- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 24 April 2022 16:17
- Hits: 8112
‘CIRCULAR MARK, CIRCULAR ECONOMY IN ACTION’
เรียนเชิญ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจทุกท่าน และ สื่อมวลชน ร่วมงานแถลงข่าว ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00-13.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรม เดอะ สุขโกศล กรุงเทพฯ
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีพันธกิจในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สำหรับงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นวาระแห่งชาติ บพข. มีเป้าหมายที่จะปิดช่องว่างและเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องหลักในห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้รีไซเคิล เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย จึงได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน “CIRCULAR MARK” ซึ่งเป็นระบบรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคและระดับโลก โดยเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ เกษตรอาหาร, วัสดุก่อสร้าง, พลาสติก, บรรจุภัณฑ์, และ แฟชั่นไลฟสไตล์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการตลาด เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยทำการตลาดในวงกว้าง ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์สินค้า และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
CIRCULAR MARK มีการพิจารณาข้อกำหนดที่ครอบคลุมประเด็นปัญหาการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเกิดขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มุ่งเป้าส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณขยะ และ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ช่วยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมไทยและประชาคมโลก
30 บริษัท 376 ผลิตภัณฑ์ ได้รับการรับรอง CIRCULAR MARK เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย เป็นการรับประกันว่า มีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เกิดการหมุนเวียนของวัสดุ มีกระบวนการผลิตมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน มีคำแนะนำการใช้งาน ตลอดจน มีการรวบรวมและจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน ภายใต้การดำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนอันเป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนวัสดุเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย” (ทุนสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. แผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน ระยะเวลาดำเนินการ: มิถุนายน 2564-พฤษภาคม 2565) โดยมี รศ. ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมดำเนินการ และโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ กลุ่ม PPP Plastics ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยในรูปแบบ in-cash ด้วย
A4714