WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2391 TQAสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ครั้งที่ 18 ประจำปี 2562
ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรม ยกระดับการแข่งขันสู่ระดับสากล

          สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ครั้งที่ 18 ประจำปี 2562 พบ 13 องค์กรไทยคุณภาพ ทั้งหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ในภาคการศึกษา สาธารณสุข บริการ และภาคอุตสาหกรรม คว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ, รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า บุคลากร การปฏิบัติการ หรือนวัตกรรม และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรม ยกระดับการแข่งขันสู่ระดับสากล

          นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) นับเป็นเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนความสามารถของอุตสาหกรรมในภาพรวม เนื่องจากเป็นเครื่องมือยกระดับการบริหารจัดการ สามารถสร้างคุณค่า และเพิ่มผลิตภาพของทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิต หรือการบริการ รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพในภาครัฐวิสาหกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของการพัฒนาประเทศ รวมทั้งภาครัฐที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจเดินไปได้อย่างราบรื่น และรวดเร็ว รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จึงถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคส่วนต่างๆ ให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและเป็นฐานในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

          ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมจึงให้การสนับสนุนโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ต่อประเทศ และต้องการผลักดันให้โครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นที่รู้จักและนำไปใช้อย่างแพร่หลายเพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโต นำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

          “พิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการยกระดับผลิตภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันขององค์กรไทยให้อยู่ในระดับสูง การนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในองค์กร เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจจากภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยการผนึกกำลังกันทุกภาคส่วน ที่จะเดินหน้าพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน” นายกอบชัยกล่าว

          ดร. พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กรของไทย ให้มีวิธีปฏิบัติ และผลการดำเนินการที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ปัจจุบันรางวัลคุณภาพแห่งชาติถือได้ว่าเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมให้องค์กร มีความสามารถในการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและเข้มแข็ง

          รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ นอกจากนี้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กร ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ หรือภาคเอกชน ดังนั้นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร ส่งผลให้เกิดการส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้นเสมอให้แก่ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กร และการปรับปรุงประสิทธิผลและขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม รวมทั้งการเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล

          นอกจากนั้นเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังมีการปรับเปลี่ยนทุก 2 ปี ทำให้องค์กรรู้ว่าต้องเตรียมองค์กร เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง ผู้บริหารขององค์กร จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางขององค์กร ให้ทันกับสถานการณ์ทางธุรกิจอยู่เสมอ อาทิ ทิศทางของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เกณฑ์ได้มีการกล่าวถึง และปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดรับกับการนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

          รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี ซึ่งมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มุ่งสร้างประสิทธิผลในเชิงผลลัพธ์ และเพิ่มผลิตภาพในวิสาหกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ผ่านการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่โครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อไป

          รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและกลุ่มบุคคลต่างๆ ในการผลักดันรางวัลคุณภาพแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ 1.คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และกำกับดูแลการดำเนินโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และการสนับสนุนจากคณะอนุกรรมการรางวัล โดยเป็นผู้บริหารจัดการ และดำเนินการผลักดันให้องค์กรต่างๆ นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ ในทุกภาคส่วนของธุรกิจในประเทศไทย เพื่อพัฒนาองค์กรไทยสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล และ 3.ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน อาสาสมัครมาทำหน้าที่ผู้ตรวจประเมินรางวัล และจัดทำรายงานป้อนกลับ (Feedback Report) ให้แก่องค์กรผู้สมัครขอรับรางวัล โดยนับตั้งแต่การก่อตั้งรางวัล ในปี 2545 จนถึงปัจจุบันมีองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 6 องค์กร และองค์กรที่ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ จำนวน 109 องค์กร

          นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จัดตั้งขึ้นเพื่อผลักดันให้ทุกองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด พัฒนาศักยภาพระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐาน สามารถมองเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับองค์กรที่ได้รับรางวัล ในปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ประกอบด้วย

 

          รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จำนวน 2 องค์กร ได้แก่
          • กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มบริษัททรู
          • ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

          ทั้งนี้ทั้ง 2 องค์กรที่ได้รับรางวัล โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงระบบการบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และแสดงให้เห็นถึงถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจ และที่สำคัญรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่มอบให้องค์กรยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ ที่แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 องค์กรมีกระบวนการบริหารที่มีความสมดุลครบทุกด้านอยู่ในระดับสากล มีระบบการนำองค์กร มีการวางแผนกลยุทธ์ มีการดูแลลูกค้า พนักงาน ระบบงาน มีผลการดำเนินงานที่ดีจากการดำเนินธุรกิจ

 

          รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ หรือ Thailand Quality Class Plus: Operation 3 องค์กร ได้แก่
          1. กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ฟีนอล บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
          2. ธนาคารออมสิน
          3. บริษัท จีซี โลจิสติกส์ โซลูชั่น จำกัด

 

          รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class ทั้ง 8 องค์กร ได้แก่
          1. การประปานครหลวง
          2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
          5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
          6. มหาวิทยาลัยมหิดล
          7. โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
          8. ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ : บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)

 

          ทั้งนี้การได้รับรางวัล ไม่ว่าจะเป็น รางวัลคุณภาพแห่งชาติ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่ความโดดเด่นในด้านต่างๆ หรือรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ เป็นเครื่องยืนยันว่า ทุกองค์กร มีแนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นมาตรฐานสากล และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่องค์กรอื่น นำไปประยุกต์เป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ

          จากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 18 ปี รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้ทำหน้าที่เป็นกลไกที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนผลิตภาพ โดยเป็นเครื่องมือที่จะสร้าง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ จากการศึกษาวิจัยองค์กรที่ได้รับรางวัลในแต่ละปี พบผลลัพธ์ที่ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อาทิ ระดับผลิตภาพ (Productivity) ขององค์กร, สมรรถนะขององค์กรด้านผลิตภาพค่าจ้างแรงงาน (Wage Productivity) และมูลค่าเพิ่มต่อยอดขาย (Value Added to Sales), การเพิ่มขึ้นของจำนวนนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวม หรือ TFP (Total Factor Productivity) นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร และบุคลากรในองค์กร ซึ่งหากองค์กรในประเทศมีการดำเนินการในทิศทางเดียวกันย่อมส่งผลบวกต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ อย่างไรก็ดีการเสริมสร้างผลิตภาพ (Productivity) ของแต่ละองค์กร และระดับประเทศ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถ และยกระดับการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแน่นอน

 


AO2391

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!