WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1ภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จับมือ ภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 54 พื้นที่ 39 จังหวัด สู่ต้นแบบ ‘เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ ยกระดับเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และปรับสมดุลสิ่งแวดล้อม

       นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครั้งที่ 8-1/2565 โดยมี นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางนิศากร วิศิษฎ์สรอรรถ ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ กระทรวงมหาดไทย นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางบุปผา กวินวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนจาก 39 จังหวัด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) เข้าร่วมประชุม

เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีที่อยู่ในคณะกรรมการฯ เสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระบวนการยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแผนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

   นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในครั้งนี้ เป็นการรับทราบ

   1. ความก้าวหน้าการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งผลปรากฎว่ามีเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 จำนวน 18 พื้นที่ 15 จังหวัด ผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดระยอง 2 พื้นที่ จังหวัดปทุมธานี 1 พื้นที่ และจังหวัดนครราชสีมา 1 พื้นที่ และผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) จำนวน 14 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ฉะเชิงเทรา ราชบุรี สุราษฎร์ธานี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ปทุมธานี สระบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี ปราจีนบุรี จังหวัดละ 1 พื้นที่ และ สงขลา 2 พื้นที่

นอกจากนี้ ในส่วนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 1 อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างผาสุก (Eco – Champion) จำนวน 36 แห่ง ระดับที่ 2 พัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม (Eco – Excellence) จำนวน 15 แห่ง และระดับที่ 3 พัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า (Eco – World Class) จำนวน 5 แห่ง

   2. ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน และการใช้สารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเลิกใช้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งดำเนินงานโดย UNIDO”

   นายภานุวัฒน์ กล่าวต่อว่า ภายใต้นโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดให้การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม เป็นการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ

โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย จะเร่งส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับโรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่เป้าหมาย 39 จังหวัด ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวหรือโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิต ประหยัดพลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยมลพิษ

รวมทั้งประกอบกิจการไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ รวมทั้งให้การสนับสนุน พัฒนา ยกระดับ และขับเคลื่อนพื้นที่เป้าหมายให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยผ่านกลไกโครงสร้างการบริหารการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน

โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวสู่ ‘เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ สร้างสมดุล 5 มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบาย BCG Model ของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดการเกิดของเสียโดยจัดการใช้ทรัพยากรภายในสถานประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   ด้าน นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งจะเป็นแผนระดับที่ 3 ของประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการ หรือแผนในเชิงปฏิบัติที่มีความชัดเจนตามภารกิจของส่วนราชการที่สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของประเทศ

ซึ่งมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายนำไปสู่การแก้ไขประเด็นข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมขับเคลื่อนยกระดับการพัฒนามุ่งสู่ต้นแบบ ‘เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ควบคู่ไปกับการสร้างชุมชนและเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน

โดยเป้าหมายของร่างแผนฯ ภายในปี พ.ศ. 2570 จำนวนพื้นที่ที่พัฒนาเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวม 54 พื้นที่ 39 จังหวัด จะมีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของพื้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 หรือจำนวนธุรกิจชุมชนที่เกิดจากความร่วมมือของอุตสาหกรรมและชุมชนมีมากขึ้นร้อยละ 5 จำนวนคนในพื้นที่มีงานทำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 หรือระดับความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3.2 ล้านตัน ใน 54 พื้นที่ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ชุมชน 0.5 ล้านตัน

   สำหรับพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 54 พื้นที่ 39 จังหวัด กำหนดแผนการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

   ระยะที่ 1 จำนวน 18 พื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (2 พื้นที่) ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี (2 พื้นที่) ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา (2 พื้นที่)

   ระยะที่ 2 จำนวน 4 พื้นที่ 4 จังหวัดใหม่ ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด และ11 พื้นที่ใหม่ ใน 11จังหวัดเดิม ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา และราชบุรี รวมทั้งสิ้น 15 พื้นที่

   ระยะที่ 3 จำนวน 21 พื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุดรธานี อุบลราชธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ และภูเก็ต (2 พื้นที่)

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!