- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 05 June 2021 11:13
- Hits: 4824
อก. เผยดัชนีอุตฯ เม.ย. 64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับ เม.ย. 63
4 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 4.38 กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องทำให้เกิด ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตการบริโภค ส่งผลให้การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ โดยรวม 4 เดือนแรกปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.38 และมีอัตรา การใช้กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเมษายน 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของไวรัส โควิด-19 มากที่สุด จากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้นสะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิต ของประเทศเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิต
ในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ภาคการผลิต อุตสาหกรรมยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการ ส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ภาค การผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจึงถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้ นายสุริยะกล่าว
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาด เล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 4.38 อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48 เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิต รายหลาย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เครื่องใช้ไฟฟ้า ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ75.61 จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มดี ขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.2 ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีนซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้นจึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตาม มาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้ง สองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกัน
นายทองชัย กล่าวต่อว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.69 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2563 และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.09 เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน โดยกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 1.46 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 การส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เป็นต้น การ นำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.82 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้ เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลข MPI ในเดือนถัดไปจะมี ทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564
รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19
เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มี มาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่
เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.38 ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายกระตุ้นการจำหน่ายในประเทศ ให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศคู่ค้าหลักเริ่มคลี่คลายทำให้การดำเนินการส่งออกกลับมาเป็น ปกติหลังจากการปิดช่องทางขนส่ง
เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.23 จากเหล็ก แผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นหลัก จากที่ปีก่อนลูกค้าชะลอคำ สั่งซื้อตามความต้องการใช้หดตัว รวมทั้งมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน
ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.74 จากยางนอกรถยนต์นั่งยาง นอกรถบรรทุกรถโดยสาร และยางนอกรถกระบะ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ