก ประกอบกับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 สิ่งที่คนทั้งโลก ต้องเผชิญ คือ สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงัก อีกทั้งระบบห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั่วโลกเกิดความกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร ยกตัวอย่างเช่น อินโดนีเซีย จำกัดเรื่องการส่งออกปาล์ม อินเดีย จำกัดการส่งออกน้ำตาล และข้าวสาลี มาเลเซีย จำกัดการส่งออกไก่ อาร์เจนติน่า จำกัด การส่งออกถั่วเหลือง บริษัทฯ จึงเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในการเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทยให้ดีขึ้น สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและยารักษาโรคด้วยวัตถุดิบทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่มาของ AgrowPlus และบริษัทในเครือทั้งหมด
โดยการทำงานของ AgrowPlus และบริษัทในเครือ ทำงานอยู่ภายใต้การบริหารงานแบบ 4E ก็คือ 4E-Marketing 5.0 ได้แก่ Experience: สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า Exchange: สร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้ายอมรับในผลิตภัณฑ์ Everywhere: ทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จากทุกที่ และ Evangelism: สร้างลูกค้าขาประจำเพื่อให้เกิด Brand Loyalty สำหรับ ความแตกต่างของ AgrowPlus นั้นจะช่วยยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ต้องเพาะปลูกตามวิถีธรรมชาติ ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น สภาพแวดล้อมมาจากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงศัตรูพืชต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลิตผล รวมถึงการใช้ “สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช” แม้ว่าจะควบคุมคุณภาพและปริมาณได้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปัญหา สารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง ทั้งเป็นภัยต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ยังเป็นภัยต่อระบบนิเวศวิทยา
ด้วยเหตุนี้เอง AgrowPlus จึงเล็งเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค “เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร” หรือที่ภาครัฐ เรียกว่า “เกษตร 4.0” การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ในภาคการเกษตร ย่อมเปลี่ยนวิถีการเกษตร เข้าสู่ “วิถีเกษตรแม่นยำ” ตั้งแต่เริ่มต้นเพาะปลูกจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว ทำให้สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตรได้ดีขึ้น และยังเป็นการยกระดับผลิตผลทางการเกษตร ให้เข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ตอบโจทย์ในเรื่องมาตรฐานวัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัย
ทั้งนี้ เป้าหมายของ AgrowPlus ต้องการจะช่วยให้การเกษตรของประเทศดีขึ้น โดยการเข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) สามารถตอบโจทย์ในเรื่องมาตรฐานวัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัย ซึ่งช่วยให้ประเทศดีขึ้นในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ มุมผู้บริโภคได้วัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ผู้คนสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ประกอบกิจการงานได้ตามปกติ เศรษฐกิจของประเทศก็เดินหน้า ส่วนในมุมของ เกษตรกร หากเกษตรกรเข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และ ได้มาตรฐานการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ผลผลิตที่ออกมาก็จะได้มาตรฐานที่ดี ปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการทางธุรกิจมั่นใจ
เกษตรกรสามารถขายผลิตผลทางการเกษตรได้มากขึ้น ราคาดีขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ย่อมดีขึ้น เป็นภาระของภาครัฐน้อยลง และในมุมของ ภาคธุรกิจ ทั้งรายย่อย และรายใหญ่ ที่ต้องนำผลิตผลทางการเกษตร มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และแปรรูป ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ตอบโจทย์ นโยบายทางเศรษฐกิจ ที่ตั้งเป้าหมายว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และสุดท้ายในมุมของ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจเพื่ออนาคต หรือเรียกว่า New S-Curve อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ประกอบด้วย การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) และ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
นายตะวัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ไฮไลท์ที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) เพราะประเทศไทยยังไม่มียาตำรับแพทย์แผนไทยเข้าสู่ตลาดโลก หนึ่งในสาเหตุหลักๆ ก็คือ วัตถุดิบสมุนไพรไทย ซึ่งถ้าเราสามารถยกระดับอุตสาหกรรมยาไทย ประเทศไทยจะมีแบรนด์ของยาไทยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ และสมุนไพรไทยจะกลายเป็นสินค้าส่งออกติด Top 10 หรือ แม้กระทั่งผลิตผลทางการเกษตร ที่ไม่เคยผ่านมาตรฐานการตรวจสอบสารปนเปื้อนต่างๆ และเคยถูกตีกลับ ก็จะกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง ถ้าอยากเห็นประเทศไทยก้าวเข้าสู่ New S-Curve ในธุรกิจและอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็ต้องเริ่มที่วันนี้ และนี่คือสิ่งที่กลุ่ม AgrowPlus ของเรา กำลังดำเนินการ ไม่ได้ตอบโจทย์แค่ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม แต่เป็นการตอบโจทย์ในระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ
การดำเนินงานในกลุ่ม AgrowPlus ครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้เงินลงทุนไปจำนวนงบลงทุนประมาณ 50-55 ล้านบาท ส่วนใหญ่กว่า 80-90% เป็นงบลงทุน ที่ใช้เพื่อการวิจัย ค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร ส่วนที่เหลือเป็นงบลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัทในกลุ่ม Agrow เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วนกลุ่มเป้าหมายของ AgrowPlus กลุ่มเกษตรกร ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ และผู้บริโภค ทุกเพศ ทุกวัย ในส่วนแผนการตลาด และช่องทางการเข้าถึงลูกค้า บริษัทฯเลือกใช้ช่องทางผ่านทั้ง Online และ Offline Marketing โดยวางแผนการตลาดผ่านแนวคิด 4E + Marketing 5.0 มาไว้ร่วมกัน Marketing 5.0 มีองค์ประกอบหลัก คือ Data Driven: ข้อมูล เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยทำให้การตัดสินใจแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้น Agile: การตลาดที่พร้อมปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Predictive: การวิเคราะห์ ติดตามการเปลี่ยนแปลง ประเมินและคาดการณ์ความเป็นไปได้ และ Contextual: เข้าใจบริบทของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบไหน Augmented: เสริมประสิทธิภาพ
ประธานกรรมการบริหาร AgrowPlus มองการแข่งขันในธุรกิจนี้ ว่า ทุกธุรกิจ ทุกวงการ ล้วนแข่งขันกันอย่างรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการเกษตร และในแต่ละประเทศ ก็ต้องยอมรับว่า ทุกธุรกิจย่อมมีกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับผู้นำ ถามว่า เราจะไปแข่งขันกับเค้าเหรอ หรือเราจะแข่งขันแบบให้ตายกันไปข้างนึงเหรอ ถ้าเรามองแบบนั้น เรียกว่า ไม่ใช่การแข่งขันที่ดีในเชิงธุรกิจ เพราะว่าการดำเนินธุรกิจแบบสู้กันไปสู้กันมา มันมีฝ่ายแพ้กับฝ่ายชนะ ที่เรียกว่า “Win-Lose Solution” นั่นไม่ใช่แนวทางของเรา แต่แนวทางธุรกิจของกลุ่ม Agrow คือ เราพร้อมเดินทางบนถนนเส้นทางเดียวกัน เป็นมิตรกับทุกคน เพื่อร่วมกันยกระดับธุรกิจของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดโลกดีกว่า ว่ากันง่ายๆ ก็คือ เน้นการแข่งขันทางธุรกิจในรูปแบบ “Win-Win Solution”
สำหรับในส่วนของรายได้ ตั้งแต่ปี 2563-ปัจจุบัน กลุ่ม Agrow เน้นเรื่องการวิจัย ค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการวางโครงสร้างของกลุ่ม ในปี 2565 จึงยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายรายได้อย่างชัดเจน ในตอนนี้กลุ่มลูกค้าและพันธมิตรของเราเติบโตขึ้นอย่างมาก และคาดว่าภายในปีนี้กลุ่มลูกค้าจะเติบโตขึ้น 200% และเราคาดว่างบการลงทุนที่ได้ลงทุนไป จะคืนทุนได้ภายในกลางปีหน้า สำหรับการวางเป้าหมายรายได้ ตามแผนธุรกิจของกลุ่ม Agrow จะแจ้งอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2566 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพืช กัญชา และกัญชง กำลังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด และมีการปลดล็อกให้มีการปลูกได้อย่างเสรี AgrowPlus ในฐานะผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการปลูกครบวงจร ได้ให้มุมมองกับพืชทั้ง 3 ก. นี้ไว้ ดังนี้ เนื่องจากพืชทั้ง 3 ชนิด นี้ เป็นกลุ่มพืชที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ และยังโอกาสทางธุรกิจอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงด้านการส่งออก
ท้ายสุดนี้ นายตะวัน น้อยมีธนาสาร ในฐานะประธานกรรมการบริหาร กล่าวถึง จุดเริ่มต้นธุรกิจนี้ว่า เริ่มมาจาก เมื่อครั้งหนึ่งผมได้พบกับ คุณวิลลี่ แมชอินทอช และ คุณหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค ได้หันมาทำไร่ปลูกผักปลอดสารพิษ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา หรือที่รู้จกักันในชื่อ วินฟารม์ จนวันนึง เราได้คุยเรื่องเกษตรแนวปลอดสารพิษกับเพื่อนที่กำลังวุ่นกับเรื่อง Plant Factory ของหน่วยงานนึง ที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้าง คุยกันไป คุยกันมาก็เลยพากันไปดูการเพาะปลูกแบบ Plant Factory หรือ โรงงานผลิตพืช ที่ AgrowLab ที่เป็นการเพาะปลูกระบบปิด ควบคุมทุกอย่างด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลิตผลทางการเกษตรที่ได้ เป็นไปตาม มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ซึ่งเป็นระบบการปลูกพืชแบบใหม่ของประเทศไทย
สำหรับ AgrowLab ทำธุรกิจวิจัย ค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร ออกแบบ รับเหมาก่อสร้าง และติดตั้งระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Plant Factory (โรงงานผลิตพืช) และ Greenhouse (โรงเรือนกรีนเฮาส์) นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบที่สามารถสนับสนุนภาคเกษตรแบบ Outdoor (กลางแจ้ง) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทีม AgrowLab มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ร่วมกับพันธมิตรทางวิชาการ และพันธมิตรทางธุรกิจ หลายราย ซึ่งนี่คือ จุดแข็งของ AgrowLab เกษตรวิทยาศาสตร์ (Agriculture Science) กับ เกษตรอินทรีย์ (Organic) มันเจอกันได้ เป็นส่วนผสมที่ลงตัว เมื่อ AgrowLab มีจุดแข็งแบบนั้น บวกกับเราทำงานอยู่ในแวดวงของสื่อสารมวลชน นั่นเป็นจุดแข็งของเรา จึงเริ่มต้นปรึกษาหารือกัน โดยการร่วมมือกัน AgrowLab สนับสนุนเรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร ส่วน AgrowPlus จะเป็นทีม Business Matching ในรูปแบบ B2B2C4E และร่วมกันสร้างกลุ่ม Agrow ขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร
A81084