WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA25

ก.อุตฯ จับมือชาวไร่ โรงงานร่วมแก้ปัญหาอ้อยสดสกปรก อ้อยไฟไหม้ก่อนเข้าโรงงาน ลดปัญหามลพิษ PM 2.5 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกร

      สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายหารือกลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการรับอ้อยสดสกปรกและปัญหาอ้อยไฟไหม้ของกลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

       นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้รับทราบปัญหาการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยไม่มีการตัดยอดและไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ในเขตภาคกลาง สั่งการให้ สอน. ดำเนินการแก้ไขปัญหาอ้อยสดสกปรกอย่างเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ของชาวไร่อ้อยที่จะมีรายได้จากระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น

         นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย โดยวันที่ 19 มกราคม 2565 ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและสถานการณ์การหีบอ้อยของจังหวัดกาญจนบุรี ปรากฏว่าปัญหาอ้อยสดสกปรกในปีนี้รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา

QIC 720x100

    จึงเชิญเจ้าของโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลองทั้ง 9 โรงงานมาประชุมเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เข้าโรงงาน ซึ่งทุกโรงงานเห็นด้วยที่จะไม่รับอ้อยสดสกปรกเข้าหีบและได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในการงดรับอ้อยสดสกปรก ที่ไม่มีการตัดยอด ไม่สางใบอ้อย และมีสิ่งปนเปื้อน หากตรวจพบจะให้ชาวไร่นำอ้อยกลับไปปรับปรุงคุณภาพอ้อยให้เป็นไปตามเกณฑ์อ้อยสดคุณภาพดี แล้วนำกลับมาส่งโรงงานอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2565 เป็นต้นไป 

    นายเอกภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยสดสกปรก ที่ไม่มีการตัดยอด ไม่สางใบอ้อยและมีสิ่งปนเปื้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง ป้องกันความเสียหายของเครื่องจักร และไม่ให้โรงงานต้องหยุดการผลิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งอ้อยของชาวไร่ที่ต้องรอคิวเทอ้อยเป็นเวลานาน และจะเกิดความเสียหายต่อรายได้ของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย  รวมถึงการร่วมมือไม่รับอ้อยไฟไหม้ที่เกิดจากการเผาอ้อยก่อนตัด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด

 

กรมโรงงานฯ ร่าย 3 มาตรการ แก้ PM2.5 !!

      นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมไม่นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน สังคม และชุมชน โดยมอบนโยบายให้หน่วยงานในกำกับดำเนินการ 3 มาตรการ คือ มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ในการตรวจกำกับอย่างเข้มงวด ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษจากโรงงาน โดยมอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายสู่การดำเนินการอย่างบูรณาการ

       นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)

sme 720x100

ได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแผนการดำเนินงานใน 3 ระยะ คือ 1. มาตรการเร่งด่วน โดยควบคุมการประกอบกิจการอย่างเข้มงวดกรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน จะทำการออกคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขทันที 2. มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) และ 3. มาตรการระยะยาว โดยการปรับปรุงกฎหมายการระบายมลพิษจากโรงไฟฟ้าให้เข้มงวดขึ้น และพัฒนากฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register : PRTR) สำหรับภาคอุตสาหกรรม กฎหมายควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย และกฎหมายการระบายฝุ่นละอองขนาดเล็กจากปล่อง

        นายวันชัย กล่าวต่อว่า กรอ. ได้จัดทำข้อแนะนำการปรับแต่งและการลดฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนในรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อให้โรงงานนำไปศึกษาได้เอง อีกทั้งเฝ้าระวังระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรม รวมถึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดำเนินการส่งเสริมการลดปริมาณอ้อยเผาที่จะเข้าสู่โรงงาน สำหรับการปรับปรุงกฎหมายจะได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547

TU720x100

       เพื่อให้ค่าการระบายฝุ่นละอองรวมมีความเหมาะสมกับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 รวมถึงจะได้พัฒนากฎหมายว่า ด้วยการรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register : PRTR) สำหรับภาคอุตสาหกรรม พร้อมระบบการรายงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย

      โดยในระยะแรกเน้นที่โรงงานกลุ่มผู้ผลิต ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงปิโตรเคมี และโรงงานเคมี ให้ควบคุมการประกอบกิจการและจุดที่อาจเกิดการระเหยของสารอินทรีย์สู่สิ่งแวดล้อมได้ เช่น ถังกักเก็บสารอินทรีย์ระเหย กิจกรรมการซ่อมบำรุง การใช้หอเผาทิ้ง สุดท้าย คือการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมการระบายฝุ่นละอองขนาดเล็กจากปล่อง ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate : TSP)

     “หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในช่วงฤดูหนาวจะเกิดปัญหา PM2.5 มากที่สุด แต่ช่วงอื่นปัญหา PM2.5 ไม่มี ทั้งที่โรงงานยังเปิดดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษชี้ว่า PM2.5 จากปล่องระบายโรงงานมีเพียง 4% เมื่อเทียบกับไอเสียจากรถยนต์ที่สูงถึง 52%”อธิบดี กรอ. กล่าวปิดท้าย

 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

BANPU 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!