WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'จักรมณฑ์'เผย 3 ยุทธศาสตร์สร้างค่านิยมใหม่ ชูความโปร่งใสพัฒนาประเทศ

     รมว.อุตสาหกรรม ระบุกลยุทธ์พัฒนาอุตสาหกรรมไทย ชูความซื่อสัตย์ โปร่งใส สร้างค่านิยมใหม่พัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนพิเศษ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยในทุกระดับ พัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ปฏิรูปการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ อาทิ เร่งผลักดันให้มีการปรับปรุงและแก้ไขข้อบังคับกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจภาคอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเชิงรุก ปรับทัศนคติการทำงานใหม่ของเจ้าหน้าที่ และ 3) สร้างความสามัคคีในองค์กรและสร้างค่านิยมใหม่ อาทิ สร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายเจ้าหน้าที่ ปลูกฝังค่านิยม ส่งเสริมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ทุกระดับ

     นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย พัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับนานาประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่จะส่งผลต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งถือเปน็นเรื่องเร่งด่วน ควบคู่กับการสร้างรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเน้นย้ำให้ทำงานด้วยความรวดเร็วโปร่งใส และถูกต้องยั่งยืน  ผ่านการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่

    1.    ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

·     ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศและพัฒนาสู่พลังงานทดแทนเช่น ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยการพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

·     เข้มงวดการควบคุมมลพิษของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและชุมชน

·     พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการรองรับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และการขยายตัวของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศเพื่อนบ้านรอบอาเซียน โดยระยะแรกให้ความสำคัญด่านชายแดนที่สำคัญ ๖ ด่าน ได้แก่ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่

 ·     เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้าน

    การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต                               

·    ส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน โดยเร่งดำเนินการเตรียมความพร้อม การค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียนและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

·     พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับโดยสอดคล้องกับข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการผลิตต่างๆที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้สามารถแข่งขันได้

·     พัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยให้มีการยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น มีการส่งเสริมพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน

     2. ด้านปฏิรูปการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการดำเนินงานก่อให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็วในการดำเนินงานจึงได้มีนโยบาย ดังนี้

·     เร่งผลักดันให้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการอนุญาตการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การขออนุญาตทำเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตและการอนุญาตตาม พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น

·     เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเชิงรุก ทั้งในรูปแบบการเพิ่มศูนย์รับการออกใบอนุญาตต่างๆภายใต้การกำกับของกระทรวงฯ โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังส่วนกลาง การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) และระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ

·     เปลี่ยนจาก Pre Audit เป็น Post Audit ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ ในการรับใบอนุญาต และต้องเคร่งครัดกับมาตรการกำกับ (Post Audit) ทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการให้เป็นไปตามกฎหมาย

·     ปรับทัศนคติการทำงานใหม่ของเจ้าหน้าที่ จากการให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับ ควบคุม เป็นการให้คำปรึกษา แนะนำ และรวมถึงการส่งเสริมพัฒนาและเสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่มีจิตสาธารณะที่ดีต่อการปฏิบัติงานด้วย

·     แนวทางการทำงาน ขอให้มีการประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด และมีการสร้างเครือข่าย และสนับสนุนเครือข่ายให้ช่วยสอดส่อง เฝ้าระวังในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากกระบวนการผลิตร่วมกัน

     3. สร้างความสามัคคีในองค์กรและสร้างค่านิยมใหม่ เนื่องจากบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นกลไกและพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกระทรงอุตสาหกรรมไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น จึงได้มีนโยบายเพื่อการปลูกฝังค่านิยม และสร้างระบบคุณธรรมให้เกิดขึ้นภายในกระทรวงอุตสาหกรรม

·     สร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายเจ้าหน้าที่ กำหนดมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ

·     ปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการ โดยต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในทุกระดับ

·     สร้างระบบความก้าวหน้าให้กับข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างเป็นธรรม โดยยึดในเรื่องของความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเป็นสำคัญ

     อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของบุคลากร โดยการส่งเสริมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และที่สำคัญต้องปลูกฝังให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใสในหน้าที่การงาน เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพ

จักรมณฑ์ มุ่งแก้ปัญหาและอุปสรรค วางรากฐานอุตสาหกรรมผ่าน 3 ยุทธศาสตร์

       นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงนโยบายการทำงานว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่จะส่งผลต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ควบคู่กับการสร้างรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเน้นย้ำให้ทำงานด้วยความรวดเร็วโปร่งใส และถูกต้องยั่งยืน ผ่านการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อันได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศและพัฒนาสู่พลังงานทดแทนเช่น ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยการพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เข้มงวดและเร่งรัดการควบคุมมลพิษของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและชุมชน, พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการรองรับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และการขยายตัวของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศเพื่อนบ้านรอบอาเซียน โดยระยะแรกให้ความสำคัญด่านชายแดนที่สำคัญ 6 ด่าน ได้แก่ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่

    เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต, ส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน โดยเร่งดำเนินการเตรียมความพร้อม การค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียนและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน, พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับโดยสอดคล้องกับข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายในด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการผลิตต่างๆที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้สามารถแข่งขันได้, พัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยให้มีการยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น มีการส่งเสริมพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน

     2. ด้านปฏิรูปการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็วในการดำเนินงาน จึงได้มีนโยบาย ดังนี้ เร่งผลักดันให้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการอนุญาตการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การขออนุญาตทำเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตและการอนุญาตตาม พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น, เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเชิงรุก ทั้งในรูปแบบการเพิ่มศูนย์รับการออกใบอนุญาตต่างๆภายใต้การกำกับของกระทรวงฯ โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังส่วนกลาง การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) และระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ, เปลี่ยนจาก Pre Audit เป็น Post Audit ซึ่งจะอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการในการรับใบอนุญาต และต้องเคร่งครัดกับมาตรการกำกับ (Post Audit) ทุกขั้นตอนและกระบวนการเป็นไปตามกฎหมาย, ปรับทัศนคติการทำงานใหม่ของเจ้าหน้าที่ จากการให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับ ควบคุม เป็นการให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาและเสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่มีจิตสาธารณะที่ดีต่อการปฏิบัติงานด้วย, แนวทางการทำงาน ขอให้มีการประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด และมีการสร้างเครือข่าย และสนับสนุนเครือข่ายให้ช่วยสอดส่อง เฝ้าระวังในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากกระบวนการผลิตร่วมกัน

    3. สร้างความสามัคคีในองค์กรและสร้างค่านิยมใหม่ เนื่องจากบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นกลไกและพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกระทรงอุตสาหกรรมไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น จึงได้มีนโยบายเพื่อการปลูกฝังค่านิยม และสร้างระบบคุณธรรมให้เกิดขึ้นภายในกระทรวงอุตสาหกรรม, สร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายเจ้าหน้าที่ กำหนดมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ, ปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการ โดยต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในทุกระดับ, สร้างระบบทางก้าวหน้าให้กับข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างเป็นธรรม โดยยึดในเรื่องของความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเป็นสำคัญ

    อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของบุคลากร โดยการส่งเสริมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC เพื่อให้คำปรึกษา และแนะนำแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องปลูกฝังให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใสในหน้าที่การงาน เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพ

  อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!