WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

09119 ThaiTechShow

 

สวทช. อว. จัดเต็ม! เปิดอย่างยิ่งใหญ่

งาน THAILAND TECH SHOW 2019

ของดีงานวิจัยเพื่อภาคเอกชนและนักลงทุน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดยิ่งใหญ่ งาน THAILAND TECH SHOW 2019 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรม 360 องศา เพื่อความยั่งยืน” เพื่อเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) แบบครบวงจรอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน และมอบกิตติกรรมประกาศความสำเร็จในการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมอัพเดท 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองประจำปี 2562โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และร่วมโหวตผลงานที่น่าลงทุนและนำเสนอดีที่สุดกับกิจกรรม NSTDA Investors’ Day 2019ในรูปแบบพิชชิ่งจาก 11 ผลงานเด่นประจำปี (สวทช. 5 ผลงาน และหน่วยงานพันธมิตร 6 ผลงาน) รวมถึงเสวนาและบรรยายพิเศษในหลายหัวข้อเพื่อเสริมความรู้ทั้งในด้านนวัตกรรมสุขภาพ อาหาร และพลังงาน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและอุตสาหกรรม และโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อนวัตกรรมของ สวทช. ตลอดจนเวทีพิชชิ่งประจำปี (Technology Pitching) ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี พร้อมจัดเต็ม! ตลอดงานทั้ง 2 วัน (5 - 6 กันยายน 2562 ที่ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 เซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์) พบกับบูธแสดงผลงานเทคโนโลยี สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร กว่า 240 ผลงานจากกว่า 40 หน่วยงาน ครอบคลุมในหลายเทคโนโลยี ทั้งการแพทย์ เกษตร/ประมง เครื่องประดับ เครื่องมือ/เครื่องจักร เวชสำอาง/เวชภัณฑ์ อาหาร/เครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อการเรียน หวังเป็นกลไกเชื่อมต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัยและนักพัฒนาเทคโนโลยีของไทยทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้ไปเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้ประเทศนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า งาน THAILAND TECH SHOW 2019 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรม 360 องศา เพื่อความยั่งยืน” ซึ่งจัดในรูปแบบตลาดเทคโนโลยี มีผลงานจัดแสดงจาก สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ประกอบด้วย พันธมิตรสนับสนุน พันธมิตรหน่วยงานวิจัยภาครัฐ พันธมิตรหน่วยงานวิจัย สถาบันศึกษา และพันธมิตรหน่วยงานวิจัยเอกชน ซึ่งมีผลงานวิจัย 234 ผลงาน จาก 29 มหาวิทยาลัย 8 หน่วยงานวิจัยภาครัฐ 4 บริษัทภาคเอกชน แบ่งเป็น เทคโนโลยีแนะนำ (ราคาเดียว) จำนวน 36 ผลงาน และเทคโนโลยีไฮไลท์ (เจรจาเงื่อนไข) จำนวน 198 ผลงาน เพื่อเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในภาคเอกชน ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาต่อยอดในภาคเอกชน พร้อมเป็นแหล่งรวมผลงานวิจัยและพัฒนาที่เข้าถึงได้ง่าย ช่วยผลักดันการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนเป็นเวทีรับทราบข้อมูลปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดของเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลงานวิจัยให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งในการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ใช้งาน ทั้งที่เป็นนักลงทุน นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ ตลอดจนผู้ที่มองหานวัตกรรมและพร้อมลงทุน และผู้สนใจ จะเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ในการผลิต จำหน่าย และ/หรือประกอบธุรกิจแบบไม่สงวนสิทธิ (Non-exclusive) ซึ่งผลงานวิจัยที่เข้าร่วมโครงการฯ จะรวบรวมจากหน่วยงานพันธมิตรมากมายทั้งมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐ มีอายุเปิดรับสมัครผู้สนใจ 2 ปี โดยผลงานวิจัยใหม่ๆ สามารถเสนอเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตลอดเวลา ผ่าน https://www.thailandtechshow.com/

 “THAILAND TECH SHOW 2019 มีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การบรรยายพิเศษเรื่อง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง (10 Technologies To Watch) ซึ่งทุกปี สวทช.จะเลือกมาปีละ 10 เรื่องที่น่าจะเห็นผลกระทบได้ชัดเจนใน 5 - 10 ปีข้างหน้า โดยขณะนี้บางเทคโนโลยีอาจจะใกล้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ได้แล้ว ขณะที่บางชนิดอาจจะยังเป็นต้นแบบหรือการทดสอบเบื้องต้น แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลกระทบได้ในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังมีหัวข้อการเสวนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐ และอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับอุตสาหกรรมสุขภาพในอนาคต Lifestyle กับ ผู้บริโภครุ่นใหม่ พลังงานเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ Tech Funding Evaluation Model และธุรกิจเทคโนโลยี เข้าถึงแหล่งทุนอย่างไรไม่ให้สะดุด เป็นต้น

และอีกหนึ่งไฮไลท์คือ กิจกรรม NSTDA Investors’ Day 2019 เป็นรูปแบบ Investment Pitching โดยให้เวลา 7 นาทีสำหรับนักวิจัยในการนำเสนอแต่ละผลงาน และให้ผู้เข้าร่วมงานช่วยกันโหวตผลงานที่น่าลงทุนที่สุด และผลงานที่นำเสนอดีที่สุด โดยในปีนี้มีผลงานเด่นจาก สวทช. 5 ผลงาน และหน่วยงานพันธมิตรอีก 6 ผลงาน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจสามารถเข้าเจรจาธุรกิจแบบ One-on-One Matching ได้ โดย 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ได้แก่ 1) สารทำหมันสัตว์เพศผู้แบบไม่ผ่าตัด (V-HAPPY) โดย นาโนเทค สวทช.ที่นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อนำส่งสารสำคัญที่สกัดมาจากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพยับยั้งเซลล์การสร้างอสุจิได้ดี 2) จิ๊บจิ๊บ (JibJib CUI) โดย เนคเทค สวทช. เป็นแพลตฟอร์มระบบบริการผู้ช่วยอัตโนมัติที่สามารถโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติเหมือนคุยกับมนุษย์ 3) แพลตฟอร์มการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล (Traffy City Platform) โดย เนคเทค สวทช. เป็นเทคโนโลยี IoT และ AI ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและสถิติที่สำคัญง่ายขึ้น ทำให้วางแผนและตัดสินใจแม่นยำ 4) นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (Magik Growth) โดย เอ็มเทค สวทช. ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานด้านเกษตร และ 5) เบต้ากลูแคนโอลิโกแชคาร์ไลด์เพื่อใช้เสริมสุขภาพและความงาม (Betaprime) โดย ไบโอเทค สวทช. เป็นสารที่ผลิตจากเห็ดในขนาดโมเลกุลที่หลากหลาย มีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกัน ประยุกต์ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ทั้งคนและสัตว์ รวมถึงผลงานเด่นจากหน่วยงานพันธมิตร 

อีก 6 ผลงาน ได้แก่ 6) กล่องโฟมอเนกประสงค์ (Healthy Box) โดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยืดอายุการเก็บรักษาของสด 7) เครื่องปิ้งเนื้อสัตว์กึ่งอัตโนมัติ (HAS Grill Machine) โดย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ลดการไหม้ของไขมันสัตว์ ทาให้ไม่เกิดสารก่อมะเร็ง 8) ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา (Thai Colostomy Bags) โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องขับถ่ายทางหน้าท้อง สามารถทดแทนสินค้านำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง 9) โซเดียมซิลิเกตเจลกันน้า (Hydrophobic (Sodium) Silicate Gel) โดย มหาวิทยาลัยสุรนารี ใช้แก้ปัญหาน้ำรั่วซึมระหว่างก่อสร้าง 10) เครื่องทำลายเชี้อแบบพลาสเจอร์ไรซ์ผสานระบบอบลมร้อนสาหรับอุปกรณ์การแพทย์ โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสิทธิภาพเทียบเท่าของต่างประเทศแต่ราคาถูกกว่าหลายเท่า และ 11) อาษาเฟรมเวิร์ค (ARSA Framework) โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแพลตฟอร์มในทุกสรรพสิ่ง (Platform of Things: PoT) ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น สร้าง AI หรือควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ผ่าน Cloud และ Smart Devices เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีบูธบริการจาก สวทช. ที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี เช่น การให้คำปรึกษาเทคโนโลยี การบ่มเพาะธุรกิจ รวมทั้งบริการทางการเงินเพื่อนวัตกรรม อาทิ เงินร่วมลงทุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การรับรองธุรกิจเทคโนโลยีหรือรับรองงานวิจัยเพื่อขอยกเว้นภาษี และการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยเพื่อเข้าถึงตลาดภาครัฐ และร่วมรู้จักกับบริการการประเมินศักยภาพธุรกิจเทคโนโลยี TTRS ที่ช่วยผู้ประกอบการไทยทำการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างไม่สะดุด ตลอดจน Shopping Zone ที่เป็นบูธจำหน่ายสินค้านวัตกรรมจากผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ ผู้ขอรับอนุญาตใช้สิทธิในผลงานและเทคโนโลยีในโครงการ THAILAND TECH SHOW ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นไทยอย่างน้อยร้อยละ 51 หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ ที่มีศักยภาพ ความพร้อม ความเข้าใจเทคโนโลยี และมีบุคลากรที่พร้อมรับ ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาที่สนใจ จำนวนผู้รับอนุญาต 1 ผลงานวิจัยสามารถมีผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิได้มากกว่าหนึ่งราย หรือในผลงานวิจัยที่มีผู้สนใจรับอนุญาตให้ใช้สิทธิจำนวนมาก หน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัยมีสิทธิในการพิจารณาจำกัดจำนวนผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ตามความเหมาะสม โดยรูปแบบการถ่ายทอด หน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัยจะดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น ฝึกอบรม สาธิต ดูงาน เอกสาร คู่มือ เป็นต้น ซึ่งจะมีระยะเวลาอนุญาตใช้สิทธิ 3-5 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา หรือแล้วแต่ตกลงเป็นรายโครงการ โดยค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิ จะมีแบบทั้งเทคโนโลยีต่อรองราคา คือ ไม่กำหนดราคา สามารถเจรจาและตกลงกันได้ และแบบเทคโนโลยีราคาเดียว คือ 30,000 บาท ต่อ 1 ผลงานวิจัย ทั้งนี้ ค่าตอบแทนการใช้สิทธิอัตรา 2% ของยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากผลงานวิจัยนั้น โดยชำระปีละ 1 ครั้ง จะสามารถนำค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมโครงการ (30,000 บาท) มาหักลดได้

“อยากแตกต่าง สร้างธุรกิจ ด้วยนวัตกรรม” งาน THAILAND TECH SHOW 2019 สำหรับผู้ร่วมงาน และผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดเอกสารผลงานวิจัย Tech Show และรายละเอียดของผลงานที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้ที่ https://www.thailandtechshow.com/

 

AO09119

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!