- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 18 October 2014 00:01
- Hits: 2986
'จักรมณฑ์'เร่งเพิ่มพื้นที่กำจัดกากอุตฯ เล็งดึงขยะ1.5 ล.ตันเข้าระบบปี 58
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเดินทางตรวจเยี่ยมโรงงาน โปรเฟสชั่นแนลเวสต์ เทคโนโลยี จำกัด ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เพื่อตรวจสภาพพื้นที่ และรับฟังปัญหาการประกอบกิจการกำจัดกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายสำหรีบโรงงานแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 โรงงาน ที่ใช้วิธีบำบัดและฝังกลบกากอันตรายที่ได้มาตราฐานจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
"โรงงานโปรเฟสชั่นแนลเวสต์ เทคโนโลยี แห่งนี้เป็นป็น 1 ใน 3 แห่งของประเทศไทยที่สามารถกำจัดขยะอุตสาหกรรมมีพิษได้ โดยอีก 2 แห่ง คือ โรงงานของเจงโก้ ที่จ.ระยอง โรงงานเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จ.สระบุรี แต่ในขณะนี้โรงงานของเจนโก้มีพื้นที่เต็มแล้วไม่สามารถรองรับขยะอุตสาหกรรมีพิษได้อีก ทำให้เหลือเพียง 2 โรงงานที่สามารถกำจัดขยะมีพิษได้ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เร่งรัดเดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมกำจัดขยะอุตสาหกรรม" นายจักรมณฑ์ กล่าว
โดยในขณะนี้ได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กนอ. เร่งศึกษาการจัดตั้งพื้นที่เพื่อใช้ในการกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะจัดตั้งหรือป็นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร โดยโครงการจะประกอบด้วยส่วนรวบรวม จัดเก็บ คัดแยก รีไซเคิล บำบัด น้ำเสียและกำจัด เผาและฝังกลบกากอุตสาหกรรม เพื่อจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสามารถรองรับกากอุตสาหกรรมที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอีก10-20 ปี
สำหรับ ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ1หมื่นโรงที่มีระบบการกำจัดขยะมีพิษที่ถูกต้อง แต่ก็มีโรงงานอีกกว่า 2 โรงที่ยังอยู่นอกระบบ มีการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งผลักดันให้โรงงานที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้เข้าสู่ระบบ โดยตั้งเป้าหมายในสิ้นปีนี้จะมีขยะอุตสาหกรรมมีพิษเข้าสุ่ระบบการกำจัดที่ถูกวิธีไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านตัน/ปี และเพิ่มเป็น 1.5 ล้านตัน ในปีหน้า จากปัจจุบันที่มีเพียง 1 ล้านตัน
ด้านนายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีโรงงานกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่มีพิษ 2 แห่ง และมีโรงงานปูนซิเมนต์ที่รับขยะอุตสาหกรรมที่มีพิษไปช่วยกำจัดในเตาเผาปูนซิเมนต์อีก 10 แห่ง ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับขยะอุตสาหกรรมมีพิษในขณะนี้ ที่ทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 3 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีปัญหาการกำจัดขยะอุตสาหกรรมมากที่สุดคือภาคใต้ เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากโรงงานปูนซิเมนต์ และโรงงานกำจัดขยะ ที่ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในภาคกลาง ดังนั้นในเบื้องต้นได้ประสานงานกับ กนอ. ให้ใช้พื้นที่นนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้เป็นพื้นที่พักขยะอุตสาหกรรมไว้ก่อน จากนั้นก็จะทะยอยขนไปกำจัดในโรงงานกำจัดขยะต่อไป ซึ่ง กรมฯอยู่ระหว่างส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบว่ามีปริมาณขยะอุตสาหกรรมมีพิษเท่าไร และขยะอุตสาหกรรมทั่วไปเท่าไร เพื่อที่จะวางแผนการกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คาดว่าคงมีปริมาณขยะมีพิษไม่มาก เพราะโรงงานในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร
"กรมโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการตรวจสอบและผลักดันให้โรงงานที่มีขยะอุตสาหกรรมมีพิษนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง โดยล่าสุดได้ส่งหนังสือเตือนไปยังโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงกว่า 5 พันแห่ง จัดส่งข้อมูล ปริมาณ และวิธีการกำจัดขยะอุตสาหกรรมมีพิษอย่างเร็วที่สุด ถ้าโรงงานใดเพิ่มเฉย หรือมีแนวโน้มที่จะทำผิดก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบอย่างละเอียด และในวันที่ 10 พ.ค. จะจัดสัมมนาใหญ่ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อให้โรงงานนำขยะอุตสาหกรรมมาเข้าสู่ระบบการกำจัดที่ถูกต้อง"นายพสุ กล่าว
ขณะที่ น.ส.วิไลลักษณ์ สกุลภัคดี ประธานบริษัท โปรเฟสชั่นแนลเวสต์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายการตั้งนิคมฯกำจัดขยะอุตสาหกรรมของ รมว.อุตสาหกรรม แต่ควรจะเพิ่มเติมในส่วนของมาตรการบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมนำขยะทั้งที่มีพิษ และขยะอุตสาหกรรมธรรมดาเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประกอบกิจการได้ โดยในขณะนี้โรงงานมีค่าบริการกำจัดขยะอุตสาหกรรมธรรมดา 700-800 บาท/ตัน ขยะมีพิษตั้งแต่ 2.5–5.5 พันบาท/ตัน ขยะมีพิษที่ไม่ใช้วิธีการกำจัดที่ซับซ้อนก็จะมีราคาถูก ส่วนขยะที่ต้องใช้กระบวนการกำจัดที่ซับซ้อน เช่น ขยะปนเปื้อนโลหะหนัก แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท ก็จะราคาสูง แต่ทั้งนี้หากสามารถผลักดันให้โรงงานทุกแห่งนำขยะมากำจัดอย่างถูกวิธีก็จะมีค่ากำจัดขยะที่ถูกลง โดยในปัจจุบันโรงงานมีศักยภาพกำจัดขยะอุตสาหกรรมมีพิษได้กว่า 6 ล้านตัน ขณะนี้ใช้ไปไม่กี่แสนตัน สามารถรองรับขยะได้อีกกว่า 50 ปี