WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รง.ชงลอยตัวราคาน้ำตาลอิงตลาดโลก ชี้มีเงินเข้ากองทุนฯหมื่นล้าน

   แนวหน้า : รง.ชงลอยตัวราคาน้ำตาลอิงตลาดโลก ชี้มีเงินเข้ากองทุนฯหมื่นล้าน หวังทำได้ฤดูการผลิตปี 57/58

   นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้นำเสนอแนวทางสนับสนุนลอยตัวราคาน้ำตาลทรายให้สะท้อนราคาตลาดโลก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยหากเป็นไปได้ต้องการให้กำหนดนโยบายลอยตัวราคาในฤดูการผลิตปี 2557/2558 ต่อนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม และชาวไร่อ้อยที่เกี่ยวข้อง

    ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ หรือโควตา ก. เป็นราคาควบคุมดังนั้นแนวทางการลอยตัวราคา สามารถกำหนดให้อิงกับราคาตลาดโลก หรืออิงราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออกที่บริหารโดยบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด หรือ อนท. บวกกับราคาน้ำตาลทรายขาว โดยแนวทางนี้ยังคงให้ชาวไร่อ้อยมีแหล่งเงินทุนสำหรับดูแลราคาอ้อย กรณีต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ด้วยการกำหนดให้มีการเก็บเงินจากปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายกิโลกรัม (กก.) ละ 1 บาท เมื่อผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ล้านตัน ก็จะได้เงินประมาณ 10,000 ล้านบาท เข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาล หรืออีกแนวทางหนึ่ง กรณีน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกเกิน 22 เซนต์ต่อปอนด์ ก็หักเข้ากองทุนฯ ซึ่งจะได้เงินจำนวนมากสะสมไว้ใช้

   “ขณะนี้กองทุนฯมีรายได้จากการขึ้นราคาน้ำตาลทราย 5 บาทต่อ กก. ซึ่งเป็นรายได้ปีละ 12,000-13,000 ล้านบาท นำมาชำระหนี้ที่กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่กู้เพิ่มค่าอ้อยที่ผ่านมา ผมคิดว่าถ้ามีแหล่งเงินการันตีว่าราคาอ้อยจะไม่ตก การลอยตัวราคาน้ำตาลจุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งเห็นว่าเราควรจะทำก่อนที่จะเข้าสู่ AEC เพื่อให้ได้ทดลองดูว่ามีอะไรต้องปรับ ก็จะได้เตรียมได้ทัน”นายวิบูลย์ กล่าว

    แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า การลอยตัวราคาน้ำตาลทรายนั้น ตามหลักการแล้วควรจะลอยตัวในช่วงที่ราคาตลาดโลกต่ำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาขายปลีกที่ปรับขึ้นจนกระทบผู้บริโภค ซึ่งเห็นว่าปี 2557 นี้ราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และปี 2558 แนวโน้มราคาปรับขึ้นสูง จากสต็อกน้ำตาลตลาดโลกที่เริ่มลดลงเหลือเพียง 3 ล้านตัน จากอดีตที่เคยสูงถึง 10 ล้านตัน

    นายมนตรี คำพล ประธานสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 4 องค์กรชาวไร่อ้อยได้หารือกับโรงงาน ถึงประเด็นการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่โรงงานเสนอ โดยเห็นว่าประเด็นหลักคือ กระทรวงพาณิชย์ควรเจรจาประเทศคู่ค้าอย่างอินโดนีเซีย ให้ลดกำแพงภาษีศุลกากรให้กับน้ำตาลไทย จากที่ปัจจุบันจัดเก็บกว่า 30% เพราะไม่เช่นนั้นไทยก็ไม่ได้ประโยชน์ในการเข้าสู่ AEC ดังนั้นการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในฤดูการผลิตนี้ จึงไม่ควรทำ แต่ฤดูการผลิตปี 2558/2559 น่าจะดำเนินการได้ เพราะเป็นช่วงที่คาดว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะดีขึ้นกว่านี้

    ทั้งนี้ ยอมรับว่าการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2557/2558 ยังไม่สามารถตั้งตัวเลขได้ เพราะราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกเฉลี่ยลดลงเหลือ 17 เซนต์ต่อปอนด์ คำนวณราคาอ้อยจะได้ไม่ถึง 800 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 1,200 บาทต่อตัน ขาดทุนเฉลี่ยถึงตันละ 400 บาท ยอมรับว่าที่สุดก็ต้องกู้เงินมาอุดหนุนราคาเช่นเดิม

ชงรัฐลอยตัวราคาน้ำตาลโรงงานน้ำตาลเสนอโมเดลอิงตลาดโลก

    บ้านเมือง : โรงงานน้ำตาลเสนอโมเดล'ลอยตัวราคาน้ำตาล'อิงตลาดโลกหวังให้เกิดขึ้นได้ในฤดูการผลิตปีนี้ รับ AEC หนุนเก็บเงินน้ำตาล 1 บ./กก.เข้ากองทุนฯ การันตีมีแหล่งทุนดูแลราคาอ้อย ขณะที่ชาวไร่ยอมรับคุยกับโรงงานแล้วแต่ไม่เห็นด้วยจะทำฤดูการผลิตนี้ ปีหน้าค่อยว่าใหม่แนะให้พาณิชย์เจรจาประเทศคู่ค้าเช่นอินโดฯ ให้ลดกำแพงภาษีนำเข้าน้ำตาลจากไทยให้ได้ก่อน

   นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลได้เสนอนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และชาวไร่อ้อยที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการสนับสนุนการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายให้สะท้อนราคาตลาดโลกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC โดยหากเป็นไปได้ต้องการให้กำหนดนโยบายลอยตัวราคาในฤดูการผลิตปีนี้

    ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศหรือโควตา ก. เป็นราคาควบคุมดังนั้นแนวทางการลอยตัวราคาสามารถกำหนดให้อิงกับราคาตลาดโลกหรืออิงราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออกที่บริหารโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยจำกัด หรือ (อนท.) บวกกับราคาน้ำตาลทรายขาว โดยแนวทางนี้ยังคงให้ชาวไร่อ้อยได้มีแหล่งเงินทุนสำหรับดูแลราคาอ้อยกรณีต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ด้วยการกำหนดให้มีการเก็บเงินจากปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 1 บาท เมื่อผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ล้านตัน ก็จะได้เงินประมาณหมื่นล้านบาทเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลหรืออีกแนวทางกรณีน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกเกิน 22 เซนต์ต่อปอนด์ก็หักเข้ากองทุนฯ ซึ่งจะได้เงินจำนวนมากสะสมไว้ใช้

    "ขณะนี้กองทุนอ้อยฯ มีรายได้จากการขึ้นราคาน้ำตาลทราย 5 บาทต่อ กก. ซึ่งเป็นรายได้ปีละ 1.2-1.3 หมื่นล้านบาทนำมาชำระหนี้ที่กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ที่กู้เพิ่มค่าอ้อยที่ผ่านมา ผมคิดว่าถ้ามีแหล่งเงินการันตีว่าราคาอ้อยจะไม่ตก การลอยตัวราคาน้ำตาลจุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งเห็นว่าเราควรจะทำก่อนที่จะเข้าสู่ AEC เพื่อให้ได้ทดลองดูว่ามีอะไรต้องปรับก็จะได้เตรียมได้ทัน" นายวิบูลย์ กล่าว แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า การลอยตัวราคาน้ำตาลทรายตามหลักการแล้วควรจะลอยในช่วงที่ราคาตลาดโลกต่ำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาขายปลีกที่ปรับขึ้นจนกระทบผู้บริโภค ซึ่งเห็นว่าปีนี้ราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และปี 2558 แนวโน้มราคาปรับขึ้นสูงจากสต๊อกน้ำตาลตลาดโลกที่เริ่มลดลงเหลือเพียง 3 ล้านตัน จากอดีตที่เคยสูงถึง 10 ล้านตัน

    นายมนตรี คำพล ประธานสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 4 องค์กรชาวไร่อ้อยได้หารือกับโรงงาน ถึงประเด็นการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่โรงงานเสนอ โดยเรื่องนี้เห็นว่าประเด็นหลักคือกระทรวงพาณิชย์ควรเจรจาประเทศคู่ค้าอย่างอินโดนีเซียให้ลดกำแพงภาษีศุลกากรให้กับน้ำตาลไทย จากที่ปัจจุบันจัดเก็บกว่า 30% ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นไทยก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรในการเข้าสู่ AEC ดังนั้นการลอยตัวน้ำตาลในฤดูการผลิตนี้จึงไม่ควร แต่ฤดูการผลิตปี 58/59 น่าจะดำเนินการได้ เพราะเป็นช่วงจังหวะที่คาดว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะดีขึ้นกว่านี้

    "เราเห็นว่าสิ่งสำคัญที่เราจะก้าวสู่ AEC ก็คือต้องถามว่าประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งเราได้ลดกำแพงภาษีฯ ให้กับน้ำตาลไทย หรือยังถ้าไม่ลดลงก็ไม่มีประโยชน์ เรามองว่าทุกอย่างคงไว้เหมือนเดิมตอนนี้ดีที่สุดแล้ว ยิ่งตอนนี้ลอยตัวราคาก็ยิ่งตกหนักเพราะน้ำตาลโลกต่ำมากเราเองก็ดูอยู่ว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้วปีหน้าน่าจะดีขึ้น" นายมนตรี กล่าว

   ทั้งนี้ ยอมรับว่า การคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น 57/58 ล่าสุดยังไม่สามารถตั้งตัวเลขได้ เพราะราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกเฉลี่ยลดลงเหลือ 17 เซนต์ต่อปอนด์ คำนวณราคาอ้อยจะได้ไม่ถึง 800 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนอยู่ราว 1,200 บาทต่อตัน จะเห็นว่าขาดทุนเฉลี่ยถึงตันละ 400 บาท ยอมรับว่าที่สุดก็จะต้องกู้เงินมาอุดหนุนราคาเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เข้าพบนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อชี้แจงปัญหาการส่งออกน้ำตาลทรายที่ประสบปัญหาผู้รับซื้อปลายทาง นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2557/58 โดยเร็ว เนื่องจากใกล้จะเปิดหีบแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ใหม่ เพื่อมาพิจารณาเรื่องนี้จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อพร้อมที่จะแต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีระยะห่างที่ตั้งโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 80 กิโลเมตร (กม.)

   และในปีที่ผ่านมาไทยมีการผลิตน้ำตาลทรายได้เพิ่มขึ้นจากระดับอ้อยที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 103 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรงงานน้ำตาลต้องการเสนอให้รัฐเร่งพิจารณาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยเฉพาะการลอยตัวราคาเพื่อที่จะรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปีหน้านี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!