WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1แร่ลิเธียม

ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สำรวจแหล่งแร่ลิเธียม เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

       นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสกล จุลาภา รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา นายธรรมนูญ เกตุแก้ว อุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน การศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลการเจาะสำรวจ (ชนิดแร่ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว ทังสเตน เหล็ก) ของบริษัท สยามโลหะอุตสาหกรรม จำกัด พื้นที่อาชญาบัตรพิเศษ ที่ 1-3/2562 พร้อมด้วย

       โดยมี นายกัมพล นิลพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย นายศักดา ริดเกาะ นักธรณีอาวุโส บริษัท สยามโลหะอุตสาหกรรม จำกัด ให้การต้อนรับ และนายอธิปฐ์ ปิยนามวาณิช สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ณ บริษัท สยามโลหะอุตสาหกรรม จำกัด ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

     สำหรับ บริษัท สยามโลหะอุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจแร่ ประกอบด้วย ชนิดแร่ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว ทังสเตน และ เหล็ก ได้รับอนุญาตอาชญาบัตร จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 และได้รับอาชญาบัตร จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 อาชญาบัตรสิ้นสุด วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 (รวมระยะเวลา 5 ปี)

     โดย อาชญาบัตรพิเศษที่ 3/2565 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลถ้ำ ตำบลกะไหล และตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีพื้นที่รวม 7,417 ไร่ (ประมาณ 11.87 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งจากการสำรวจลักษณะบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พบว่า มีลักษณะ ประกอบด้วย หินกรวดมนเล็กและหินกรวดมนใหญ่ ชั้นหนาถึงหนามาก หินโคลนชั้นบาง หินทรายแป้งสลับกับหินโคลน หินทราย หินเชิร์ต หินทรายแป้งและหินโคลนปนกรวด โดยตะกอนทั้งหมดวางบนหินแกรนิต ยุค Cretaceous ซึ่งหินที่พบเป็นหินแกรนิตที่มีแร่ดอกเป็นไบโอไทต์-ฮอร์นเบลนด์ โดยมีแร่ทัวร์มาลีน เกิดร่วมอยู่ด้วย

      ทั้งนี้ คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับฟังการบรรยายลักษณะธรณีวิทยา แนวโน้มในการพัฒนาแหล่งแร่ในเชิงพาณิชย์ ของแหล่งแร่พื้นที่สำรวจ ตลอดจนรับฟังปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอด ในการสำรวจเพื่อหาแหล่งแร่ลิเทียมที่พบในพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการสำรวจแหล่งแร่สำหรับการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ในอนาคต

        ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกกำลังเร่งปรับตัวตามนโยบายการสนับสนุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจน โดยประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญว่า รถที่จะจดทะเบียนใหม่จะต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์ที่มีการปลดปล่อยของเสียเป็นศูนย์ (ZEV) ภายในปี ค.ศ. 2035 ดังนั้นจึงส่งผลให้ความต้องการแบตเตอรี่ชนิดอัดประจุไฟใหม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

      กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในฐานะเป็นหน่วยงานจัดหาวัตถุดิบอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อรองรับการผลิตแบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆ ที่จะสร้างโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการนำแร่มาประยุกต์ใช้สำหรับรองรับยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ

     รวมไปถึงการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของแหล่งวัตถุดิบปริมาณการผลิตเทคโนโลยีการผลิตคุณลักษณะของแร่ โลหะ วัตถุดิบทดแทนที่ผลิตได้ความต้องการใช้วัตถุดิบรวมถึงข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดต่างๆ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมในเบื้องต้นในการนำแร่ โลหะวัตถุดิบทดแทนที่มีภายในประเทศมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตพร้อมทั้งทำการคัดเลือกเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ยังไม่มีภายในประเทศ เพื่อทำการศึกษาวิจัยและทดลองนำวัตถุดิบหรือสารเคมีจากแร่โพแทสและเกลือหินมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่และแบตเตอรี่ต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตตลอดทั้งประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ห่วงโซ่คุณค่าแบตเตอรี่จากสินแร่ไทยเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคตจากวัตถุดิบที่สามารถหาได้ภายในประเทศ

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!