WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

08086 CEA

 

ซีอีเอ ผนึกกำลัง ทีเส็บ เอ็นไอเอ เดินหน้าความร่วมมือ

‘พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย’

ผุด 3 กิจกรรมหลัก เร่งเครื่องให้มีศักยภาพและพร้อมก้าวสู่เวทีสากล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ภายใต้ความร่วมมือครั้งสำคัญ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เศรษฐกิจบริการและแบ่งปัน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรมระดับเวิร์ลคลาส ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก คือ 1. การส่งเสริมและพัฒนานักสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรม 2. การสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาผลงานด้วยองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม และ 3. การจัดประชุมสัมมนาและนิทรรศการนานาชาติด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อจัดแสดงผลงานและสร้างโอกาสแลกเปลี่ยนหรือต่อยอดการพัฒนาผลงาน โดยการร่วมมือกับพื้นที่ ชุมชน และผู้จัดงานระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการ นักสร้างสรรค์ และวิสาหกิจเริ่มต้นของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศ และพร้อมก้าวสู่เวทีสากล ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและสร้างระบบนิเวศในสาขาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมนันทนาการของไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก

ทั้งนี้ พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 เว็บไซต์ cea.or.th  

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ ซีอีเอ (CEA) กล่าวว่า ซีอีเอ ในฐานะหน่วยงานรัฐ ที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีศักยภาพในการแข่งขันทัดเทียมนานาชาติ จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ดำเนินโครงการ “การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์” (MICE) ของประเทศไทย ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 12 สาขา เศรษฐกิจบริการและแบ่งปัน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างและใช้นวัตกรรม เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการ นักสร้างสรรค์ และวิสาหกิจเริ่มต้นของไทยแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการคิดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อันนำไปสู่การมีศักยภาพที่ทัดเทียมนานาประเทศและพร้อมก้าวสู่เวทีสากล ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและสร้างระบบนิเวศในสาขาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Ecosystem) ด้านดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมนันทนาการ (MAR Tech) ของไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก

ผ่านการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมหลัก คือ 1. การส่งเสริมและพัฒนานักสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรม (Grooming) 2. การสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาผลงานด้วยองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม (Enhancing with Innovation) และ 3. การจัดเทศกาล กิจกรรม เพื่อจัดแสดงผลงานและสร้างโอกาสแลกเปลี่ยนหรือต่อยอดการพัฒนาผลงาน โดยการร่วมมือกับพื้นที่ ชุมชน และผู้จัดงานระดับสากล (Event Platform & Commercialization) อาทิ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ (Bangkok Design Week) เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week) และ อีสานครีเอทีฟเฟสติวัล (ISAN Creative Festival) อันจะช่วยตอกย้ำศักยภาพลักษณ์การเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative District) ของประเทศไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ และเป็นจุดมุ่งหมายหลักของนักสร้างสรรค์ทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นางจารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ ทีเส็บ (TCEB) กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญว่า โครงการดังกล่าว นอกจากจะเป็นการช่วยเติมเต็มศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์ (MICE) และวิสาหกิจเริ่มต้นในด้านดนตรี ศิลปะ และธุรกิจ Entertainment (Show Biz) ให้มีองค์ความรู้ในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรและมีมาตรฐาน มีระบบนิเวศสำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคขั้นสูง มีโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศและนานาชาติ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนเชิงพื้นที่ในการจัดแสดงผลงาน ทั้งในเวทีระดับประเทศ และระดับสากลบนพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมระดับโลกแล้ว ยังนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกแก่ประเทศไทย ในแง่ของการกระตุ้นการลงทุนจากนักธุรกิจชาวต่างชาติ และการขยายเวลาพำนักของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอนาคต อันก่อให้เกิดการหมุนเวียนของมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยในภาพรวม

“อุตสาหกรรมไมซ์” ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงถึงอุตสาหกรรมในหลากหลายแขนง อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม การบริการ และโลจิสติกส์ทั้งระบบ อันเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างดี ซึ่งล่าสุดได้รับการจัดอันดับจากสมาคมการประชุมนานาชาติระดับโลกปี 2561ให้ “ประเทศไทย” อยู่ในอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย ด้านการประชุมนานาชาติ รองจากประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี และเป็นอันดับที่ 1 ของภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึง “กรุงเทพฯ” ที่ได้รับการจัดอันดับที่ 2 ของโลกด้านการประชุมนานาชาติระดับเมือง

ทั้งนี้ ทีเส็บ (TCEB) ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการไมซ์ในประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนด้านบริการต่างๆ ซึ่งเน้นการบริการเป็นหลักสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมการประชุม และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลจากทั่วโลก ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและการจัดแสดงนิทรรศการ ยังคงเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่เป็น “ผู้เชื่อมโยงทุกความสำเร็จ” ในทุกๆ ด้านของธุรกิจด้าน เพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 อันมีเป้าหมายหลักใน 10 อุตสาหกรรม อันจะก่อให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ต่อนานาชาติและประเทศไทยในอนาคต

นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ เอ็นไอเอ (NIA) กล่าวเสริมว่า เอ็นไอเอ ในฐานะหน่วยรัฐ ที่มีวิสัยทัศน์แน่วแน่ในการ “เสริมสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยั่งยืน” ผ่านการส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation System: NIS) สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม อีกทั้งยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการทำหน้าที่เสมือน “สะพานเชื่อม” ระบบนวัตกรรมโลกอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้วิสาหกิจไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงและสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน อันสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของความร่วมมือครั้งนี้ ที่มุ่งเสริมแกร่งวิสาหกิจเริ่มต้นด้าน MAR Tech รวมถึงนักสร้างสรรค์ไทย นับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปจนถึงกลางน้ำให้มีคุณภาพระดับสากล และสามารถผลิตผลงานเข้าสู่ภาคธุรกิจได้ โดยการสร้างคุณค่าด้วยนวัตกรรม 

ผ่านการให้คำปรึกษาแนะนำด้านกระบวนการคิด การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่จำกัด พร้อมเชื่อมโยงองค์กรและนักลงทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำเนินกิจการสตาร์ทอัพที่เข้มแข็ง (Startup Ecosystem) รองรับการเติบโตของสตาร์ทอัพ และนักลงทุนจากทั่วโลกในอนาคต อันสอดคล้องกับนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่มุ่งหมายให้ “ประเทศไทย” เป็นชาติแห่งสตาร์ทอัพ

อย่างไรก็ดี ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นอีกกิจกรรมที่สำคัญในการอาศัยบริบททางพื้นที่เพื่อพัฒนานวัตกรรมในลักษณะ OPEN INNOVATION เนื่องจากกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ ในประเทศไทย ถือเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาสตาร์ทอัพ   และอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งถือว่าอยู่ในลำดับต้นๆ ของเอเชียและในระดับโลก นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมนวัตกรรมด้านศาสตร์และศิลป์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นสัญญาณที่ดีที่องค์กรชั้นนำอย่าง NIA CEA และ TCEB จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งเชื่อว่าในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ จะได้เห็นทั้งผลงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม สตาร์ทอัพ และเทคโนโลยีด้านไมซ์โดยฝีมือคนไทยแพร่กระจายและนำไปใช้ในแวดวงสากลมากขึ้น ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 เว็บไซต์ cea.or.th

 

AO08086

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!