WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7498 ผลิตภัณฑ์สรรยาบาติก

เปิดเรื่องราวสรรพยาบาติกหัตถกรรมของดีเมืองชัยนาท จากไอเดียผสมผสานอัตลักษณ์ชุมชนร่วมกับลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ สู่เป้าหมายสินค้าระดับพรีเมียม

ดีพร้อมดึงนักวิชาการปั้นแบรนด์แฟชั่นชุมชน สรรพยาบาติกส่งเสริมทักษะช่างฝีมือ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ พร้อมหนุนช่องทางขายออนไลน์

 

          หากนึกถึงผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก หลายคนคงนึกถึงสินค้าของฝากยอดนิยมจากภาคใต้ แต่ในปัจจุบันที่กระแสนิยมสวมใส่ผ้าไทย รวมถึงผ้าบาติกกำลังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นชุมชนที่เคยมีช่างฝีมือสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมผ้าบาติก สนใจกลับมาพลิกฟื้นวิชาชีพและปลุกปั้นแบรนด์ สรรพยาบาติก ขึ้นมาตอบรับเทรนด์แฟชั่นผ้าไทย อีกทั้งเป็นการกลับมารวมกลุ่มกันในชุมชนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางด้านกลุ่มอาชีพ

          อย่างไรก็ดีการฟื้นฟูทักษะด้านงานฝีมือให้กับคนในชุมชน และกลับมาสร้างแบรนด์ผ้าบาติกที่เข้มแข็งนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายในระดับกลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนกระบวนการพลิกฟื้นทักษะอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการขายอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ดีพร้อม (DIPROM) หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้ดึงนักวิชาการเข้ามาร่วมโปรเจกต์ฟื้นทักษะงานหัตถกรรมผ้าบาติกของชุมชนสรรพยา จนเกิดเป็นการร่วมงานกันระหว่างชุมชน นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่น่าประทับใจ และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

 

7498 อ นิเวศ เผื่อนทิม

 

          อาจารย์นิเวศ เผื่อนทิม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และนักวิชาการผู้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนสรรพยา เล่าให้ฟังว่าเดิมทีชุมชนสรรพยามีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์งานหัตถกรรมผ้าบาติก โดยมีหัวหน้าช่างฝีมือที่มีองค์ความรู้ และใช้เทคนิคแบบมาเลเซียคือการวาดลายผ้าด้วยมือ จากนั้นเมื่อหัวหน้ากลุ่มย้ายถิ่นฐานจึงทำให้ชุมชนขาดผู้นำในการฝึกทักษะ และห่างหายจากการสร้างสรรค์ผลงานผ้าบาติกไปเป็นระยะเวลานาน โจทย์ของการลงพื้นที่ในฐานะนักวิชาการที่จะเข้าไปฟื้นฟูทักษะงานหัตถกรรมผ้าบาติก และริเริ่มการรวมกลุ่มอาชีพช่างฝีมืออีกครั้งจึงจำเป็นต้องมีวิธีการคิดที่ยั่งยืน และออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกับชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

          อาจารย์นิเวศ เล่าต่อว่าการพลิกฟื้นกลุ่มสรรพยาบาติกอย่างยั่งยืน เริ่มจากกระบวนการต้นน้ำอันเป็นรากฐานที่สำคัญ นั่นก็คือการสร้างบุคลากรที่มีความรู้เรื่องการผลิตผ้าบาติกให้กลับมาอีกครั้ง โดยเริ่มจากการรวบรวมช่างฝีมือชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการผลิตผ้าบาติกในแบบฉบับชาวสรรพยามาถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิชาการ และช่างฝีมือรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการสืบทอดองค์ความรู้ในชุมชน รวมทั้งป้องกันปัญหาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สูญหายไปตามกาลเวลา เมื่อเกิดกระบวนการรื้อฟื้นทักษะช่างฝีมือขึ้นแล้ว ขั้นต่อไปคือกระบวนการกลางน้ำ หรือการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก ซึ่งนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความร่วมสมัย เป็นที่สนใจของตลาดในปัจจุบัน

 

7498 แฟชั่นโชว์สรรพยาบาติก

 

          “ไอเดียการสร้างความโดดเด่นซึ่งเป็นจุดขายของสรรพยาบาติกยุคใหม่ คือการผสมผสานลายขอ ซึ่งเป็นลายผ้าบาติกที่ได้รับพระราชทานจากเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เข้ากับอัตลักษณ์ของชุมชน นั่นก็คือลายเชิงชายคาโรงพักสรรพยา 100 ปี ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของชุมชนสรรพยา ออกมาเป็นลวดลายผ้าบาติกแบบใหม่คล้ายนกฮูก สะท้อนถึงความร่วมสมัยของแฟชั่นผ้าไทยกับเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชุมชน นอกจากลวดลายผ้าที่ได้รับการออกแบบใหม่ ยังมีการใช้เทคนิคการซ้อนสีทำให้มีการไล่เฉดสีบนผ้ามากขึ้น รวมถึงได้ปรับปรุงวิธีการวาดลวดลายผ้าโดยใช้เทคนิคแบบอินโดนีเซียซึ่งใช้แม่พิมพ์ในการพิมพ์ลายผ้า ทำให้ได้ลวดลายที่มีความแม่นยำ สามารถผลิตผ้าได้จำนวนมากขึ้น นอกเหนือจากกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกผ่านการร่วมกันออกแบบลวดลายและวิธีการผลิตผ้าแบบใหม่ เรายังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเทศบาลจัดโครงการผู้ตัดเย็บหน้าใหม่ เพื่อสร้างบุคลากรในชุมชนที่มีความสามารถในการตัดเย็บมากขึ้น จนปัจจุบันมีช่างฝีมือในชุมชนประมาณ 10 คน เกิดเป็นความยั่งยืนด้านบุคลากรช่างฝีมือ

 

sme 720x100

PTG 720x100

 

          “เมื่อริเริ่มกระบวนการต้นน้ำและกลางน้ำ โดยการฟื้นคืนทักษะด้านอาชีพ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมถึงสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมแล้ว จึงเกิดเป็นกระบวนการปลายน้ำนั่นก็คือการสร้างช่องทางการขายที่ยั่งยืนให้กับชุมชน ผ่านการจัดตั้งโครงการห้องเสื้อสรรพยาเพื่อเปิดหน้าร้านให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนได้สัมผัสสินค้า และพูดคุยกับช่างฝีมือเพื่อบอกเล่าความต้องการเฉพาะและสามารถสั่งผลิตผ้าบาติกตามความชอบได้ โดยในอนาคตยังตั้งเป้าพัฒนาการขายสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น และเปิดพื้นที่ให้ผู้ซื้อได้แลกเปลี่ยนความต้องการผ้าบาติกแบบเฉพาะกับช่างฝีมือได้โดยตรงอีกด้วย ส่วนเป้าหมายของกลุ่มอาชีพสรรพยาบาติกในระยะยาวคือการพัฒนาคุณภาพสินค้า และแสวงหาไอเดียใหม่ๆ จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผลงานให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไปจนถึงการปั้นแบรนด์สรรพยาบาติกสู่แบรนด์ผ้าบาติกที่เป็นสินค้าชุมชนระดับพรีเมียมอาจารย์นิเวศ กล่าวทิ้งท้าย

 

7498 DIPROM 2

 

          ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เล่าถึงการทำงานร่วมกัน ระหว่าง กรมฯ โดยดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) กับนักวิชาการสนับสนุนชุมชนสรรพยาการเข้ามาส่งเสริมชุมชนสรรพยาในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมผ้าบาติกของดีพร้อม เริ่มต้นจากการลงพื้นที่สำรวจสิ่งที่ชุมชนมีอยู่แล้ว เพื่อการพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับความต้องการและศักยภาพของคนในชุมชน โดยจากการสำรวจพบว่าชุมชนสรรพยาเป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ แต่ยังขาดสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อเป็นของฝาก ประกอบกับการสำรวจด้านทักษะอาชีพของคนในชุมชนซึ่งพบว่าเคยมีกลุ่มที่มีทักษะและเครื่องมือสร้างสรรค์ผลงานผ้าบาติก จึงเกิดเป็นการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างช่างฝีมือในชุมชนกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผลิตผ้าบาติกเพื่อฟื้นฟูกลุ่มอาชีพนี้ขึ้น

 

5504 DIPROM5

 

          “การเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนสรรพยายึดหลักการดำเนินงานตามแผน DIPROM โดย ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงหลักการเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งทำให้โครงการประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดีจากชุมชน ผ่านการสนับสนุนทักษะช่างฝีมือซึ่งตอบโจทย์สิ่งที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ออกมาเป็นผ้าบาติกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการที่มีใจรักในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกและมีองค์ความรู้ที่พร้อมส่งต่อให้กับคนในพื้นที่ รวมถึงมีสำนึกรักชุมชน เราจึงได้เห็นการทำงานร่วมกันอย่างพันธมิตร ซึ่งหมายถึงการเดินหน้าไปด้วยกันทั้งผู้คนในชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานระดับท้องถิ่น และดีพร้อม โดยเราจะยังคงมองหาสิ่งที่ต้องพัฒนาร่วมกันต่อไป ทั้งการต่อยอดช่องทางการขายแบบออนไลน์เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่มากขึ้น การบริหารจัดการโครงสร้างภายในกลุ่มอาชีพให้แข็งแกร่งเพื่อรองรับโอกาสการเติบโตของเทรนด์สวมใส่ผ้าไทย รวมถึงความนิยมสรรพยาบาติกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังที่กลุ่มฯ ตั้งเป้าจะพัฒนาสินค้าสู่คุณภาพแบรนด์แฟชั่นระดับพรีเมียม

          ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66 ต่อ 4 และติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th

 

A7498

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!