- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Wednesday, 30 January 2019 17:50
- Hits: 3079
ฮัทชิสัน พอร์ท เปิดท่าเทียบเรือชุด D ในแหลมฉบังอย่างเป็นทางการ ท่าเทียบเรือชุด D ดึงเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดในโลกสู่ประเทศไทย
ในภาพ ดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ที่ 5 จากซ้าย) พร้อมด้วย มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ (ที่ 6 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และ ร.ต.ต. มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ที่ 7 จากซ้าย) เข้าร่วมในพีธีท่าเทียบเรือชุด D ของบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ
· ฮัทชิสัน พอร์ท จะลงทุน 20,000 ล้านบาทในท่าเทียบเรือชุด D โดยจะเป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
· หนึ่งในท่าเทียบเรือแห่งแรกๆ ของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบ
สำหรับ ปั้นจั่นหน้าท่าและปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางทั้งหมด โดยหนึ่งในเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดในโลกได้เข้าเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือชุด D มาแล้ว
เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D จะเพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังราว 40 เปอร์เซ็นต์
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทยเปิดท่าเทียบเรือชุด D อย่างเป็นทางการ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี หนึ่งในเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้เข้าเทียบท่าท่าเทียบเรือชุด D มาแล้ว โดยท่าเทียบเรือชุดนี้จะติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน พร้อมยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการขนส่งตู้สินค้าระดับโลก
ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือชุด D เป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับปั้นจั่นหน้าท่าและปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางทั้งหมด โดยจะเป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมความสามารถในการรองรับบรรดาเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เฟสแรกของท่าเทียบเรือชุด D เปิดให้บริการแล้ว โดยมีความยาวหน้าท่า 400 เมตร ประกอบด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Super Post Panamax Quay Cranes) จำนวน 3 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Rubber Tyred Gantry Cranes) จำนวน 10 คัน ซึ่งในการก่อสร้างขั้นต่อมา ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 3 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 10 คัน ได้ถูกขนส่งมายังท่าเทียบเรือในวันที่ 29 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา และจะพร้อมใช้งานภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 43 คัน ทั้งหมดใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบปฏบัติงานจากระยะไกล เพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ราว 3.5 ล้านทีอียูต่อปี (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) โดยเพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเทียบเรือแหลมฉบังได้อีกราว 40 เปอร์เซ็นต์ หรือให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้ทั้งสิ้น
13 ล้านทีอียู ทั้งนี้ การเลือกใช้เทคโนโลยีการควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลจะเพิ่มความปลอดภัย ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้กับสายการเดินเรือ รวมถึงผู้ใช้งานท่าเทียบเรือรายอื่นๆ
ล่าสุด เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยเข้าเทียบท่าในประเทศไทย ซึ่งท่าเทียบเรือชุด D เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกในประเทศไทยที่มีศักยภาพรองรับเรือขนส่งสินค้าที่มีความยาวรวมเกิน 350 เมตร โดยได้ต้อนรับเรือขนส่งสินค้า 'ONE COLUMBA' ของสายการเดินเรือ โอเชี่ยน เน็ตเวิร์ค เอ็กซ์เพรส (Ocean Network Express - ONE)
มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มร.สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในงานเปิดท่าเทียบเรือชุด D ณ ท่าเรือแหลมฉบังว่า “ขณะนี้ ท่าเทียบเรือชุด D ได้กลายเป็นความจริงแล้ว โดยเราได้รับหนึ่งในเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเข้าเทียบท่ามาแล้ว ท่าเทียบเรือชุดนี้พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในระดับโลก ซึ่งจะช่วยยกระดับการปฏิบัติงานของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำนวนเม็ดเงินที่เราได้ลงทุนไปกับท่าเทียบเรือชุดนี้ คงได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ฮัทชิสัน พอร์ท พร้อมลงทุนระยะยาวกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยอย่างจริงจัง นี่นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่การขนส่งตู้สินค้าลงและขึ้นเรือทั้งหมดถูกปฏิบัติการด้วยปั้นจั่นที่ติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลหรือรีโมทคอนโทรลทั้งหมด ท่าเทียบเรือแห่งใหม่นี้ จะยังช่วยเพิ่มศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนในประเทศไทย ผ่านการสร้างโอกาสในการต่อยอดการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ตลอดจนการส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน”
Click Donate Support Web