- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 21 May 2022 23:23
- Hits: 6323
ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Brand AVAUTIS)
นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสกล จุลาภา รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Brand AVAUTIS)
โดยมี นายกัมปนาท มหันต์ ผู้ก่อตั้ง วิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และคณะผู้ปกครองเด็กพิเศษ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ตำบลเหล อำเภอปะกง จังหวัดพังงา
สำหรับ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ปกครองเด็กพิเศษ ในจังหวัดพังงา โดยเมื่อปี พ.ศ.2553 ได้จัดตั้ง ‘ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดพังงา’ขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้กันและกัน แลกเปลี่ยนการดูแลและพัฒนาเด็กพิเศษ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และสามารถดำรงชีวิตได้ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเด็กพิเศษเมื่อเข้าสู่วัยทำงานแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถทำงานได้ด้วยตังเอง
หากไม่มีผู้ปกครองคอยช่วยในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งเด็กพิเศษยังต้องการสภาวะแวดล้อมที่เข้าใจปลอดภัย ด้วยต้นทุนในตัวของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน (ระดับความรุนแรงไม่เท่ากัน) ซึ่งเด็กต้องการการดูเป็นพิเศษ ทั้งความรัก ความเข้าใจ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษจึงรวมตัวกัน สร้างงานที่ผู้ปกครองสามารถทำงานร่วมกันกับเด็กพิเศษ ด้วยความรักและเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นการพัฒนาอาชีพก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงตนเอง
จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ ภายใต้ แบรนด์ ‘AVAUTIS’ (เอวาร์ติส) ซึ่งเป็นผลิตภันฑ์สกินแคร์ที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นไปที่การคัดสรรค์วัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ปลอดภัย 100% พร้อมสรรพคุณที่ช่วยบำรุงผิวอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับการรับรองจากองค์กรต่างๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ได้สนับสนุนส่งเสริมโครงการกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เพื่อเพิ่มความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยปรับปรุงในกระบวนการผลิต ทั้งในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิต และในอีกหลายขั้นตอน