- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Tuesday, 30 September 2014 21:48
- Hits: 2915
สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ส.ค.ลดลง 2.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ขยายตัว 2.6% จากเดือนก.ค.
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2557 หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน แต่มีทิศทางดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 60.29 สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำให้ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เครื่องประดับ น้ำตาล การกลั่นน้ำมัน และเครื่องแต่งกาย
โดยภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2557 สาขาที่สำคัญ มีดังนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตรถยนต์เดือนสิงหาคม ปี 2557 ลดลง ร้อยละ 27.08 หดตัวเมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่เผยงออก ประกอบกับในช่วงเดือนสิงหาคมของปีนี้มีวันหยุดยาวหลายวัน ด้านการส่งออกรถยนต์เดือนสิงหาคม ปี 2557 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.07 โดยเป็นการลดลงของตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม ปี 2557 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 5.83 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง คือ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น เนื่องจากมีการจำกัดการใช้สารทำความเย็น R22 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อรองรับสารทำความเย็นใหม่ R 32 หรือ R 410a ทำให้การผลิตชะลอตัวลง ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอื่นๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ พัดลม กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ได้แก่ Monolithic IC Other IC HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.60 10 และ 13.40 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณความต้องการบริโภคเหล็กของไทยในเดือนสิงหาคมปี 2557 มีปริมาณ 1.28 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตมีปริมาณ 0.51 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20.3 การส่งออก มีมูลค่า 74.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 25.71 ส่วนมูลค่าการนำเข้า 641.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 27.69 โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว การบริโภคและการผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหล็กนำเข้าจากจีน ซึ่งแม้จะมีการใช้มาตรการ AD ในส่วนของเหล็กลวด (ร้อยละ 5) แต่ก็ยังมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศดังกล่าวอยู่
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มเส้นใยสิ่งทอเดือนสิงหาคม ปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตลดลงจากคำสั่งซื้อของตลาดภายในและต่างประเทศ ในส่วนของกลุ่มผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน ด้านการส่งออกเดือนสิงหาคม ปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเส้นใยสิ่งทอฯ มูลค่าการส่งออกลดลง จากความต้องการในตลาดอาเซียนลดลง ส่วนกลุ่มผ้าผืน มีการส่งออกลดลงในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้เพื่อผลิตภายใช้ภายในประเทศ ส่งผลให้การส่งออกผ้าผืนในช่วงนี้ลดลง
อุตสาหกรรมอาหาร การผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนสิงหาคม ปี 2557 ภาพรวมปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 เนื่องจากการผลิตผลิตมันสำปะหลัง และน้ำตาลทรายที่ลดลง เป็นผลจากปัญหาวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการระบาดของโรค และภาวะการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรมส.ค.ลดลง 2.7% YOY แต่กลับมาขยายตัว 2.6%จากก.ค.57
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2557 หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน แต่มีทิศทางดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 60.29 สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำให้ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เครื่องประดับ น้ำตาล การกลั่นน้ำมัน และเครื่องแต่งกาย
โดยภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2557 สาขาที่สำคัญ มีดังนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตรถยนต์เดือนสิงหาคม ปี 2557 ลดลง ร้อยละ 27.08 หดตัวเมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ประกอบกับในช่วงเดือนสิงหาคมของปีนี้มีวันหยุดยาวหลายวัน ด้านการส่งออกรถยนต์เดือนสิงหาคม ปี 2557 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.07 โดยเป็นการลดลงของตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม ปี 2557 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 5.83 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง คือ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น เนื่องจากมีการจำกัดการใช้สารทำความเย็น R22 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อรองรับสารทำความเย็นใหม่ R 32 หรือ R 410a ทำให้การผลิตชะลอตัวลง ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอื่นๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ พัดลม กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ได้แก่ Monolithic IC Other IC HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.60 10 และ 13.40 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณความต้องการบริโภคเหล็กของไทยในเดือนสิงหาคมปี 2557 มีปริมาณ 1.28 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตมีปริมาณ 0.51 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20.3 การส่งออก มีมูลค่า 74.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 25.71 ส่วนมูลค่าการนำเข้า 641.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 27.69 โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว การบริโภคและการผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหล็กนำเข้าจากจีน ซึ่งแม้จะมีการใช้มาตรการ AD ในส่วนของเหล็กลวด (ร้อยละ 5) แต่ก็ยังมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศดังกล่าวอยู่
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มเส้นใยสิ่งทอเดือนสิงหาคม ปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตลดลงจากคำสั่งซื้อของตลาดภายในและต่างประเทศ ในส่วนของกลุ่มผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน ด้านการส่งออกเดือนสิงหาคม ปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเส้นใยสิ่งทอฯ มูลค่าการส่งออกลดลง จากความต้องการในตลาดอาเซียนลดลง ส่วนกลุ่มผ้าผืน มีการส่งออกลดลงในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้เพื่อผลิตภายใช้ภายในประเทศ ส่งผลให้การส่งออกผ้าผืนในช่วงนี้ลดลง
อุตสาหกรรมอาหาร การผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนสิงหาคม ปี 2557 ภาพรวมปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 เนื่องจากการผลิตผลิตมันสำปะหลัง และน้ำตาลทรายที่ลดลง เป็นผลจากปัญหาวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการระบาดของโรค และภาวะการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน
อินโฟเควสท์