WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaThailandFocus

รัฐเร่งผลักดันโครงการ SEC เชื่อมโยง EEC ขับเคลื่อนศก. เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนไทย-เทศ

          'อุตตม' เผยให้สภาพัฒน์ ศึกษารายละเอียดการลงทุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมต่อการพัฒนาโครงการ EEC สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศ ตามแผนกลยุทธ์ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีภาครัฐเป็นแกนนำขับเคลื่อนการลงทุนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

          ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในงาน 'Thailand Focus 2018: The Future is Now' ในหัวข้อ EEC in Action (เดินหน้าไปกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก) ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดการลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) หลังจากนายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ และ เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทำให้เกิดการลงทุนเป็นรูปธรรมมากขึ้น และ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนไทยและต่างประเทศตามแผนกลยุทธ์ไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐที่จะดำเนินงานเชิงรุก

          โดยจะมีการสร้างสนามบินเพื่อรองรับโครงการ SEC เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 เท่าเป็น 3 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 300,000 คนต่อปี รวมถึงจะมีการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมในอนาคต พร้อมกับการสร้างท่าเรือขนส่งสินค้าในจังหวัดระนอง เส้นทางกรุงเทพ-ระนอง-เชนไน เพื่อลดระยะเวลาขนส่งสินค้า ลดต้นทุนการขนส่ง จากปัจจุบันเส้นทางการขนส่งกรุงเทพ-แหลมฉบัง-สิงค์โปร์-เชนไน พร้อมกับจะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพ-ระนอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง

          “ประเทศไทยอยู่ในช่วงปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ และ อุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ซึ่งวันนี้สิ่งที่อยากจะสื่อสารไปยังนักลงทุน คือ ความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐเร่งลงทุนทั้งโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor : EEC) ที่เริ่มมีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น หลังจากที่หน่วยงานภาครัฐเดินหน้าการเปิดประมูลโครงการต่างๆ”อุตตม กล่าว

          โดยความก้าวหน้าโครงการ EEC เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จะมีการลงทุนในช่วง 5 ปีแรก วงเงิน 1.7 ล้านล้านบาท เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และ ภาคธุรกิจ ซึ่งด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงต่อโครงข่ายสาธารณะ การเดินทางระหว่างกรุงเทพและต่างจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การเชื่อมระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพ ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา มูลค่าการลงทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้เริ่มดำเนินการแล้ว

          ส่วนการปฎิรูปไทยไปสู่ดิจิทัล การเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศก้าวหน้าไปมาก และ จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 62 ขณะนี้ประชากร 60% สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และ การปฎิรูปอุตสาหกรรม 4.0 มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 กลุ่ม โดยบีโอไอได้ปรับสิทธิ์ประโยชน์ใหม่เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในเขต EEC ซึ่งล่าสุดมีการยื่นจำนงแล้ว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าภาคเกษตร ซึ่งมีการลงทุน 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น คาดว่า จะเปิดประมูลในปลายปีนี้และจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 62 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี รวมถึงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด การขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภา ตลอดจนการสร้างโรงซ่อมบำรุงอากาศยานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหารชน) หรือ THAI ซึ่งโครงการต่างๆ- ของรัฐบาล ได้เริ่มเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาซื้อซอง (TOR) โดยจะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี เห็นได้จากจำนวนการขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากบีโอไอในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สูงกว่าทั้งปี 60 และในส่วนนี้ 70% เป็นสัดส่วนของการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะอยู่ใน EEC

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!