- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Friday, 17 October 2014 12:29
- Hits: 3137
กกพ.จับมืออุตฯปลดล็อกใบอนุญาตรง.4 สนับสนุนผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า
แนวหน้า : กกพ.จับมืออุตฯปลดล็อกใบอนุญาตรง.4 สนับสนุนผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า ตีกรอบทุกขั้นตอนจบภายใน 60 วัน
กกพ. จับมือกระทรวงอุตสาหกรรม ลงนามร่วมมือปลดล็อก รง.4 ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าและตั้งโรงงานภายใน 60 วัน ลดปัญหาซ้ำซ้อน ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ สนองนโยบายรัฐบาล
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและการอื่น นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)หรือ เรกูเลเตอร์เปิดเผยว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ยื่นขอใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าและลดความซ้ำซ้อนของงานด้านเอกสารโดยยื่นเอกสารทั้งหมดผ่านกกพ. ในฐานะเป็นวันสต็อปเซอร์วิส
หลังจากนั้น กกพ. จะขอความเห็นจากกระทรวงอุตสาหกรรมตามกฎหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้คำตอบภายใน 30 วันว่าจะอนุมัติใบประกอบกิจการพลังงาน หรือ รง.4 หรือไม่ ซึ่งจะทำให้กระบวนการทั้งหมดหลังจากที่เอกชนยื่นหนังสือต่อ กกพ. หากมีเอกสารสมบูรณ์ก็จะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าและ รง.4 ภายใน 60 วัน
สำหรับ ความร่วมมือครั้งนี้ยังรวมถึงการปรับบทบาทให้ กกพ. มีการให้บริการครอบคลุมไปถึงการขออนุญาตขยายโรงงาน ต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการเลิกประกอบกิจการโรงงาน จากเดิม กกพ. ดำเนินการเพียงอนุญาตตั้งโรงงานเท่านั้น
โดยขั้นตอนทั้งหมดจะต้องมีการพิจารณาขอความเห็นจากกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมด้วย และยังเป็นการเพิ่มช่องทางยื่นขออนุญาตให้ผู้ประกอบการ อาทิ กกพ. สำนักงาน กกพ. เขตพื้นที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานจังหวัดทั่วประเทศ โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะแบ่งปันฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อติดตามสถานการณ์การขออนุญาตร่วมกัน
“เมื่อก่อนไม่ได้มีการครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมด เช่น อำนาจหน้าที่ วันนี้เราตกลงชัดเจนถึงหน้าที่ รับส่งเอกสาร เราจะเชิญเอกชนเข้ามารับฟังแนวทางทั้งหมดเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง จากนี้ไปยืนยันว่าปัญหา รง.4 จะไม่มีเตะถ่วงเหมือนในอดีตเพราะเราเป็นเรกูเลเตอร์และกระทรวงอุตสาหกรรมยุคใหม่” นายพรเทพกล่าว
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะยกระดับการให้บริการใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งนอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว ล่าสุดคณะรัฐมนตรี( ครม. )เห็นชอบให้การจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวีและสถานีแม่ สถานีแอลพีจี โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน หรือ โซลาร์รูฟทอป ที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4 อีกด้วย โดยให้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กกพ. ซึ่งในจำนวนนี้มีสถานีแม่เอ็นจีวีของ ปตท. และเอกชนติดเรื่องใบอนุญาต รง.4 ประมาณ 19 ราย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาขอใบอนุญาตแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กกพ. ชุดปัจจุบันเข้ามาทำงานภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ และได้ทำการอนุมัติเรื่องคงค้าง โดยเฉพาะใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าไปแล้ว 300-400 ราย และยังเหลือการพิจารณาอีก 10-20 ราย อีกทั้ง กกพ.
ยังเตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนเรื่องการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานรอบใหม่ภายในวันที่ 29 ตุลาคมนี้ ซึ่งค่าไฟฟ้าฐานจะนำค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เอฟที ไปรวมเป็นค่าไฟฟ้าฐาน และปรับหลักเกณฑ์ค่าไฟฟ้าทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าค่าไฟฟ้าฐานจะอยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย
อุตฯจูงมือกกพ.แก้ปัญหารง.4
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * กกพ.จับมืออุตสาหกรรมหย่าศึกใบ รง.4 สำ หรับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า หลังลงนามเอ็มโอยูทำงานประสานกัน พร้อมให้เรกูเลเตอร์ร่วมออกใบ รง.4 แก่โรงไฟฟ้าได้เอง พร้อมนำร่อง ปั๊มแอลพีจี เอ็นจีวี และโซลาร์รูฟท็อปขนาดไม่เกิน 1 เมกะ วัตต์ ยกเว้นไม่เข้าข่ายเป็นโรง งาน ยุติไม่ต้องขอ รง.4 อีกต่อไป
นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า เรกูเลเตอร์ได้ลงนาม ข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกับกระ ทรวงอุตสาหกรรมแก้ปัญหาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) สำหรับโรงไฟฟ้า โดยผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าสามารถยื่น ขอใบ รง.4 กับเรกูเลเตอร์ได้เช่นเดียวกับที่เคยขอกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเรกูเลเตอร์จะเปิดขอใบ รง.4 โรงไฟฟ้าแบบเบ็ด เสร็จ (วันสต็อปเซอร์วิส) โดยไม่ต้องไปขอที่กรมโรงงานอุตสาห กรรมอีก
"ที่ผ่านมาเรกูเลเตอร์เคย ลงนามเอ็มโอยูกับกระทรวงอุตสาห กรรมตั้งแต่ปี 2552 ที่จะเพิ่มความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ระยะ หลังเกิดการสะดุดหยุดลง ทำให้การทำงานร่วมกันไม่ราบรื่น แต่ ในครั้งนี้เชื่อว่าการบริการประชา ชนจะคล่องตัวมากขึ้น เพราะทั้ง 2 หน่วยงานเลิกทะเลาะกันแล้ว ก็จะทำให้การบริการประชาชนสะดวกขึ้นมาก" นายพรเทพกล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะยกระดับการให้บริการใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งนอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว ล่าสุด คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2557 ยังเห็นชอบให้การจัดตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และสถานีแม่ สถานีก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อน และโรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน (โซลาร์รูฟท็อป) ที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ เป็นกิจการที่ไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4 ซึ่งจะช่วยให้การส่งเสริมกิจการไฟฟ้าขนาดเล็กมีความคล่องตัวมากขึ้น.