WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนามรุ่ง!

   แนวหน้า : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนามรุ่ง สถาบันอาหารแนะเอสเอ็มอี มุ่งพัฒนาสินค้าเกรดพรีเมียม

    นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ได้จัดทำรายงานพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เรื่องตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนาม โดยเวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนประชากร 88.78 ล้านคน ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจมีการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งในปี 2556 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) 5.54%

    ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามมีความสำคัญในด้านการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารของไทย โดยไทยสามารถส่งออกสินค้าอาหารในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 26,000 ล้านบาท ในด้านการลงทุนเวียดนามถือเป็นฐานการผลิตสินค้าอาหารแปรรูปที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มประมง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสัตว์ ในด้านการบริโภคอาหาร ชาวเวียดนามมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น

    โดยตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนามมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 19.95% ต่อปี จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในภาชนะบรรจุ ในสัดส่วน 43.06% และเครื่องดื่ม 56.94% เฉพาะตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเชิงมูลค่าเฉลี่ย 22.53% ต่อปี และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2557

    นอกจากนี้ ยังพบว่า ชาพร้อมดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเวียดนาม โดยชาเขียวเป็นผลิตภัณฑ์ชาพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ครองส่วนแบ่ง 77% ของตลาดชาพร้อมดื่ม รองมาคือ ชาสมุนไพร15.50% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตลาดชาพร้อมดื่มในเวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการขยายตัวเชิงปริมาณเฉลี่ย 28.14% ต่อปี และมีอัตราการขยายตัวเชิงมูลค่าเฉลี่ย 27.68% โดยในปี 2556 ตลาดชาพร้อมดื่มของเวียดนามมีมูลค่า 14,822 พันล้านดง ด้วยปริมาณการบริโภค 1,155 ล้านลิตร

   ในขณะที่น้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม เป็นตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเชิงปริมาณเฉลี่ย 37.67% ต่อปี และมีอัตราการขยายตัวเชิงมูลค่าเฉลี่ย 35.44% ต่อปี เฉพาะในปี 2556 ตลาดน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่มของเวียดนามมีมูลค่า 3,271.1พันล้านดง ด้วยปริมาณการบริโภค 153.4 ล้านลิตร คาดว่าปี 2559 ตลาดจะมีมูลค่า 4,412.10 พันล้านดง มีปริมาณการบริโภค 216.30 ล้านลิตร

   สำหรับ เครื่องดื่มให้พลังงาน ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ตลาดมายาวนาน แต่เพิ่งจะได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีอัตราการเติบโตเชิงปริมาณเฉลี่ย 19.62% ต่อปี และมีอัตราการเติบโตเชิงมูลค่าเฉลี่ย 21.32% ต่อปี โดยในปี 2556 มีมูลค่า 1,351.2 พันล้านดง มีการบริโภค 73.3 ล้านลิตร ในปี 2557 คาดว่าตลาดจะขยายตัวอยู่ที่ 1,459.30 พันล้านดง และจะเติบโตถึง 1,655.1พันล้านดง ในปี 2559

   นายเพ็ชร กล่าวว่า ด้วยความน่าสนใจเรื่องขนาดตลาดและแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนาม จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม แต่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ต้องกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด ควรมุ่งเน้นการนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมที่ไม่เคยจำหน่ายในเวียดนาม และกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเวียดนามที่มีศักยภาพในการกระจายสินค้าเข้าสู่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าส่งขนาดใหญ่ให้ได้อย่างทั่วถึง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!