WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สศอ.คาดปี 58 ความต้องการเหล็กโต 3% พร้อมเล็งลดโควต้าจากญี่ปุ่น

    แนวหน้า : นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นได้มีการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า JTEPA เมื่อปี 2550  โดยภายใต้ความตกลง มีประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กของทั้ง 2 ประเทศ การกำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งภายใต้ความตกลง ไทยจะยกเว้นภาษีศุลกากรในบางพิกัดเป็นระยะเวลา 10 ปี (ปี 2550-2559) รวมทั้งการดำเนินโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทย

    สำหรับ ในการดำเนินการภายใต้ความตกลง JTEPA ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2557 ฝ่ายไทยได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน (Q9) ประมาณปีละ 440,000-530,000 ตัน 2.เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอนน้อยกว่า 0.01%) (Q10) ประมาณปีละ 170,000-350,000 ตัน และ 3.เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.01-0.1 %)(Q11) ประมาณปีละ 300,000-400,000 ตัน ซึ่งปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 50-80 ของปริมาณนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนทั้งหมดจากญี่ปุ่น

     นายอุดม กล่าวว่า จากปริมาณเหล็กที่มีจำนวนมากอยู่ขณะนี้ ทำให้ทาง สศอ. จะมีการพิจารณาปรับลดโควตาเข้านำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่นลงให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปีหน้า โดยแนวทางพิจารณาโควตาเหล็กนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าเหล็กจากประเทศญี่ปุ่นจะพิจารณาจากความต้องการใช้จริงเท่านั้น ซึ่งปีที่ผ่านมามีการนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่นสูงตามคาดการณ์การผลิตรถยนต์ที่คาดว่าจะผลิตได้ 2.5-2.6 ล้านคัน แต่ความจริงไม่สามารถผลิตได้ตามคาดการณ์จึงมีเหล็กส่วนเกินจำนวนมาก นอกจากนี้ สศอ.ยังมีนโยบายที่จะส่งเสริมและยกระดับศักยภาพศูนย์ทดสอบของสถาบันเหล็กสู่การเป็นศูนย์ทดสอบของอาเซียน โดยเป้าหมายการยกระดับ คือ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย ซึ่งเรื่องนี้จะหารือกับทางญี่ปุ่นเพื่อสรุปการนำเข้าอีกครั้งในวันที่ 11 ธันวาคม 2557

     สำหรับ ความต้องการใช้เหล็กในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อีกส่วนใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งโดยปีหน้าคาดว่าจะมีความต้องการใช้เหล็ก 17-17.4 ล้านตัน แบ่งเป็นเหล็กที่ผลิตในประเทศ 6.2 ล้านตัน และนำเข้าประมาณ 11.2 ล้านตัน ซึ่งภาวะความต้องการใช้เหล็กค่อนข้างทรงตัวจากปีนี้ เพราะโครงการลงทุนภาครัฐแม้อนุมัติปลายปีนี้และต้นปีหน้ากว่าจะดำเนินการก่อสร้างจะต้องใช้เวลา คาคว่าจะเริ่มปลายปี 2558 ถึงต้นปี 2559 ทำให้ความต้องการใช้ในประเทศปีหน้าคงเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 3

    นายอุดม กล่าวว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 2-3 ปรับตัวดีขึ้นจากปีนี้ที่ติดลบร้อยละ 1.5-2 หลังจากที่ช่วงไตรมาส 1-3 ของปีนี้หดตัวร้อยละ 1.7 ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI ช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าติดลบร้อยละ 5.1 แต่เศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จะช่วยให้ดัชนีติดลบเพียงร้อยละ 4 ขณะที่ในปีหน้าจะได้รับอานิสงค์จากเศรษฐกิจโลกของสหรัฐอเมริกาและอาเซียนฟื้นตัวดีขึ้น และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 3.8  รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 20 และราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง ส่งผลดีต่ให้ ดัชนี MPI ขยายตัวร้อยละ 4 ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำก็ตาม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!